(582 ครั้ง)
เราคิดอย่างไรกับคำว่า “ถูก” และ "ผิด”
ที่นี่ประเทศไทย ตามปกตินิสัยของคนทั่วไปโดยเฉพาะคนไทยไม่ชอบให้ใครมาชี้หน้าว่าด้วยประโยคอมตะ “คุณนั่นแหละผิด” จริงไหม (ทั้งๆที่บางทีตัวเองก็ผิดจริงๆ) คนที่ถูกว่าว่าผิดจะโกรธมากถ้าจิตของเขาไปผูกติดกับสิ่งที่ได้ยินแล้วคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อย และคนที่ไม่รู้จักยับยั้งใจและปากไวไปว่าเค้าก็อาจจะอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บตัวเอาง่ายๆ
ในการประชุมปรึกษาหารือกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ ลองสังเกตว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีใครที่จะกล้าว่าใครผิดชนิดตรงไปตรงมาแบบไม่อ้อมค้อมหรือไม่พูดซะเลย (แต่ลับหลังแล้วไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร ชอบไปพูดขยายความแบบตรงไปตรงมาอย่างเมามันกับคนที่สาม แล้วคนที่สามก็ตั้งอกตั้งใจฟังอย่างเมามันและนำไปขยายต่ออย่างสนุกสนาน) มันก็เป็นความน่ารักน่าชังของคนไทยอีกแบบหนึ่งที่คนชาติอื่นไม่ค่อยจะมี ทำให้สังคมไทยไม่ค่อยจะมีการชกต่อยกันในที่ประชุม ถ้าจะมีการว่าใครผิดสักคนหนึ่งแล้วส่วนใหญ่คนที่ว่าจะใช้สำนวนโวหารอ้อมไปอ้อมมาฟังแล้วบางทีคนพูดก็งง คนถูกว่าก็งง สรุปแล้วคนว่าไม่กล้าพูดตรงๆ และคนถูกว่าก็ไม่รู้ว่าถูกว่า บางทีเข้าใจผิดคิดว่าเค้าชมเราเสียอีกด้วย
สมมติใครสักคนโชคร้าย เจอสถานะการณ์ที่มีใครสักคน(ใจถึงมาก)มาชี้หน้าว่าฉอดๆๆๆ ว่า “คุณเป็นคนผิด คุณเลวมาก” นอกจากนั้นยังใช้วาจาหยาบคายไม่รู้จักว่าใครเป็นเด็กใครเป็นผู้ใหญ่กราดใส่เราชนิดไม่ให้ตั้งตัว เราจะทำตัวทำใจอย่างไร เพราะสิ่งที่เกิดกับเรานั้นปานประหนึ่งว่าเราถูก Excited คือถูกกระตุ้นอย่างแรงทันทีทันใด ถ้าจิตของเราผูกติดกับสิ่งที่ได้ยินและปรุงแต่งเร็วจนชิน ความเค้นจะเกิดอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยความเครียด
เหมือนอะตอมถูกกระตุ้นด้วยพลังงานจากภายนอกอะตอม อะตอมก็ตื่นเต้น แต่ธรรมชาติของอะตอมทั่วไปมันจะตื่นเต้นชั่วครู่ประมาณ 1 ส่วนร้อยล้านวินาทีเท่านั้น คือเร็วมากไม่ทันตั้งตัว มันจะกลับสู่ Ground State ทันทีพร้อมคายพลังงานแบบพรวดเดียวออกมา (Spontaneous)
เมื่อเราตื่นเต้น เค้น และเครียด เราจะเหมือนอะตอมที่ตื่นเต้นไหม?? ถ้าเหมือนเราก็จะตอบโต้ผู้พูดด้วยแสนยานุภาพของเราที่มีอยู่ทั้งหมด ปานประหนึ่งการคายพลังงานของอะตอมแบบพรวดเดียวสู่ Ground State แต่ถ้าเรานิ่งเป็นซื่อบื้ออารมย์ค้าง ปานประหนึ่งอะตอมที่อยู่ใน Meta-stable State คือ อะตอมที่ตื่นเต้นอยู่นานกว่า Spontaneous ประมาณ 1,000 เท่า กรณีนี้ต้องรออีกนาน การคายพลังงานจึงเกิดขึ้นตามหลังความตื่นเต้น เราจะเป็นแบบไหน
อาจารย์ของผมเคยสอนไว้ว่า ถ้าเราเจอกรณีอย่างนี้จง อดทนอดกลั้น (ย้อนกลับไปอ่าน ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์) ทำใจให้นิ่งเข้าไว้และควบคุมร่างกายของเราให้ได้โดยเฉพาะมือและเท้า (ให้คนที่ว่าเรางงไปเลยและชักระแวงว่า เราคงจะมีไม้เด็ดเล่นงานเค้าแน่ๆ ) ขณะเดียวกันให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลาว่าเค้ากำลังว่าเรา (ไม่ใช่ซื่อบื้อไม่รู้ว่าเค้ากำลังว่าเรา) แต่ไม่ให้มีอารมย์คล้อยตามไปกับสิ่งที่เค้ากำลังว่าเรา พิจารณาว่าที่เค้าว่าเราจริงไหม เราทำอย่างที่เค้าว่าเราไหม?? และให้มองคนที่ว่าเราด้วยความเมตตาสงสารและหาทางช่วยเหลือเขา ฟังแล้ว ลองค่อยๆคิดดูว่าวิธีนี้ดีไหม สำหรับผมแล้วผมเห็นด้วยกับวิธีนี้ เพราะอะไร ก็เพราะว่าถูกหรือผิดเป็นของสมมติไม่มีอยู่จริง ไม่ใช่สิ่งที่เราจะเป็นผู้กำหนดได้ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ต่างคนต่างมุมมองยากที่ทุกคนจะมองเรื่องเดียวกันว่าถูกหรือผิดเหมือนกันหมด
สมัยเรียนหนังสือ อาจารย์ผมเคยเล่านิทานเรื่องหนึ่งให้ฟัง ยังพอจำได้ว่า ที่วัดแห่งหนึ่ง ทุกวันพระจะเดินจากกุฏิไปโบสถ์ตามทางเดินเพื่อไปทำวัตร ทางที่เดินไปนั้นมีหอยทากออกมาเดินเต็มไปหมด ขณะที่พระเดินไปตามทางก็จะเหยียบหอยทากตายทุกวัน เณรซึ่งมีหน้าที่ทำความสะอาดบริเวณวัดสังเกตเห็นทุกวัน เณรไม่ต้องการให้พระทำบาปเพราะฆ่าหอยทากและต้องการรักษาชีวิตหอยทากเอาไว้ เณรจึงทำการเก็บหอยทากตามทางเดินโยนข้ามกำแพงวัดไป ซึ่งบริเวณที่ติดกับวัดนั้นเป็นสวนผักของชาวบ้านซึ่งเณรก็ทราบแต่เพราะต้องการให้หอยทากมีชีวิตอยู่จึงต้องทำ
เมื่อหอยทากตกอยู่ในสวนผักของชาวบ้าน หอยทากก็มีชีวิตต่อไปอย่างอุดมสมบูรณ์ด้วยการกินผักที่ชาวบ้านปลูกไว้เป็นอาหาร ทำให้ผักของชาวบ้านเสียหายสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ชาวบ้านเมื่อทราบเรื่องก็โกรธและทะเลาะกับเณร และเถียงกันรุนแรง ในที่สุดชาวบ้านก็จับหอยทากโยนข้ามกำแพงวัดกลับเข้าไปในวัดอีก เหตุการณ์ดำเนินต่อไปในลักษณะที่มีการโยนหอยทากกลับไปกลับมา
เจ้าอาวาสทราบเรื่อง ก็เรียกเณรและชาวบ้านมาเพื่อเจรจาสงบศึก เจ้าอาวาสถามเณรว่าเรื่องเป็นอย่างไร เณรก็เล่าให้ฟัง เจ้าอาวาสจึงหันไปถามที่ปรึกษาว่าเณรผิดไหม ที่ปรึกษาก็บอกว่า “เณรทำถูก” เจ้าอาวาสจึงถามชาวบ้านว่าเรื่องเป็นอย่างไร ชาวบ้านก็เล่าให้ฟัง เจ้าอาวาสก็ถามที่ปรึกษาว่าชาวบ้านผิดไหม ที่ปรึกษาบอกว่า “เออชาวบ้านก็ถูก”
ท่านคิดว่าเรื่องนี้ใครผิดใครถูก เชื่อว่าแต่ละคนจะมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็จะมีเหตุผลของตัวเองบนพื้นฐานที่แตกต่างกัน เรื่องแบบนี้ไม่เหมือนโจทย์ทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ที่ถามว่า (2x3)+(5-2) มีค่าเท่าไร ถ้าใครตอบว่ามีค่าเท่ากับ 9 ก็ถูก และถ้าใครตอบเป็นค่าอื่นก็ผิด เรื่องทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์มีการกำหนดกฏเกณฑ์เงื่อนไขไว้ชัดเจนว่าอย่างไรผิดอย่างไรถูก แต่เรื่องที่เกี่ยวกับแง่มุมความผิดถูกของคนเป็นเรื่องยากกว่าอย่างมาก หากถามว่าการฆ่าคนมีความผิดต้องได้รับโทษจำคุกไหม คำตอบคือบางกรณีก็มีความผิดดังว่า เช่น ผู้ร้ายฆ่าเจ้าทรัพย์เพื่อชิงทรัพย์ แต่บางกรณีผู้ที่ฆ่าคนตายเป็นฮีโร่ เช่นที่หน่วยคอมมานโดบุกเข้าช่วยตัวประกันที่โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีเมื่อพ.ศ. 2543 ซึ่งถูก "ก็อดอาร์มี่" ยึดไว้ และฆ่าผู้ร้ายตายหมดเลยเป็นต้น
ทำไมในสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องตัดสินการออกกฎหมายด้วยการใช้เสียงข้างมาก ก็เพราะเงื่อนไขของความถูกผิดหรือความเหมาะสมไม่ชัดเจนนั่นเอง เสียงส่วนน้อยอาจจะถูกในขณะที่เสียงข้างมากที่ตัดสินให้ออกกฎหมายไปบังคับใช้กับประชาชนทั้งประเทศอาจจะผิดก็ได้ บางทีปัญหาหนึ่ง อาจมีหลายคำตอบที่ถูกทุกคำตอบก็ได้ ตัวอย่างเช่น
“ถ้าให้เงินชาวเรา 10 บาท ซื้อกล้วยปิ้ง 3
บาท แม่ค้าจะทอนให้กี่บาท???” คำตอบอาจเป็น
ก.)ศูนย์บาท (ไม่ต้องทอน) ถ้าเราให้เหรียญบาท 3 อัน
ข.)หรือสองบาท ถ้าเราใช้เหรียญห้าบาทซื้อกล้วย
ค.)หรือเจ็ดบาท ถ้าเราใช้เหรียญสิบบาทซื้อกล้วย
ง.)หรือหนึ่งบาท ถ้าเราใช้เหรียญสองบาท 2 อัน
สรุปว่า
เมื่อเราเจอปัญหาหรือเกิดความขัดแย้ง
แต่ละคนอาจจะมีคำตอบหรือทางออกของปัญหานั้นๆไม่เหมือนกัน
ขึ้นกับเงื่อนไขข้อกำหนดพื้นฐานและกระบวนการหาคำตอบหรือทางออก
ซึ่งคำตอบหรือทางออกที่หลากหลายนั้นมันอาจจะไม่มีอันไหนผิดเลยหรือไม่ผิดเลยก็ได้
ฉะนั้น เราจึงไม่ควรตัดสินว่าใครผิดใครถูก ไม่ควรที่จะไปว่าคนอื่นเขาว่า
"คิดงี้ได้ไงวะ? ปัญญาอ่อนหรือเปล่าวะ?" เราควรเคารพความเห็นของผู้อื่นนะครับ
แต่ต้องเป็นความเห็นและการกระทำที่ไม่เกินขอบเขตกฎหมายและศีลธรรมง.)หรือหนึ่งบาท ถ้าเราใช้เหรียญสองบาท 2 อัน
ในท่ามกลางความขัดแย้งของคนในสังคม เกิดจากความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน เกิดจากความคิดเห็นที่รู้สึกว่าเราถูกเอาเปรียบ ถูกเบียดเบียน หรือความขัดแย้งเรื่องส่วนตัวของชาวเราทุกคน เป็นต้น เมื่อฝ่ายหนึ่งเกิดอุปาทานหรือมีความเชื่อว่าตัวเองถูก ก็มีแนวโน้มที่จะขีดเส้นแบ่งและมองฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายที่คิดไม่เหมือนเราว่าผิด หรือถึงขั้นฟันธงเลยว่าผิด ด้วยมีอคติในใจซึ่งอาจบดบังความเป็นจริง....มันเป็นเช่นนี้ต้องระวัง
เรียน ท่านอาจารย์ มานัส ครับ
ตอบลบ"คุณนั่นแหละผิด" อันนี้ก็ยิ่งยากนะครับอาจารย์ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นคนส่วนใหญ่มักจะชี้โทษไปที่ผู้อื่นก่อน อาจจะรวมถึงตัวผมด้วย ผมว่าคงจะเป็นกลไกในการป้องกันตนเองของมนุษย์อย่างหนึ่่งบางคนรู้อยู่แก่ใจแท้ๆว่าตัวเองผิด ก็ยังไม่ยอมรับนะ ชี้ไปที่ผู้อื่นอีก สังคมจึงยุ่งเมื่อมีเหตุการณ์ที่มากระทบเรา ผมเห็นด้วยที่ว่า ควรจะปรับอารมณ์ให้อยู่ในภาวะ Meta-stable state ก่อน อย่าพึ่งปล่อยพลังงานพรวดออกมาทีเดียว
อาจจะต้องใช้เวลาในการคิดใคร่ครวญ ไม่ทราบใครเคยพูดไว้ว่า "บัณฑิตต้องคิดใคร่ครวญสูง" แรงมาแรงไปก็อาจจะพังผมเห็นด้วยกับความอดทน ความมีเมตตาต่อกัน การให้อภัยกัน และการมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยครับ
อนุชิต สมหาญวงค์ ระนอง
นานมาแล้ว ณ หมู่บ้านที่สงบร่มรื่นห่างไกลออกไป มีชายตาบอดคนหนึ่งนั่งคุยกับเพื่อนที่บ้านของเพื่อนอย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน จนเวลาผ่านไปถึงเย็น ถึงค่ำมืด หลังจากกินข้าวเย็นกับเพื่อนแล้ว ชายตาบอด ก็ขอตัวกลับบ้าน ก่อนกลับเพื่อนบอกว่า
ตอบลบ@เพื่อน.........เอาโคมไฟไปด้วยซิ
&คนตาบอด...อะไรกันเพื่อน ฉันตาบอด มองอะไรไม่เห็น ฉันไม่ต้องใช้โคมไฟหรอก โคมไฟคงไม่มีประโยชน์สำหรับฉัน เก็บเอาไว้ใช้ที่บ้านเองเถอะนะ
@เพื่อน.........โคมไฟไม่มีประโยชน์ต่อเองก็จริง ทางเดินกลับบ้านมันมืดนะ มองไม่เห็นทางแล้ว
&คนตาบอด....ก็นั่นนะซี แล้วจะเอาโคมไฟไปทำไมล่ะ ไม่มีประโยชน์หรอก
@เพื่อน..........เอาเถอะน่า โคมไฟจะช่วยส่องทางให้รู้ว่า เองกำลังเดินไปตามทาง คนที่เดินสวนมาจะได้ไม่ชนเองไงล่ะ
&คนตาบอด....อ้าว งั้นรึ เออดี งั้นฉันขอรับโคมไฟไปด้วยแล้วกัน แล้วจะเอามาคืนนะ
หลังจากรับโคมไฟจากเพื่อนแล้ว ทั้งสองคนก็ลาจากกัน คนตาบอดถือโคมไฟเดินไปตามทางที่มืดมิดเพื่อกลับบ้าน มีเพียงแสงสว่างจากโคมไฟในมือของเขาที่ส่องให้ทางเดินสว่างและคนตาดีก็เห็นคนตาบอดกำลังเดินมา ระหว่างทางมีคนเดินสวนทางไปมาหลายคน ทักทายกันและผ่านไปด้วยดี
เมื่อเดินมาได้พักใหญ่ พลันก็มีคนๆหนึ่งเดินมาชนคนตาบอด คนตาบอดตกใจมาก พูดออกไปด้วยน้ำเสียงโมโหว่า
&คนตาบอด....ตาบอดรึไงวะ มองไม่เห็นโคมไฟของฉันรึ
%คนที่มาชน...ขอโทษ มองไม่เห็นจริงๆ
&คนตาบอด....งั้นเองก็ตาบอดเหมือนฉันนะซิ
%คนที่มาชน...เปล่าฉันตาดี มองเห็นทุกอย่าง โคมไฟของเองมันดับไปนานแล้วมั้ง
&คนตาบอด....เรอะ?? !!!
..........จบ........