(1,509 ครั้ง)
เมื่อจะพูดถึงเรื่องนี้ ขอย้อนดูความเป็นมา เลือกเอาเฉพาะส่วนที่ผมทราบและเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในฐานะกรรมการวิชาชีพคนหนึ่งตั้งแต่พ.ศ. 2549 จนถึงขณะนี้ นะครับ
เมื่อจะพูดถึงเรื่องนี้ ขอย้อนดูความเป็นมา เลือกเอาเฉพาะส่วนที่ผมทราบและเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในฐานะกรรมการวิชาชีพคนหนึ่งตั้งแต่พ.ศ. 2549 จนถึงขณะนี้ นะครับ
ที่ผ่านมาหลายปี
มีการพูดถึงในวงกว้างมากขึ้นถึงเรื่อง
การฉีดสารทึบรังสีหรือสารเภสัชรังสีของนักรังสีเทคนิค ในความเป็นจริง
นักรังสีเทคนิคทั่วประเทศจำนวนหนึ่ง ได้ทำการฉีดสารทึบรังสีให้ผู้ป่วยขณะถ่ายภาพเอกซเรย์
และก็เป็นที่แคลงใจว่า ฉีดได้หรือ? หลายคนกลัวความผิดเพราะรู้ดีว่า
เป็นการปฏิบัติเกินหน้าที่ หลายคนอึดอัดใจทำไปเพราะเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่ดีต่อผู้ป่วยจะติดคุกไหม? เป็นปัญหาโลกแตกจริงๆ
พยาบาลมีความชัดเจนมาก
ในเรื่องนี้เพราะใน พ.ศ. 2551 สภาการพยาบาลได้มี
ประกาศห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้ยาหรือสารละลายกลุ่มสารละลายทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ
โดยไม่มีเงื่อนไข
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123
ตอนพิเศษ 4ง หน้า 103
วันที่ 7 มกราคม 2551)
ชัดเจนมากครับ
นักรังสีเทคนิคได้รับผลกระทบนี้โดยตรงเพราะเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพ
ถ้าพยาบาลไม่ฉีด แล้วใครจะฉีด โดยหน้าที่แพทย์เป็นผู้ฉีด
(พรบ.วิชาชีพเวชกรรม...เล่ม 99 ตอนที่ 111 วันที่
11 สิงหาคม 2525 ฉบับพิเศษ
หน้า 1) ปัจจุบันความเจริญของเทคโนโลยีต่างๆมันมากเหลือเกิน
ซึ่งเราทุกท่านทราบดี บางอย่างแพทย์คนเดียวทำไม่ไหวแล้ว ภาระงานมันล้นมือ ว่าที่จริงทุกวิชาชีพก็ภาระงานมากด้วยกันทั้งนั้น
มองหน้ากันไปมา นักรังสีเทคนิคจะถ่ายภาพรังสีได้อย่างไรในเมื่อผู้ป่วยยังไม่ได้ฉีดสารทึบรังสี
นักรังสีเทคนิคซึ่งอยู่หน้างานบางคน จำเป็นต้องกลั้นใจตัวเองฉีดสารทึบรังสีให้ผู้ป่วย
เพราะผู้ป่วยรอไม่ได้ น่าเห็นใจทั้งผู้ป่วยและนักรังสีเทคนิคจริงๆ
ในการประชุมวิชาการรังสีเทคนิคประจำปีครั้งที่
16
ที่ชลจันทร์ พัทยา รีสอร์ท เมื่อวันที่ 2
เมษายน 2551 สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย
ได้จัดให้ผู้เข้าร่วมประชุมพบกับ ก.ช. ในรูปแบบของการอภิปรายอย่างเต็มอิ่ม นาน 4
ชั่วโมงเต็ม ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย ก.ช. 5
ท่าน นำโดย รศ.จิตต์ชัย สุริยะไชยากร ประธาน ก.ช.ในขณะนั้น ร่วมด้วยนายสละ อุบลฉาย
นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย คุณอำไพ อุไรเวโรจนากร รศ.ชวลิต วงษ์เอก และผมเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
ในครั้งนั้น
เรื่องที่พูดวิจารณ์กันนานที่สุด และกลายเป็นประเด็นร้อนแรงคือ
เรื่องประกาศของสภาการพยาบาล ที่ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ
นั่นแหล่ะ ในทางปฏิบัติเมื่อพยาบาลไม่ฉีด แล้วนักรังสีเทคนิคจะวางตัวอย่างไร
จะให้ฉายเอกซเรย์อย่างเดียวหรือจะให้ทำอย่างไร ซึ่งโดยข้อเท็จจริง
ในการปฏิบัติงานของชาวรังสีบางคนก็ได้ทำตรงนี้อยู่แล้ว ทั้งที่รู้ว่าทำไม่ได้
อย่างที่กล่าวไปแล้ว ต่อไปนี้จะให้ชาวรังสีทั้งหลายทำอย่างไร
ทุกคนอึดอัดมากในเรื่องนี้ มีการถกกันอย่างเคร่งเครียด
ซึ่งมีความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมแยกเป็นสองส่วน
ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า
นักรังสีเทคนิคควรฉีด เพราะ
ควรเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส เป็นการเปิดโอกาสให้ชาวรังสีทั้งหลาย ได้ทำหน้าที่นี้ถูกต้องตามกฎหมาย
อีกทั้งไม่ควรจะปล่อยให้ผู้ป่วยนอนรอด้วยความเสี่ยง
เราควรเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ยึดความอยู่รอดของผู้ป่วยเป็นหลัก
เอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และในสภาพการณ์ปัจจุบัน
ก็มีชาวรังสีจำนวนไม่น้อยที่ทำหน้าที่ฉีดทั้งที่ไม่มีหน้าที่จึงทำให้เกิดความอึดอัดมาก
อีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า
นักรังสีเทคนิคไม่ควรฉีด เพราะไม่ได้ฝึกทำเรื่องนี้อย่างถูกต้อง
ในหลักสูตรที่เรียนในมหาวิทยาลัยก็ไม่มีการสอนเรื่องนี้ และที่สำคัญคือนักรังสีเทคนิคไม่มีหน้าที่ตรงนี้
หากเกิดอะไรกับผู้ป่วยทั้งที่เราทำไปด้วยความเมตตา แต่ทำให้ผู้ป่วยเดือดร้อนหนักขึ้นและเราก็เดือดร้อนด้วยเพราะจะถูกฟ้องร้องได้
ชาวรังสีหรือพยาบาลไม่ใช่ขาดความมีเมตตาหากไม่ทำตรงนี้
และเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส
แต่เป็นเรื่องวิกฤติของคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแต่ทำเฉยๆ
แล้วทำไมเราจะต้องไปรับวิกฤติของเขาเหล่านั้นมาใส่ตัวเรา
เป็นเรื่องไม่ควรอย่างยิ่ง ควรนิ่งไว้ก่อนดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ทั้งก่อนหน้านั้นจนถึงบัดนี้
การฉีดสารทึบรังสีหรือสารเภสัชรังสี ยังคงเป็นหนามยอกอก เป็นฝันร้าย ของนักรังสีเทคนิค
และคงจะเป็นต่อไปอีกไม่มีข้อยุติ จึงทำให้มีเรื่องความเดือดร้อนของนักรังสีเทคนิคจำนวนหนึ่ง
ส่งมาถึงคณะกรรมการวิชาชีพเพื่อขอให้ช่วยเหลือ
ในปี พ.ศ. 2552 กองการประกอบโรคศิลปะ
(ตอนนี้คือ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ) โดยคณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคด้านจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ได้จัดทำ “ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะ
ของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. ....”
และได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
ซึ่งข้อคิดเห็นต่างๆได้ถูกรวบรวมนำมาปรับเนื้อหาของร่างฯให้มีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น
ต่อมาล่าสุดวันที่
20 กันยายน 2555 สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ
(เดิมคือกองการประกอบโรคศิลปะ) คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค
และคณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคด้านจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ได้จัดให้มีการสัมมนารับฟังความคิดเห็น “ร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะ
ของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. ....” อีกครั้ง ที่โรงแรมริชมอนด์
จังหวัดนนทบุรี มีอาจารย์ผู้แทนจากสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคทั่วประเทศ
และนักรังสีเทคนิคทั่วประเทศเข้าร่วมในการสัมมนาจำนวน 100 คน
ผู้ร่วมอภิปราย 5
ท่าน คือ นพ.ธารา ชินะกาญจน์ (ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ)
นางจันทนา จินดาถาวรกิจ (ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) นายดนัย
สุวรรณา (กลุ่มกฎหมาย สนง.ปลัดกระทรวงสาธารณสุข) นายวรสิทธิ์ กาญจนสูตร
(ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) และนางสาวอำไพ
อุไรเวโรจนากร
(ประธานคณะอนุกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคด้านจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ)
มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้อภิปรายและผู้เข้าร่วมประชุม
ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันมากขึ้นว่า
อะไรเป็นข้อจำกัดที่นักรังสีเทคนิคไม่สามารถทำได้เพราะอยู่นอกเหนือสมรรถนะ ผมขอสรุปประเด็นสำคัญๆที่มีการแสดงความเห็นกันตามมุมมองของผมให้ชาวเราได้ทราบเพื่อร่วมกันคิดเรื่องนี้ไปด้วยกัน
และก็ยังสามารถส่งข้อคิดเห็นไปยัง ก.ช. ได้เรื่อยๆครับ
ข้อจำกัดหรือการกระทำที่เกินสมรรถนะ
มุมมองของนักกฎหมายมองว่า
ข้อจำกัดไม่ใช่สิ่งที่ไม่สามารถทำได้ หากแต่กระทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่ายของผู้มีส่วนได้เสีย
จากกฤษฎีกากำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะฯ (เล่ม 119 ตอนที่ 69ก
23 กรกฎาคม 2545) สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับนักรังสีเทคนิค
ที่ประกาศโดยคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค (เล่ม
125 ตอนพิเศษ 179ง
24 พฤศจิกายน 2551)
และระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค (เล่ม 121 ตอนพิเศษ 95ง
31 สิงหาคม 2547) ได้กำหนดความหมายของรังสีเทคนิค
สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับนักรังสีเทคนิคในแต่ละด้าน
รวมถึงจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นกรอบมาตรฐานที่บอกว่า
นักรังสีเทคนิคทำอะไรได้บ้าง หลักสูตรที่ใช้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคของทุกสถาบัน
ต้องมีความสอดคล้องอย่างยิ่งกับมาตรฐานนี้
ดังนั้น การกระทำอันได้แก่
การเจาะหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง
การสวนปัสสาวะ
การฉีดสารทึบรังสีหรือสารเภสัชรังสี
การเตรียมสารกัมมันตรังสีแบบปิดผนึกหรือสอดใส่สารกัมมันตรังสีโดยตรง
และวินิจฉัยโรคจากผลของการตรวจทางรังสีวิทยา
เป็นต้น
จึงเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือหรือเกินกว่าสมรรถนะของนักรังสีเทคนิค
ซึ่งสถาบันการศึกษาก็ไม่ได้สอนเรื่องนี้
ฉะนั้น
หากนักรังสีเทคนิคทำสิ่งที่กล่าวข้างต้นในขณะนี้ ก็ถือได้ว่า
ทำในสิ่งที่สมรรถนะไม่ได้กำหนดไว้
เงื่อนไขของการปฏิบัติ
ในมุมองของนักกฎหมาย เงื่อนไขเป็นข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่ายของผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อให้ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำในสิ่งที่อยู่นอกเหนือสมรรถนะตามกฎหมาย ดังนั้น ในการประกอบโรคศิลปะของนักรังสีเทคนิค
หากจำเป็นต้องทำในสิ่งที่เกินกว่าที่สมรรถนะกำหนดไว้
อันนี้จำเป็นต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนว่า อย่างไรจึงจะสามารถทำได้
แล้วเรื่องนี้จะไปทางไหน ในที่สุดแล้วจะเอาอยู่ไหม จะให้การทำถูกในสิ่งที่ผิดดำเนินต่อไป หรือจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จะมีความชัดเจนในการปฏิบัติไปในทิศทางใด ที่กระทำเกินสมรรถนะอยู่ตอนนี้จะเอาอย่างไรกันดี
และอีกหลายๆคำถามที่ยังคาใจของชาวเรา ทั้งหมดนั้นขึ้นกับการให้ข้อมูลความคิดเห็นข้อเสนอแนะของชาวเราที่มีส่วนได้เสียโดยตรงและผู้มีส่วนได้เสียภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม
Related Links:
Related Links:
เรียน อ.มนัสที่เคารพ
ตอบลบผมได้ส่งข้อคิดเห็นไปยัง กช 4 ประเด็นด้วยกัน หนึ่งในนั้นมีเรื่อง นักรังสีกับการฉีดสารทึบรังสีด้วย จึงอนุญาตนำมาแชร์ในประกายรังสีด้วย เผื่อใครมีความเห็นดีๆ จะได้ช่วยกัน ข้อคิดเห็นมีดังนี้ครับ
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจคำว่า “กระบวนการฉีดสารทึบรังสี” ไม่ใช่แค่การปักเข็มและดันยาเข้าไปเท่านั้น แต่รวมถึง การประเมินผู้ป่วย (Assessment process) ซึ่งประกอบด้วย “ก่อน ระหว่าง และหลังการตรวจ”
“ก่อน” คือ ซักประวัติ, วัด Vital Sign, ดูผลเลือด
“ระหว่าง” คือ วัด Vital sign, เฝ้าระวังผู้ป่วย
“หลัง” คือ ดูอาการ, วัด Vital sign และติดตามอาการหลังตรวจ 24 ชั่วโมง
ซึ่งถ้าดูการทำงานของนักรังสีฯ หลังฉีดยา ต้องถ่ายภาพ, process ภาพ, เอาภาพไปให้รังสีแพทย์พิจารณาแล้วรับคำสั่งแพทย์ ว่าจะให้ถ่ายภาพอะไรต่อ ฯลฯ แล้วถ้าจะต้องทำ Assessment process ด้วยย่อมทำไม่ได้แน่นอน (ไม่ใช่บอกว่าแค่ดูอกผู้ป่วยยังกระเพื่อมอยู่ก็พอแล้ว) เพราะฉะนั้นพยาบาลจึงเหมาะสมที่สุด ทั้งบทบาทหน้าที่ และทักษะในการดูแลผู้ป่วย
แต่ปัญหาคือ ผู้บริหารอาจไม่เข้าใจกระบวนการทำงานของนักรังสี จึงไม่เห็นความสำคัญที่จะจัดให้มีพยาบาลช่วยงานรังสี มักจะอ้างเรื่องข้อจำกัดในการขออัตราจ้าง ฯลฯ
มีความเห็นหลากหลายว่าอาจกำหนด ให้นักรังสีฉีดสารทึบรังสีได้ภายใต้เงื่อนไข เช่น
- ต้องได้รับการอบรมพร้อมมีใบรับรอง
- ทำงานภายใต้การดูแลของแพทย์ (คำว่า “ภายใต้การดูแลของแพทย์” ก็น่าจะต้องมีคำนิยามหรือไม่ เช่น 1) ต้องมีแพทย์อยู่ด้วยขณะฉีด หรือ 2) ต้องแจ้งรังสีแพทย์หรือ แพทย์ ER ว่าจะมีการฉีด หรือ 3) แพทย์ต้องทำ KPI ประเมินนักรังสี เป็นระยะๆ 4) ฯลฯ )
- ต้องมีพยาบาลร่วมปฎิบัติการประเมินและเฝ้าระวังผู้ป่วย (Assessment process) ทุกครั้ง
อย่างไรก็ตามในความเห็นส่วนตัว ผู้ฉีดควรเป็นผู้ทำ Assessment process ด้วยตนเอง ถ้าให้นักรังสีฉีด และพยาบาลทำ Assessment แล้วถ้าผู้ป่วยมีปัญหา ก็ต้องมาทะเลาะกันอีกว่าใครผิดใครถูก สุดท้ายพยาบาลก็จะโยนทั้งหมดมาให้นักรังสีทำ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเปิดช่องให้นักรังสีฯ ฉีดสารทึบรังสีตั้งแต่ต้น นักรังสีมีเรื่องอื่นให้พัฒนาอีกมากกว่าแค่เรื่องการฉีดยา
ซึ่งขณะนี้ฝ่ายพยาบาลก็รับที่จะเปิดอบรมพยาบาลรังสี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว ควรให้เป็นไปในแนวทางนี้ต่อไป เพราะการที่เราพยายามผลักดันให้มีพยาบาลมาช่วยงานในหน่วยรังสี ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะพยาบาลมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยได้ดี ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องฉีดสารทึบรังสี แต่ยังมีอีกหลายหัตถการที่พยาบาลจะช่วยนักรังสีได้เป็นอย่างมาก
ธนากร
ถ้าจะจัดให้มีหลักสูตรการอบรม ปฏิบัติ และสอบรับใบรับรองไปเลย พอจะเป็นไปได้ไม๊ครับ โดยอ้างอิงจากบุคคลที่มีสิทธิ์ในการฉีดว่า จะต้องรู้และเป็น ในเรื่องอะไรบ้าง จะได้ตัดปัญหาในส่วนนี้ไปซักที ชาวรังสีจะได้ไม่ต้องมานั่งเครียด พยาบาลก็จะได้ไม่ต้องมาคอยกังวล
ตอบลบพยาบาลมีความชัดเจนมาก ในเรื่องนี้เพราะใน พ.ศ. 2551 สภาการพยาบาลได้มี ประกาศห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้ยาหรือสารละลายกลุ่มสารละลายทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ โดยไม่มีเงื่อนไข (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนพิเศษ 4ง หน้า 103 วันที่ 7 มกราคม 2551) ชัดเจนมากครับ
ตอบลบ================
อยากทราบเหตุผลครับ ว่าทำไมสภาการพยาบาลถึงไม่ให้พยาบาลฉีดสารทึบรังสี ทั้งที่มียาหรือสารอื่น ๆ อีกมากมายที่อันตรายกว่าสารทึบรังสีหลายเท่าที่พยาบาลฉีดได้ ทำไมต้องมาห้ามเฉพาะสารทึบรังสี
การฉีดสารทึบรังสีไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของชาวเรา ใครก็สั่งให้ทำไม่ได้ คนสั่งให้ทำก็ผิด คนทำก็ผิด ตอนนี้เป็นแบบนี้ครับ ถ้าจะให้เป็นอย่างอื่นต้องมีประกาศหรือข้อบังคับที่ไม่ขัดกับกฎหมายหลัก ถ้าจะให้ชาวเราทำต้องแก้กฏหมายกันเลย ซึ่งไปคาบเกี่ยวกับแพทย์ คงถกกันยาวววววววววเลยแหล่ะ อาจถึงชาติหน้า และถ้าอบรมการฉีดให้ชาวเราก็ฉีดไม่ได้อยู่ดีครับ ต้องปลดล็อกกฎหมายก่อน
ตอบลบเฉพาะหน้าเร่งด่วนเนี่ยผมว่า ในเมื่อชาวเราทำแล้วผิดกฎหมาย ก.ช. ต้องรีบบอกคนที่สั่งให้ชาวเราทำ ว่าอย่าสั่งนะมันผิดกฎหมายในตอนนี้ จะซวยทั้งคนสั่งและคนทำ ชาวเราจะได้หายอึดอัด อย่าปล่อยให้ทำผิดกฎหมายกันอยู่เลย เมื่อมีเรื่องแล้วฟ้องร้องกัน จะมีแต่คนเอาตัวรอด
ตอนนี้ยังมีบางรพ.ที่ให้นักรังสีเทคนิคฉีดสารทึบรังสีเอง ประเมินผู้ป่วยเอง ทำทุกอย่างเอง แม้บอกผู้บริหารไปแล้ว ถึงความเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขปัญหา แต่ก็ไม่มีการตอบรับแต่อย่างใด
ตอบลบเป็นความอึดอัดขับข้องใจของผู้ปฎิบัติจริงๆ ถ้าไม่ฉีดก็ไม่ได้ ถ้าฉีดไม่เกิดอะไรขึ้นก็ดีไป แล้วถ้าเกิดจะมีใครมาช่วยเราบ้างไหมน้อ ?
ตอบลบ