ขอเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นการเก็บตกจากการประชุมวิพากษ์หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค พ.ศ. 2554 ของมหิดล เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ที่อาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการแพทย์ ศาลายา
ก่อนอื่นขอขอบคุณผู้เข้าร่วมวิพากษ์หลักสูตรทุกท่าน ซึ่งภาควิชารังสีเทคนิคได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้วิพากษ์หลักสูตร ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า อาจารย์จากคณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณาจารย์ภาควิชารังสีเทคนิค ประมาณกว่า 30 ท่าน
ความเป็นมา
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ขอย้อนไปดูข้อมูลที่ผ่านมาอีกนิดครับ สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขารังสีเทคนิค ที่กำลังปรับปรุงนี้ เป็นหลักสูตรที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) ให้การรับรองตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 และคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ได้ให้การรับรองมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิคโดยใช้หลักสูตรนี้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิชาชีพกำหนด ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 4 มกราคม 2559
อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้ต้องปรับปรุงตามวงรอบใหญ่ 5 ปีอยู่แล้ว ซึ่งตั้งแต่หลักสูตรนี้ถูกใช้งาน ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช้กระบวนการในการ PDCA ในการประกันคุณภาพ ในวงรอบทุกปี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการวิเคราะห์ผลกระทบต่อการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาที่ สกอ. ประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา TQF โดยมีแนวปฎิบัติคือ ให้หลักสูตรเดิม หมายถึงหลักสูตรที่ใช้ผลิตบัณฑิตในขณะนี้ ต้องปรับให้เป็นไปตาม TQF ให้ทันใช้ในภาคต้นปีการศึกษา 2555 ดังนั้น สิ่งที่ต้องเร่งจัดทำให้สอดคล้องตาม TQF ได้แก่
มคอ 1 หมายถึง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค หรือ พิมพ์เขียวรังสีเทคนิคระดับประเทศ ผมและอาจารย์ในภาควิชาส่วนหนึ่ง ได้เข้าร่วมประชุม RT Consortium หมายถึงที่ประชุมสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค 7 สถาบัน เพื่อจัดทำจนสำเร็จ ใช้เวลาจัดทำประมาณ 2 ปี ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้านบาท
มคอ 2 หมายถึง รายละเอียดหลักสูตร (Program Specification) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 หรือพิมพ์เขียวระดับสถาบันผู้ผลิต
มคอ 3 หมายถึง รายละเอียดของรายวิชา เป็นรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนแบบ บรรยายหรือปฏิบัติ
มคอ 4 หมายถึง รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม เป็นรายวิชาฝึกงาน
ในส่วนของ มคอ 2,3,4 นั้น คณาจารย์ของภาควิชารังสีเทคนิคทุกคน ช่วยกันระดมสมองจัดทำอย่างแข็งขัน ในรูปคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ(คณะแต่งตั้ง) ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ของภาควิชาทุกท่าน และคณะกรรมการรับผิดชอบการปรับปรุงหลักสูตรฯ (ของภาควิชาฯ) และวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 จึงได้มีการประชุมเพื่อวิพากษ์หลักสูตร มคอ 2 ขึ้น
ข้อคิดเห็นจากการวิพากษ์หลักสูตร
จากการวิพากษ์หลักสูตรเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 จุดตั้งต้นอยู่ที่อัตตลักษณ์ของบัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดล ซึ่งภาควิชารังสีเทคนิคกำหนดให้ต้องมีสมรรถนะตามที่คณะกรรมการวิชาชีพฯกำหนด และ
1.มีความสามารถโดดเด่นด้านวิชาชีพรังสีเทคนิค
2.มีลักษณะตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดคือ มุ่งประโยชน์สุขเพื่อมวลมนุษยชาติ เป็นคนดี มีปัญญา นำพาสุข
3.มีศักยภาพรอบด้าน
นอกจากนี้ ผมได้เก็บเกี่ยวและรวบรวมข้อคิดเห็นและประเด็นต่างๆ ที่ผู้เข้าร่วมวิพากษ์มีต่อหลักสูตร ดังนี้
จุดเด่น
หลักสูตร | เป็นหลักสูตรที่ดี มีฐานความเป็นวิทยาศาสตร์และวิชาชีพรังสีเทคนิค |
ผลลัพธ์ | 1.บัณฑิตสามารถทำงานในวิชาชีพได้ดี และเรียนรู้ได้เร็ว 2.บัณฑิตสามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาได้ในหลายสาขาวิชา โดยเฉพาะการศึกษาต่อในสาขาฟิสิกส์การแพทย์นั้น ของเราศึกษาต่อได้ แต่รังสีเทคนิคในต่างประเทศการที่จะไปเรียนต่อฟิสิกส์การแพทย์เป็นเรื่องยากมาก |
จุดที่ควรพิจารณา
เนื้อหา | วิชาพื้นฐาน | ควรมีวิชาด้าน Micro Biology, Molecular Imaging เหตุผลคือ เพิ่มช่องทางการทำวิจัยและเข้าใจโรค |
กระบวนการจัดการเรียนการสอน | การฝึกงาน | 1.เพิ่มเวลาในการฝึกงานให้มากขึ้น 2.เลือกสถานที่ฝึกงานให้เหมาะสม มี case มากพอ อาจารย์ที่ดูแลฝึกงานมีความพร้อม และให้นักศึกษาสามารถฝึกงานได้จริง 3.ปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนฝึกงานให้ดียิ่งขึ้น 3.เกณฑ์ในการวัดผลควรชัดเจน |
วิจัย | แม้บัณฑิตรังสีเทคนิคจบไปไม่ได้เน้นทำงานวิจัย แต่ควรมีพื้นฐานการวิจัยเพิ่มขึ้น | |
ทักษะอื่นๆ | ควรเน้นเพิ่มขึ้นในเรื่อง 1.Service mind, emotional control, problem solving, analytical thinking 2.ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับคน (Social skill) 3.ความสนใจในศาสตร์อื่นๆ 4.Productive skills ด้านภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการพูดและการเขียน 5.พื้นความรู้ในการบริหารจัดการ | |
การบริหารหลักสูตร | กำลังคน | วางแผนจำนวนอาจารย์ให้ชัดเจน |
งบประมาณ | ทำแผนงบประมาณให้ชัดเจน | |
อื่นๆ | ประชาสัมพันธ์ | เพิ่มการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้มากขึ้น |
ข้อคิดเห็นและประเด็นต่างๆนี้ จะได้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการรับผิดชอบการปรับปรุงหลักสูตรฯ ในวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2554 เพื่อสรุปเป็นร่าง มคอ1,2,3 ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และดำเนินการต่อไปอย่างเร่งด่วน
ขั้นตอนที่ขัดกันของการเสนอปรับหลักสูตร
มีประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการปรับหลักสูตร ที่ต้องให้ความสนใจพิเศษคือ สกอ.จะรับพิจารณาหลักสูตรที่สภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการวิชาชีพฯรับรองแล้ว
หมายความว่า สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ร่างหลักสูตรที่เสนอไปยังสภามหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องเสนอไปที่คณะกรรมการวิชาชีพฯพร้อมๆกันด้วย เพื่อทั้งสภามหาวิทยาลัยมหิดลและคณะกรรมการวิชาชีพฯ จะได้พิจารณาให้เสร็จก่อนส่งไป สกอ.
เมื่อดูบทบาทของคณะกรรมการวิชาชีพ ตามประกาศคณะกรรมการวิชาชีพฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตปริญญา หรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา สาขารังสีเทคนิค พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น เป็นการประเมินสถาบันซึ่งรวมหลักสูตรด้วย และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการไม่เกิน 90 วันหรือ 3 เดือนหลังจากที่คณะกรรมการวิชาชีพได้รับแบบประเมินสถาบัน โดยที่แบบประเมินสถาบันนั้นต้องส่งโดยอธิการบดีด้วย ดังนั้น ระยะเวลาจริงที่ดำเนินการจะนานกว่า 3 เดือนหากนับจากที่ร่าง มคอ 2,3,4 จัดทำเสร็จแล้วโดยภาควิชาฯ
ระยะเวลาของการดำเนินการจริงก็เป็นปัญหาหนึ่ง อีกปัญหาหนึ่งที่ดูจะสำคัญมากกว่าคือ เกณฑ์ที่คณะกรรมการวิชาชีพกำหนดแนบท้ายประกาศนั้น มีการระบุว่า “หลักสูตรของสถาบันที่จะขอรับการประเมินต้องได้รับการรับรองจาก สกอ.” ซึ่งขัดแย้งกับ สกอ.ที่ว่า “สกอ.จะรับพิจารณาหลักสูตรที่คณะกรรมการวิชาชีพรับรอง”
ทางออกคืออะไร???........>>>>>>>>>>>>
ทางออกที่หนึ่ง ขอผ่อนผัน สกอ.ให้พิจารณาหลักสูตรที่ปรับปรุงไปก่อน โดยใช้เหตุผลว่า “อยู่ในระหว่างการขอรับการประเมินสถาบันโดย คณะกรรมการวิชาชีพฯ” ซึ่งเรื่องนี้มหาวิทยาลัยมหิดลมีแนวทางช่วยเหลืออยู่แล้ว แต่ภาควิชาฯจะต้องทำงานที่รับผิดชอบให้เต็มที่ก่อน
ทางออกที่สอง คณะกรรมการวิชาชีพฯ ทำการแก้ไขหลักเกณฑ์ท้ายประกาศ โดยให้สถาบันผู้ผลิต ยื่นขอรับการประเมินสถาบันได้เมื่อหลักสูตรอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย หรืออาจแก้ไขให้สถาบันผู้ผลิตสามารถยื่นขอรับรองเฉพาะหลักสูตรก่อนเพื่อความรวดเร็ว และเพื่อสามารถยื่นหลักสูตรให้ สกอ. รับรองได้
ทางออกทั้งสองทางมีความเป็นไปได้ หากเป็นทางออกที่สอง คณะกรรมการวิชาชีพต้องรีบดำเนินการปรับแก้ไขเกณฑ์ และในอนาคต ควรมีกระบวนการในการประเมินหลักสูตร และการประเมินสถาบันเสียใหม่ ที่มีความคล่องตัวในการปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางของ สกอ. หรือสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินการ แต่ยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าและมาตรฐาน
Related Links:
ปัจจัยที่กระทบการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค พ.ศ. 2555-2559
ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558
ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน 2558
มคอ 1 : มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค
Related Links:
ปัจจัยที่กระทบการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค พ.ศ. 2555-2559
ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558
ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน 2558
มคอ 1 : มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค
Titipong Kaewlek
ตอบลบพิมพ์เขียวนี้ มีแผนรองรับการก้าวสู่ การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างไรบ้างครับ
ธารารัตน์ อ่อนอินทร์
ตอบลบประเด็นอื่นๆ : หนูอยากทราบว่าการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรให้เพิ่มมากขึ้นนี้หมายถึงรวมถึง ระดับการผลิต บัณฑิต ศึกษาด้วยใช่ไม๊คะ? และ สถาบันที่รองรับที่จะเพิ่มมากขึ้นหรือไม่? และ อยากรู้ว่า ระดับบัณฑิตศึกษานี้ จะมีโอกาสในวันข้างหน้าที่จะเปิดสอน เสาร์ - อาทิตย์ หรือไม่? ทราบว่าที่ มน. เปิดหลักสูตร รังสีชีวโมเลกุล แต่ไม่สามารถ connection ต่อได้หรือแม้แต่การเพิ่มให้เอื้อต่อวิชาชีพ..
การเพิ่มเอื้อต่อวิชาชีพหมายถึงว่า upgrad สมรรถนะให้สูงได้ในวิชาชีพค่ะ คงอยู่เช่นเดิม ถ้าสาขาไม่ตรง ^_^
หนูสงสัย ประเด็น Social skill ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับคน นี้ต้องมีการจัดฝึกอบรมด้านใดหรือว่าในหลักสูตรต้องเพิ่มเข้าไปให้มากกว่าเดิมคะ หรือระดับภาคปฏิบัติการทำงานจะต้องเปิดอบรมขั้นสูงหรือเปล่า? ที่พูดและถามนี้ รู้สึกว่า Social skill ก็ล่ะค่ะ ^_^