ปีการศึกษา 2554 นี้ ซึ่งสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์
2555 เป็นอีกวาระหนึ่งที่ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคออกมารับใช้สังคม จำนวน 55 คน โอกาสนี้จะขอส่งบัณฑิตรังสีเทคนิคขึ้นฝั่งตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติมา
เคยเขียนไว้นานแล้วว่า
การเป็นบัณฑิตคือการเป็นผู้รู้ คือรู้ว่า เรารู้อะไร และไม่รู้อะไร
ถ้าไม่รู้อะไรก็บอกไม่รู้ ถ้าทำเป็นเหมือนรู้ทั้งที่ไม่รู้ก็จะกลายเป็นคนอวดรู้
หลอกตัวเองและหน้าจะแหกตอนที่เจอกับคนที่รู้จริงและรู้ทันเข้า ถ้าเขาคนนั้นเป็นผู้มีเมตตาธรรมก็ดีไปหน้าอาจไม่แหกมาก
เพราะฉะนั้นต้องระวังอย่าหลอกตัวเอง จึงขอย้ำกับบัณฑิตรังสีเทคนิคทุกคนเอาไว้ว่า
จงตระหนักเรื่องนี้ให้มาก และเรื่องอะไรที่ไม่จำเป็นต้องรู้ ก็อย่าไปรู้มันก็ได้ (ลองย้อนไปอ่าน
“ความรู้ที่
พอเพียง”)
พอเพียง”)
ส่วนเรื่องที่ต้องรู้
ก็ต้องรู้ ไม่ใช่ว่าเป็นบัณฑิตรังสีเทคนิคทั้งที พอไปทำงาน ยังอุตส่าห์โทรศัพท์มาถามอาจารย์ในเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพด้วยเอกซเรย์ว่าทำอย่างนี้ถูกไหม
เหมือนไม่มั่นใจ ทั้งที่เป็นเรื่องต้องรู้และต้องทำได้ ไม่งั้นก็จะสอบไม่ผ่าน
ไม่อาจจะเป็นบัณฑิตได้ คราใดก็ตาม หากเหล่าอาจารย์ได้รับการร้องขอเพื่อปรึกษาเรื่องทำนองนี้จะรู้สึกเสียใจมาก
หวังว่าคงไม่มีว่าที่บัณฑิตคนใดกำลังจะเป็นแบบนี้นะครับ
เมื่อขึ้นฝั่งแล้ว บัณฑิตรังสีเทคนิคทุกคนมีหน้าที่ที่สำคัญคือ
ต้องทำงานเพื่อความอยู่รอดของตัวเองอย่างถูกต้องในทุกจังหวะย่างก้าวของชีวิต การจะให้ตัวเองอยู่รอดได้
สังคมก็ต้องอยู่รอดอย่างถูกต้องด้วย เพราะเราไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้ มันฝืนธรรมชาติ สังคมจะรอดเราต้องเสียสละเพื่อสังคม และเราต้องไม่เป็นผู้ทำลายสังคมหรือชุมชนรังสีเทคนิคให้แหลกเหลวจนไม่เหลือแก่นสารให้ยึดเหนี่ยวได้
ดูตัวอย่างต้นไม้ เราจะเห็นว่าแม้แต่ต้นไม้ก็ไม่โผล่ขึ้นมาโด่เด่อยู่ต้นเดียว
เพราะการมีเพียงต้นเดียวแค่เจอลมพัดแรงๆมันก็จะหักโค่นลงมาได้
เราจึงเห็นแต่ต้นไม้ขึ้นมาเป็นกลุ่มหลายต้นสูงพอๆกัน เป็นสังคมของต้นไม้ แม้ในยามที่มีพายุพัดมาอย่างแรงๆสังคมต้นไม้ยังอยู่ได้อย่างสบาย
และประการที่สำคัญคือ เรายังไม่เคยเห็นต้นไม้ต้นใดทำลายสังคมของต้นไม้ของมันเองจนย่อยยับไป
เมื่อขึ้นฝั่งแล้ว บัณฑิตรังสีเทคนิคทุกคนต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในหลายๆมิติตลอดเวลาและตลอดชีวิต
เมื่อใดก็ตามที่หยุดการเรียนรู้เพิ่มเติม ไม่เกิน 5 ปี จะกลายเป็นนักรังสีเทคนิคตกรุ่นทันที
จงระวัง!! การเรียนรู้เพิ่มเติมในหลายมิติหรือ multi-direction ในความหมายที่ว่านี้
มิได้จำกัดอยู่เฉพาะศาสตร์ทางรังสีเทคนิคเท่านั้น จงเปิดมุมมองของเราให้กว้างออกไป
เปิดหัวใจรับเรื่องดีๆอย่างอื่นๆอย่างพอเพียง เรื่องนี้สำคัญมาก เราควรเรียนรู้ศาสตร์ด้านอื่นด้วย
เป็น value added ซึ่งเมื่อนำมาบูรณาการแล้วทำให้การทำงานสนุกและมีประสิทธิภาพสูง และยังทำให้การใช้ชีวิตในทุกช่วงของชีวิตเปี่ยมไปด้วยความสุข
โชคดีครับ
รศ.มานัส มงคลสุข
หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค
Related Links:
ความรู้ที่พอเพียง
ส่งบัณฑิตรังสีเทคนิคขึ้นฝั่ง ๒๕๕๓
บัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดล ๒๕๕๔
รศ.มานัส มงคลสุข
หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค
Related Links:
ความรู้ที่พอเพียง
ส่งบัณฑิตรังสีเทคนิคขึ้นฝั่ง ๒๕๕๓
บัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดล ๒๕๕๔
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบFB:..........
ตอบลบธารารัตน์ อ่อนอินทร์:.........
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆค่ะ อ.มนัส ติดตาม ประกายรังสีอยู่เรื่อยค่ะ ^^
Wilai Noiyom:...........
หนูชอบบทความดีๆนี้ของท่านอาจารย์มากๆค่ะ
Chol Rawe:............
เช่นเดียวกับ ค.1และ2 ค่ะ(ขออนุญาตลอก 555) ขออนุญาตแชร์ด้วยค่ะ
ธารารัตน์ อ่อนอินทร์:............
เรื่องนี้บอกนัยอะไรบางอย่างและให้ข้อคิด
Buasri Janin:..........
แต่คนมีอัตตาสูง เลยอยู่เป็นกลุ่มเหมือนตันไม้ไม่ได้ และที่สำคัญเห็นใครดีกว่าตนไม่ได้ (คนส่วนใหญ่) มันจึงเป็นเหตุผล (โง่ๆ-ไร้แก่นสาร) ที่ให้คนทำลายล้างกัน
เป็นบัณฑิตเป็นยากส์อ่ะ. เป็นแล้วรักษาความเป็นบัณฑิตยิ่งยากส์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆขึ้นอีก
ตอบลบ