วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบแผ่นดินไหวต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi


3,754 ครั้ง




     จากการเกิดแผ่นดินไหวความแรงขนาด 9.0  เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554 เวลา 14.46 น. ตามเวลาท้องถิ่น ที่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นใกล้กับเมือง Sendai ทำให้เกิดคลื่น Stunami ขนาดใหญ่ถล่มตามชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นเป็นระยะทางยาว ยังความเสียหายที่ต้องเรียกว่าหายนะครั้งร้ายแรงของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังเกิดผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ซึ่งอยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิกทางฝั่งตะวันออกของเกาะญี่ปุ่น ไปทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว 250 กิโลเมตร ใกล้กับเมือง Sendai

1.) Block Diagram ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์



Interactive Animation ของเตาปฏิกรณ์ Fukushima

     โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต้องมีการกำกับดูแลความปลอดภัยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อย่างเคร่งครัดตามมาตรฐานของ IAEA ที่สาคัญ 3 ประการ คือ ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Safety) ความมั่นคงปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Security) และการพิทักษ์ความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Safeguards)

หลักการทางฟิสิกส์ของปฏิกิริยาฟิชชัน

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (nuclear plant)
     โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi มีโครงสร้างตาม block diagram ใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ โดยมี modulator rods ทำหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบ fission โดยที่การเกิดปฏิกิริยา fission 1 ครั้งจะได้นิวตรอน 2-3 ตัว byproduct (เช่น Cs-137 :30yr:betaγ Sr-90 :29yr:beta; I-131: 8day: beta&gamma เป็นต้น) และพลังงานประมาณ 200 MeV นิวตรอนที่เกิดขึ้น 2-3 ตัวนั้นจะทำให้เกิด fission ต่อไปเรื่อยๆเป็นลูกโซ่ สามารถควบคุมการเกิดปฏิกิริยาได้โดยใช้ control rods เข้าไปจับนิวตรอนไม่ให้มีมากเกินไป พลังงานที่เกิดจาก fission จะกลายเป็นความร้อนทำให้น้ำกลายเป็นไอ ไปขับ turbine ให้หมุนซึ่งจะไปเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (electric generator) นำออกไปใช้งาน ส่วนไอน้ำจะถูกควบแน่นและทำให้เย็น ก่อนที่จะทำการสูบกลับเข้าถังเชื้อเพลิง และจะหมุนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย จนกว่าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะหมดอายุแล้วทำการเปลี่ยนใหม่
     ส่วนที่จะเกิดกัมมันตภาพรังสีจำนวนมาก คือ บริเวณแท่งเชื้อเพลิง

2.) ผลของรังสีที่มีต่อมนุษย์
     ปริมาณรังสีที่ร่างกายมนุษย์ได้รับ และอันตรายหรืออาการที่เกิดขึ้นหรือผลที่เกิดขึ้น จะมีลักษณะเป็นผลที่เกิดชัดเจน (deterministic effect) และผลที่เกิดไม่ชัดเจน (stochastic effect) 

ปริมาณรังสีที่ได้รับ
อาการ/ผลลัพธ์
10,000 mSv
ในระยะเวลาสั้น ๆ
มีอาการบาดเจ็บทางรังสีทันที/ทำให้ถึงแก่ความตายใน 2-3 สัปดาห์
1,000 mSv
ในระยะเวลาสั้น ๆ
มีอาการบาดเจ็บทางรังสี เช่นคลื่นไส้ อาเจียน/ไม่ถึงตาย/อาจเป็นมะเร็งในระยะเวลาต่อมา
20 mSv/yr
เกณฑ์ความปลอดภัยทางรังสี สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ในสถานปฏิบัติงานทางรังสี
2 mSv/yr
ระดับรังสีปกติในธรรมชาติ
0.05 mSv
ระดับรังสีสูงสุด ที่ยอมให้มีอยู่ ณ รอบบริเวณสถานปฏิบัติงานนิวเคลียร์

mSv = millisievert                                         mSv/yr = millisievert per year


     รังสีอันตรายมากน้อยแค่ไหน >> (Nolan Hertel: Prof. of Nuclear and Radiological Engineer, Georgia Tech,..CNN)
     ความรู้เรื่อง Radiation Protection พื้นฐาน  Part1 >>,  Part2>>,  


3.) แรงระดับ 9.0 กระทบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima อย่างไร
     โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ Fukushima Daiichi มีเตาปฏิกรณ์จำนวน 4 unit เบื้องต้นวันที่ 11 มีนาคม หลังเกิดแผ่นดินไหว ตามปกติ modulation rods จะต้องเคลื่อนเข้าไปในตำแหน่งที่หยุดปฏิกิริยา fission ทันทีที่เกิดแผ่นดินไหว แต่พบว่า ระบบปั๊มน้ำระบายความร้อนของเตาปฏิกรณ์ unit 1 ขัดข้อง ระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้เกิด overheat จนกระทั่งโครงสร้างด้านนอกของ containment building เกิดการระเบิดอย่างแรง ทำความเสียหายให้กับอาคารของ unit1 และมีผู้บาดเจ็บ แต่โครงสร้างที่เป็น containment building ไม่มีความเสียหาย

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2554          
     วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2554 การระเบิดส่วนนอกของเตาปฏิกรณ์ unit1  
     รัฐบาลญี่ปุ่นต้องประกาศสถานะการณ์ฉุกเฉิน และทำการอพยพประชาชนให้อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 20 กิโลเมตร เนื่องจากตรวจพบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี ได้แก่ ซีเซียม(Cs) ซึ่งเป็น byproduct ของปฏิกิริยา fission ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิวเคลียร์ลงความเห็นว่า อาจเป็นไปได้ที่มีการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงบางส่วนใน unit1 ด้วย มีความพยายามในการควบคุมเตาปฏิกรณ์ด้วยการอัดน้ำทะเลผสมกรดโบรอนนิคเข้าไปเพื่อให้เตาปฏิกรณ์เย็นตัวลง

ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์จาก US

ข้อมูลแผ่นดินไหวจาก IAEA โดยสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย >>>click

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2554
     ถัดมาวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2554 ได้เกิดระเบิดของแก๊สไฮโดรเจนและออกซิเจนขึ้นอีกครั้ง ที่บริเวณส่วนนอกของเตาปฏิกรณ์ unit3 ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับ unit2 และ unit4

วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2554
  
    มีรายงานว่าได้เกิดระเบิดที่ unit2 และมีไฟไหม้ที่ระบบหล่อเย็นของปฏิกรณ์ unit4 เป็นเหตุให้ระดับปริมาณรังสีรอบๆโรงไฟฟ้าขณะนี้สูงชึ้น 167 เท่าของปริมาณรังสีเฉลี่ยทั้งปี นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ออกมาแสดงความกังวลอย่างมาก และได้อพยพประชาชนประมาณ 200,000 คนออกไปอยู่นอกรัศมี 20 km และขอร้องประชาชนให้อยู่แต่ในบ้าน ปิดหน้าต่างให้หมดและพยายามอย่าให้มีลมเข้าไปภายในบ้าน IAEA เรียกร้องให้กำหนดเป็นเขตห้ามบิน (no fly zone) ในรัศมี 30 km ของ Fukushima Site

    ผู้เชี่ยวชาญบางคนให้ความเห็นว่า สถานะการณ์เลวร้ายกว่าการระเบิดที่เกาะ Three Mile Island ในอดีตที่ผ่านมาซึ่งมีความรุนแรงระดับ 5 แต่ที่กำลังเกิดอยู่นี้มีความรุนแรงในระดับ 6 ส่วนที่ Chernobyl มีระดับความรุนแรง 7 ขณะนี้บางสำนักข่าวต่างประเทศพาดหัวข่าวว่า ขอเรียกร้องหา Hero ที่จะมาควบคุมสถานะการณ์นี้
     ปริมาณรังสี 6308 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง (JAIF Report: 23.35)

          1 = Anomaly
          2 = Incident
          3 = Serious Incident
          4 = Accident with Local Consequences
          5 = Accident with Wide Consequences
          6 = Serious Accident 
          7 = Major Accident


วันพุธที่ 16 มีนาคม 2554

Interactive Animation ของเตาปฏิกรณ์ Fukushima
     สถานีโทรทัสน์ NHK รายงายเมื่อตอนเช้าว่าเห็นกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจากระยะ 30 km คาดว่า เกิดจากการระเบิดของ unit4
     จากการลุกไหม้ในส่วนของ fuel storage pond ตั้งแต่วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2554 และยังไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจุดนี้ทำให้เกิดการรั่วของกัมมันตภาพรังสีออกสู่บรรยากาศไปแล้ว  คุณ Hajimi Motujuku โฆษกของบริษัท TEPCO (Tokyo Electric Power) กล่าวยืนยันการระเบิดของส่วนที่เป็นด้านนอกของ containment vessel เมื่อเช้าของวันพุธที่ 16 มีนาคม 2554 เป็นสาเหตุสืบเนื่องมาตั้งแต่วันอังคาร
     รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งให้ประชาชนที่อยู่ในรัศมี 30 km อยู่แต่ในที่พักอาศัยที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการได้รับ exposure และได้สั่งห้ามเที่ยวบินในเชิงพาณิชย์บินผ่านบริเวณดังกล่าวในรัศมี 30 km

     Yukio Edano ซึ่งเป็น Chief Cabinet Secretary เปิดเผยว่า เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น เห็นกลุ่มควันสีขาวพวยพุ่งออกมาใกล้บริเวณปฏิกรณ์นิวเคลียร์ unit3 แต่ไม่มั่นใจว่าปริมาณรังสีที่เพิ่มขึ้นเชื่อมโยงกับควันหรือไม่ ขณะที่วัดปริมาณรังสีได้ 1,000 microsieverts แล้วลดระดับลงมาอยู่ที่ 600-800 microsieverts ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างแรงช่วงเวลา 10.00-10.54 น. และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการบริเวณโรงไฟฟ้าได้เร่งถอนตัวออกมาก่อนชั่วคราว
     เจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติการขนน้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ เพื่อเทลงไปที่โรงไฟฟ้า แต่ต้องใช้วิธีบินผ่านแล้วปล่อยน้ำลงไปให้ตรงเป้าหมาย ไม่สามารถลอยตัวนิ่งๆเหนือโรงไฟฟ้าเพราะต้องการหลีกเลี่ยง exposure ของกัมมันตภาพรังสี เนื่องจากต้องบินเข้าไปหลายๆรอบ และเจ้าหน้าที่ 50 คน ได้เข้าปฏิบัติการภาคพื้นดินอีกครั้ง ต้องเรียกว่าเป็น Faceless 50  เพราะทั้งหมดแต่งชุดป้องกันรังสีไม่สามารถเห็นใบหน้าได้เลย
     เวลา 12.50 (10.50ประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวความแรง 6.0 ริกเตอร์ ขึ้นอีกบริเวณชิบะในมหาสมุทรแปซิฟิก รู้สึกแรงสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้างโดยเฉพาะฝั่งตะวันออกของเกาะ ไม่พบความเสียหาย ไม่มีการเตือนเรื่อง tsunami แต่เตือนว่าระดับน้ำทะเลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
     ปริมาณรังสียังมีความสับสนอยู่เพราะสถานะการณ์เปลี่ยนแปลงตลอด ประกอบกับความยากลำบากของการทำงาน ความรุนแรงของรังสีปรับเป็นระดับ 4
     ปริมาณรังสี 1937 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง (JAIF Report: 14.30)
     ความเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ต่ออันตรายจากรังสี>>

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2554
     ความเห็นของนักวิชาการด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จากรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ออกอากาศเมื่อเย็นวันที่ 16 มีนามคม 2554
     ปฏิบัติการวันนี้ เช้าวันนี้ มีรายงานเกี่ยวกับผู้ที่เข้าไปทำงานแก้ไขปัญหาโรงงานไฟฟ้า Fukushima บาดเจ็บ 19 คน ได้รับรังสีมากกว่า 20 คน ศูนย์หาย 2 คน ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นกล่าวว่าพวกเขาเป็นเหมือน "นักสู้ที่ยอมตายในสงคราม" ปริมาณรังสียังอยู่ในระดับสูง ทำให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำการกู้โดยตรงไม่ได้ เพื่อให้ความร้อนลดลง ระดับรังสีลดลง กองกำลังป้องกันตนเอง "Self-Defense Forces" ใช้เฮลิคอปเตอร์บรรทุกน้ำทะเลครั้งละ 7.5 ตันไปโปรยใส่โรงงานไฟฟ้า unit3 อีกครั้ง รวมน้ำที่โปรยลงไป 30 ตัน นักบินแต่ละคนอนุญาตให้ขึ้นบิน 40 นาทีเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยจากรังสี แต่ไม่ได้ผล ไม่ทำให้ปริมาณรังสีลดลง และหยุดปฏิบัติการแล้ว
     หลายประเทศประกาศเตือนประชาชนของตนให้ออกนอกเขตโรงไฟฟ้าให้พ้นรัศมี 80 km
     ปริมาณรังสี 646.2 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง (JAIF Report: 11.10)

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2554
     ปรับระดับความรุนแรงขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 5 แล้วอย่างเป็นทางการ เพราะพบว่ามีความเสียหายที่แกนปฏิกรณ์ unit1 ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงเทียบเท่าการระเบิดที่เกาะ Three Mile Island ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1979
     ปริมาณรังสี 3,339 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง, ที่ระยะ 500 m ตะวันตกเฉียงเหนือของปฏิกรณ์ (TEPCO Report: 2.50 PM)
     click>>


วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2554
     จากข่าว NHK เช้านี้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงระดมฉีดน้ำทะเล ด้วยรถดับเพลิง เข้าไปที่อาคารปฏิกรณ์จำนวน 60 ตัน โดยใช้เวลาปฏิบัติการ 20 นาที และมีแผนในการพยายามที่จะทำให้ความเย็นแก่บ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว ที่อยู่บนอาคาร unit3 เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจำนวนมาก
     ปริมาณรังสี 830.8 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง, ที่ระยะ 1.1 km ตะวันตกของปฏิกรณ์ unit3 (NHK Report: 8.10 AM)
     เกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีกระดับความแรง 5.4 ในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างเกาะ Honshu ประมาณ 100 km
     นาย Annika Thunborg ซึ่งเป็น Treaty Organization's Chief Press Officer ยืนยันว่า มีการตรวจพบสารกัมมันตรังสีที่ลอยมาจาก Fukushima แล้วที่ California สหรัฐฯ ตั้งแต่วันศุกร์ (ข่าว CNN)

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2554
    รายงานจาก JAIF เมื่อเวลา 10.00 น. (เวลาท้องถิ่น)
    ปริมาณรังสี 2,652 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง, North of service building, 7.30 am 
    ปริมาณรังสี 269.5 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง, The west gate, 5.40 am
    ตรวจพบ radio nuclides ปนเปื้อนในนมและผักโขมที่บริเวณตำบล Ibaragi
    เวลาท้องถิ่น 17.40 นาย Yukio Edano (Chief Cabinet Secretary) แนะนำให้ทำลายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima ไม่แน่ใจว่ามันจะกลับมาใช้ได้อีก ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ตัดสินใจและยังไม่มีแผนที่จะปฏิบัติต่อไปอย่างไร
            
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2554
รายงานจาก JAIF เมื่อเวลา 16.00 น. (เวลาท้องถิ่น).....
    ปริมาณรังสี 2,105ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง, North of service building, 13.00 
รายงานจาก TEPCO.....    
    พบสารกัมมันตรังสีอย่างน้อย 5 ชนิด ซึ่งเป็น byproduct ของปฏิกิริยานิวเคลียร์ บริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้า พบ I-131 ในปริมาณ 5.9 mBq/cm3 ซึ่งสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้สำหรับผู้ปฏิบัติการที่ไม่สวมหน้ากาก 6 เท่า
     พบสารกัมมันตรังสีในน้ำทะเลห่างออกไปทางใต้ของโรงไฟฟ้า 100 m โดยพบ I-131 ในปริมาณสูงถึง 126.7 เท่าตามที่กฎหมายกำหนด Cs-134 สูงกว่า 24.8 เท่า Cs-137 สูงกว่า 16.5 เท่า และพบ Co-58 ในระดับต่ำ

วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2554
    เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น.  IAEA รายงานผลการตรวจวัดปริมาณรังสีในรัศมี 20 km รอบโรงไฟฟ้า Fukushima Daiichi ดังนี้
     เมื่อเวลา 2.55 pm วันอาทิตย์ที่ 20 ปริมาณรังสีที่เมือง Nomei ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 20 km วัดได้ 161 ไมครซีเวิร์ต/ชั่วโมง สูงกว่าค่าที่กำหนดไว้ในธรรมชาติ 1,600 เท่า (กำหนดไว้ 0.1 ไมครซีเวร์ต/ชั่วโมง)
     เวลา 9.47 pm วันอาทิตย์ที่ 20 ปริมาณรังสีที่ตำบล Katsura ห่างออกไป 29 km วัดได้ 11.2 ไมครซีเวิร์ต/ชั่วโมง
    ปริมาณรังสีขึ้นกับกระแสลม ทิศทาง ตำแหน่ง และเวลาที่ทำการวัด

วันพุธที่ 23 มีนาคม 2554
    ตอนบ่าย มีควันดำลอยออกมาจากปฏิกรณ์ unit3 ซึ่งเป็นปฏิกรณ์ที่ใช้ MOX (Plutonium ผสมกับ Uranium กรณีนี้หากแท่งเชื้อเพลิงหลอมละลายจะมีอันตรายมากกว่าการใช้แท่งเชื้อเพลิงที่ทำจาก uranium อย่างเดียว) เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ มีการเร่งอพยพเจ้าหน้าที่ให้ออกก่อน แต่ระดับปริมาณรังสีรอบๆโรงไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงไปจากครั้งก่อนๆ>>
    ที่กรุงโตเกียว ตรวจพบสารกัมมันตรังสีไอโอดีนจากน้ำก๊อกในระดับ 210 Bq/kg สูงกว่าระดับปลอดภัยสำหรับทารก รัฐบาลเตือนประชาชนที่อาศัยในเมืองหลวง ไม่ให้นำน้ำจากก๊อกมาใช้เลี้ยงทารกที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือน และทาง Tokyo Metropolitan Government ได้จัดน้ำสะอาดใส่ขวดแจกจ่ายให้ทารกได้ใช้แล้ว >>

วันศุกร์ที่ 25 มีนามคม 2554
      Japan's Nuclear Safety Agency รายงานว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เตาปฏิกรณ์ unit3 จะมีสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมา เพราะมีการตรวจพบกัมมันตภาพรังสี 3,900,000 Bq/cm3 ในน้ำที่อยู่บนพื้นของอาคาร unit3 ซึ่งกัมตภาพรังสีระดับนี้สูงกว่าที่วัดได้ในน้ำที่ใช้ในการปฏิบัติงานในสภาพปกติของเตาปฏิกรณ์ถึง 10,000 เท่า ทำให้คนงาน 3 คนที่เข้าไปเชื่อมต่อพลังงานให้ unit3 และเท้าได้ย่ำลงในน้ำที่อยู่บนพื้นสูง 15 cm นาน 40-50 นาที เกิดอาการ "beta burn" ที่เท้าทั้งที่ใส่รองเท้าบูทสูงด้วย และเพื่อกันไว้ก่อนจึงต้องนำตัวพวกเขาส่งโรงพยาบาลทันที เหตุการณ์นี้เกิดตั้งแต่เมื่อวาน
     CNN: Video link>>>
     ปฏิบัติการกอบกู้สถานะการณ์ครั้งนี้ของนักสู้นิรนาม ซึ่งไม่เปิดเผยหน้าตาและชื่อ ทำให้นึกถึงภาระกิจฝึกปฏิบัติการของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของรัสเซีย K-19 ที่เกิดมีปัญหาที่เตาปฏิกรณ์ ลูกเรือต้องเข้าไปแก้ปัญหาในบริเวณเตาปฏิกรณ์ ทำให้เสียชีวิตหลายคน มีการนำเหตุการณ์นี้มาสร้างเป็นภาพยนต์จำลองเหตุการณ์ที่เกิดในตอนนั้น

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2554
     TEPCO รายงานว่า ที่โรงปฏิกรณ์ unit2 ตรวจพบสารกัมมันตรังสีที่เป็น byproduct ของปฏิกิริยาฟิชชั่นในเตาปฏิกรณ์ในระดับที่สูงมาก ได้แก่ I-134, I-131, Cs-137 โดยวัดกัมมันตภาพรังสีในน้ำ (extremely contaminated water) ที่อยู่ภายในห้องด้านล่างของ Turbine Building ได้ I-134=2,900,000 Bq/cm3, I-131=1,300,000 Bq/cm3, Cs-137=2,300,000 Bq/cm3 ปริมาณรังสีที่สูงมากขนาดนี้อาจเกิดจากแกนของเตาปฏิกรณ์เกิดความเสียหาย

วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2554
     เรื่องใหญ่ พบ plutonium ปนเปื้อนในดินรอบๆโรงไฟฟ้า รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเตือนภัยสูงสุด และสถานะการณ์การแพร่สารกัมมันตรรังสีคาดเดาไม่ได้ ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะจัดการอย่างไรกับการยุติปัญหานี้ น้ำที่ฉีดเข้าไปเพื่อลดความร้อน ไหลย้อนกลับออกมาและปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในออกกาศ เหล่านี้จะจัดการอย่างไรยังไม่มีคำตอบ
     ข่าว abc World News >>>
     Prof. Dr. Michio Kaku มีความเห็นว่าน่าจะยกระดับจาก 5 เป็น 6>>>
     มีความวิตกเรื่อง plutonium ที่พบในดิน เพราะมันเป็นสารพิษมีความเป็นพิษค่อนข้างสูง รังสีแอลฟาจาก plutonium มีพลังงานสูงแต่อำนาจทะลุทะลวงต่ำไม่อาจทะลุผิวหนังเข้าไปในร่างกายของเราได้ แต่ถ้ารับประทานหรือสูดดมเข้าไปในร่างกายจะเป็นอันตรายมาก ทั้งพิษและรังสี โดยเฉพาะกระดูกจับ plutonium ได้ดีรังสีแอลฟาจะเป็นอันตรายต่อ bone marrow
     ฟังความเห็นจาก Nuclear Engineer >>>
     ผลของรังสีที่มีต่อร่างกายมนุษย์เรา (Radiation Effect on the Human Body) >>>

วันพุธที่ 30 มีนาคม 2554
    วันนี้ ประธานบริษัท TEPCO นาย Tsuneshisa Katsumata ได้ออกมากล่าวขอโทษสำหรับความยุ่งยากและความเดือดร้อนที่เกิดจากรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi และกำลังเตรียมการชดเชยตามกฎหมายจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันเขากล่าวว่าจะเป็นการดีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi unit 1-4 จะต้องปิดตัวไป

     IAEA บอกว่า โรงไฟฟ้า Fukushima ยังคงมีอันตรายมาก >>

สรุปการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีรอบๆโรงไฟฟ้า


วันพฤหัสที่ 31 มีนาคม 2554
     มีการวิเคราะห์กันว่า หากหยุดใช้งานโรงไฟฟ้าตอนนี้จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ $12,000 M ในช่วงระยะเวลา 30 ปีนับจากนี้ เปรียบเทียบกับ กรณีเกาะ Three Mile เสียค่าใช้จ่าย $973M ใช้เวลา 12 ปี ขณะที่ Chernobyl เสียค่าใช้จ่าย $2,200M
     มีข่าวว่า ภายในสัปดาห์จากนี้อาจมีนักสู้นิรนามเสียชีวิตเพราะรังสีจากปฏิบัติการกู้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ข่าวจาก Foxnews>>1) (ข่าวจาก Foxnews >>2)
     คนญี่ปุ่นเริ่มประท้วงบริษัท TEPCO แล้ว >>
     มีรายงานจากโทรทัศน์ NHK ว่า ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณโรงไฟฟ้าขณะนี้ ไม่มี Personal Radiation Dosimeter>> ซึ่งต่อมา TEPCO ได้อธิบายเรื่องนี้ว่ามี Dosimeter ไม่เพียงพอเพราะเกิด Tsunami ทำให้เสียหายแต่ผู้ที่เข้าไปในจุดเสี่ยงจะต้องติดทุกคน >>

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2554
     คนญี่ปุ่นกำลังโกรธ TEPCO >> เพิ่มขึ้นทุกที

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2554
    คนญี่ปุ่นประท้วง TEPCO ที่โตเกียว และเรียกร้องรัฐบาลให้หยุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด >>

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2554
     TEPCO ระบายน้ำปนเปื้อนรังสี 11,500 ตัน ลงทะเลแล้วเพื่อให้มีที่ว่างพอที่จะเก็บน้ำที่ปนเปื้อนรังสีมากๆจากปฏิกรณ์ Unit2 น้ำที่ระบายทิ้งมี I-131 สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด 100 เท่า แผนปฏิบัตินี้ได้รับการรับรองจากรัฐบาลญี่ปุ่น CNN >>
     NTD Television >>,  RT รัสเซีย >>,  NHK >>
     ญี่ปุ่นรายงานสถานะการณ์ต่อ IAEA "สถานะการณ์ที่ Fukushima Daiichi Plant ยังคงตึงเครียดอย่างมาก" >>

วันอังคารที่ 5 เมษายน 2554
    TEPCO รายงานว่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ตรวจพบ I-131 ในน้ำทะเลบริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้า มีปริมาณสูงถึง 300,000 Bq/cm3 หรือ 7.5 ล้านเท่าของปริมาณที่กฎหมายกำหนด และในเช้าวันจันทร์ลดลงเหลือ 200,000 Bq/cm3 หรือ 5 ล้านเท่าของปริมาณที่กฎหมายกำหนด และพบ Cs-137 ในปริมาณ 1.1 ล้านเท่าของปริมาณที่กฎหมายกำหนด เชื่อว่าสารเหล่านี้รั่วออกมาจากแท่งเชื้อเพลิง>>
     คนญี่ปุ่นมีความกังวลที่จะรับประทานปลา>>

วันพุธที่ 6 เมษายน 2554
     หวาดเสียว TEPCO รายงานว่า เป็นไปได้ที่มีแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้นใน Containment vessel ของเตาปฏิกรณ์ unit1 จึงต้องเติมไนโตรเจนเหลวเข้าไปเพื่อไม่ให้แกนของปฏิกรณ์ระเบิด>>
     TEPCO ว่าวิธีที่เติมสารเคมีพิเศษเพื่ออุดรอยแยก ที่ทำให้น้ำปนเปื้อนรังสีรั่วออกสู่ทะเลได้ผล ทำให้รอยแยกหยุดรั่วแล้ว>>

วันพฤหัสที่ 7 เมษายน 2554
     เมื่อเวลา 21.32 น (เวลาในกรุงเทพฯ) เกิดแผ่นดินไหว (after shock) อีกความแรงขนาด 7.4 ศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจากเมือง Sendai 66 km ห่างจาก Fukushima 118 km คนงานที่โรงไฟฟ้า Fukushima ถูกสั่งให้ออกจากพื้นที่โดยด่วน ยังไม่มีรายงานความเสียหายเพิ่มเติม>>

วันที่ศุกร์ที่ 8 เมษายน 2554
     ผลกระทบจากแผ่นดินไหวเมื่อวันพฤหัส พบว่า มีคนเสียชีวิต 4 คนบาดเจ็บกว่าร้อยคน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Onagawa ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือห่างจากโรงไฟฟ้า Fukushima ประมาณ 100 km ได้รับผลกระทบหยุดทำงานและมีน้ำปนเปื้อนรังสีจำนวนหนึ่งนองที่พื้นห้องของโรงไฟฟ้า >> ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างนานกว่า 24 ชั่วโมงมีผลต่อประชาชนกว่า 3 ล้านครัวเรือน แต่ไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินของโรงไฟฟ้า Onagawa ทำงานได้ตามปกติ ระบบหล่อเย็นจึงไม่เกิดปัญหา ส่วนโรงไฟฟ้า Fukushima สถานะการณ์คงเดิม

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2554
     เป็นครั้งแรกที่ TEPCO เผยแพร่ภาพขณะที่คลื่น Tsunami สูง 15 m โจมตีโรงไฟฟ้า Fukushima เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 >>

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2554
     ครบรอบหนึ่งเดือนการเกิดแผ่นไหวรุนแรง ปรากฏว่าเกิดแผ่นดินไหว after shock แรงมากอีกครั้งขนาด 7.0 เมื่อเวลา 17.16 ตามเวลาท้องถิ่น ศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ Honshu ต่อมามีการปรับลดระดับเหลือ 6.6 อย่างไรก็ตาม มีการยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิต 4 คน >>
     มีการลำเลียงเครื่องปั๊มคอนกรีกยักษ์ใหญ่ Concrete Pump (Putzmeister) อย่างน้อย 5 เครื่อง จากอเมริกาและเยอรมัน ไปยังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima เพื่อปั๊มน้ำหล่อเย็นให้โรงไฟฟ้า แต่หากจำเป็นก็สามารถเปลี่ยนเป็นปั๊มคอนกรีกได้ >>
     Putzmeister Clip1>>      Putzmeister Clip2>>

วันอังคารที่ 12 เมษายน 2554
     ด่วน หน่วยงานด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ของรัฐบาลญี่ปุ่น ตัดสินใจยกระดับวิกฤตินิวเคลียร์ที่ Fukushima Daiichi จากระดับ 5 เป็นระดับ 7 สูงที่สุดเท่า Chernobyl แล้ว >>
     [ดูรายละเอียดของระดับความรุนแรง... IAEA Scale ระดับความรุนแรงของสถานะการณ์นิวเคลียร์]
     ประธานบริษัท TEPCO กล่าวขอโทษที่สร้างความยุ่งยากให้ประชาชนและสาธารณชนทั่วไป หลังจากที่ทางการยกระดับวิกฤตินิวเคลียร์ Fukushima ขึ้นเป็นระดับ 7 สูงสุด >> 
     รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่า ในช่วงเวลา 25 วันที่ผ่านมาหลังเกิดเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่ได้ทำการวัดปริมาณรังสีรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima จำนวน 53 แห่งในรัศมี 60 km พบว่าที่เมือง Namie ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงไฟฟ้า ห่างออกไป 24 km สามารถวัดปริมาณรังสีสะสมได้ถึง 34 milliseverts หรือเท่ากับประมาณ 314 milliseverts/yr ซึ่งสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้ 3 เท่า >>

วันพุธที่ 13 เมษายน 2554
     กระทรวงวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นแจ้งว่า ตรวจพบ Strontium-90 (ครึ่งชีวิตประมาณ 29 ปี) ในดินและพืชในปริมาณน้อย (3.3-32 Bq/kg ของตัวอย่างดิน) จาก 3 แห่งในเมือง Namie และหมู่บ้าน Litate ซึ่งอยู่บริเวณรอบๆโรงไฟฟ้าห่างออกไป 30 km และตรวจพบในปริมาณที่น้อยมากๆในอีกหลายเมืองที่ห่างออกไป 40-80 km Strontium-90 จะสะสมในกระดูกและทำให้เกิดมะเร็ง การยืนยันว่าตรวจพบ Strontium-90 แสดงให้เห็นว่า เชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์และแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วที่แช่ในบ่อเก็บเกิดความเสียหายแล้ว >>

วันพฤหัสที่ 14 เมษายน 2554
     TEPCO รายงานว่า ปริมาณรังสีในน้ำทะเลลดลงตามลำดับแต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง >>

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2554
     TEPCO รายงานว่า ได้ใช้หุ่นยนต์บังคับจากระยะไกล เข้าไปในชั้นที่ 1 ของอาคารเตาปฏิกรณ์ unit1 และ unit3 เมื่อวันอาทิตย์ เพื่อวัดอุณหภูมิ ความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจน และระดับปริมาณรังสี พบว่า
     ในอาคาร unit1 มีระดับรังสี 10-49 mSv/h, ความหนาแน่นของออกซิเจน 21% 
     ในอาคาร unit3 มีระดับรังสี 28-57 mSv/h, ความหนาแน่นของออกซิเจน 21%  
     สภาพเช่นนี้มีออกซิเจนพอและระดับรังสีทำให้คนงานสามารถเข้าไปทำงานได้ประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น >>
     นอกจากนี้ TEPCO ยังได้รายงานเรื่อง road map สำหรับการแก้วิกฤติครั้งนี้ว่าจะใช้เวลา 6-9 เดือน
     ช่วงแรก ใช้เวลา 3 เดือนในการทำให้ปฏิกรณ์ unit1,3 เย็นตัวลงไปอยู่ในสถานะเสถียรโดยการใช้น้ำฉีดเข้าไปที่ containment vessel และทำการบำบัดน้ำปนเปื้อนรังสีแล้วนำกลับเข้าไปในเตาปฏิกรณ์อีกเพื่อให้ความร้อนลดลง
     ช่วงที่สอง มีแผนการที่จะลดอุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงลงมาให้ต่ำกว่า 100 C และใช้วัสดุบางอย่างขนาดใหญ่คลุมอาคารเตาปฏิกรณ์เพื่อไม่ให้สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายออกไปสู่อากาศ >>

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2554 
     วันนี้ครบรอบ 6 เดือนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น




4.) ทางออกของเรื่องนี้
     ฝังมันซะ...ศาสตราจารย์ Michio Kaku นักฟิสิกส์ทฤษฎี (Theoretical Physicist) ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น จาก The City College of New York (CCNY) ผู้มีผลงานวิจัยเรื่อง String Theory ที่โด่งดังและเป็นผู้เขียนหนังสือฟิสิกส์ (เช่น Hyperspace, Physics of Invisibility, Physics of the Future ฯลฯ) ที่จัดเป็น The Best Seller ของ New York Times เป็นคนแรกๆที่เสนอให้ใช้ "Chernobyl Option" ตั้งแต่ 2-3 วันแรกที่เกิดเหตุการณ์ เพื่อจัดการกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima ให้เด็ดขาดไปเลย
     abc News (17 มีนาคม 2554)>>
     CNN (21 มีนาคม 2554) >>

FOX News (22 มีนาคม 2554)


   
5.) ผลกระทบด้านจิตวิทยาสังคมต่อคนไทย>>click

    เพื่อให้เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima ตั้งแต่เริ่มเกิดแผ่นดินไหวความแรง 9.0 ริกเตอร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554 สถานี NHK ได้เสนอเรื่องราวสรุปเข้าใจง่าย click>>

7.) สภาพเขตห้ามเข้าอยู่อาศัยรอบโรงไฟฟ้า Fukushima
     ในรัศมี 20 km จากโรงไฟฟ้า Fukushima เป็นเขตที่กำหนดให้ประชาชนต้องอพยพออกไปอยู่ในเขตที่ปลอดภัย และในรัศมี 20-30 km หากต้องการอยู่จะต้องอยู่แต่ในบ้านที่ปิดมิดชิด แต่ก็มีช่างภาพสมัครเล่นได้ตลุยเข้าไปในเขตอันตราย เพื่อสำรวจสภาพของเขตห้ามเข้าอยู่อาศัยรอบโรงไฟฟ้า โดยไม่ใยดีกับปริมาณรังสีที่ตัวเองได้รับ เพื่อให้เราได้เห็นสภาพว่าเป็นเช่นไร ขอขอบคุณอย่างสูง
     clip1>>               clip2>>


8.) การเฝ้าระวังการแพร่กระจายรังสีและผลกระทบเชิงจิตวิทยาต่อนานาประเทศ
13 มีนาคม 2554
     วิเคราะห์การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี >>
17 มีนาคม 2554
     คนต่างชาติจำนวนมากอพยพออกจาญี่ปุ่น >>
18 มีนาคม 2554
     คนไทยตื่นใช้เบตาดีนกันรังสี >>
     คนจีนตื่นกักตุนเกลือเพื่อใช้ป้องกันรังสี >>
19 มีนาคม 2554
     เมืองชายฝั่งตะวันตกของ US กังวลรังสีที่มาถึงแล้ว >>
22 มีนาคม 2554
     ประชาชนในประเทศจีนยังเข้าคิวซื้อเกลือเพื่อใช้ป้องกันรังสี >>
23 มีนาคม 2554
     ชาวประมงญี่ปุ่นกลัวรังสีในทะเล>>
     คนญี่ปุ่นกังวลอาหารปนเปื้อนรังสี >>
24 มีนาคม 2554
     ออสเตรเลียจำกัดการนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่น >>
     ฮ่องกง ban นมและผักนำเข้าจากญี่ปุ่น >>
26 มีนาคม 2554
     การเดินขบวนต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 120,000 คน ในเยอรมัน >>
29 มีนาคม 2554
     ไทยยกระดับตรวจเข้มอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น >>
30 มีนาคม 2554
     ตรวจจับการแพร่ในอากาศ USA>>
     RadSticker Dosimeter (FOX nEWS)>>
     RadSticker Dosimeter >>
     ชาวบ้านญี่ปุ่นที่อพยพออกจากเขต 20 km กังวลว่าจะไม่ได้กลับบ้าน >>
     การบรรยายที่ Iowa State University >>
5 เมษายน 2554
     EU ให้ตรวจหารังสีปนเปื้อนในอาหารทุกชนิดที่สั่งมาจากญี่ปุ่น >>
6 เมษายน 2554
     ปลาปนเปื้อนรังสีถึงอเมริกาแล้ว >>
8 เมษายน 2554
     จีนกังวลเรื่องน้ำปนเปื้อนรังสีที่ TEPCO ปล่อยลงทะเล >>
     จีนตรวจพบ I-131 ในอากาศ >>
     เกาหลีใต้ประท้วงญี่ปุ่นที่ปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีสู่ทะเล >>
     การอภิปรายจัดโดย CSIS บทเรียนที่ได้เพื่อมองไปข้างหน้า>>(1.42 ชั่วโมง)
9 เมษายน 2554

9.) Link ที่น่าส่นใจ

Local Time,Tokyo, JAPAN
Local Time, Bangkok, THAILAND

    4 ความคิดเห็น:

    1. สถานะการณ์ Nuclear Power Plant ที่ Fukushima เป็นเรื่องน่าสนใจและติดตามอย่างมาก เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อสังคมในระดับ Global

      โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ มันคืออะไร?
      เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เพราะอะไรมันจึงขัดข้อง?
      เมื่อขัดข้องแล้วทำไมมันระเบิด และระเบิดส่วนไหน?
      มีรังสีอะไรแพร่ออกมาจากการระเบิด? รังสีแพร่ทางไหนบ้าง?
      ประชาชนจะได้รับผลกระทบทางด้านรังสีมากน้อยแค่ไหน?
      อันตรายที่เกิดจากรังสี ""Fallout" เป็นอย่างไร?
      เรามีวิธีการรับมือกับ "Fallout" อย่างไร? ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
      ฯลฯ

      เป็นคำถามธรรมดาที่คนทั่วไปควรรู้คำตอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐาน ไม่ตื่นตระหนกโดยขาดสติ ผมว่า นักรังสีเทคนิค ถ้าถูกถามคำถามเหล่านี้ควรทำความเข้าใจต่อประชาชนได้แบบง่ายๆ

      ตอบลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ31 มีนาคม 2554 เวลา 22:19

      ขอบคุณค่ะอาจารย์ กำลังหารายละเอียดเรื่องนี้พอดี

      ตอบลบ
    3. ไม่ระบุชื่อ1 เมษายน 2554 เวลา 12:14

      ไม่อยากให้รังสีมาถึงบ้านเราเลย ทำอย่างไรดีถ้ามันมา กลัวง่ะ

      ตอบลบ
    4. ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

      ตอบลบ