(93,904 ครั้ง)
เมื่อวันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553 ผมได้มีโอกาสไปฟังการเสวนาเรื่อง การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ค.ศ. 2015 ที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วงเสวนาประกอบด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล นายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำอาเซียน มีประเด็นที่น่าสนใจ และมีผลกระทบโดยตรงอย่างแรงต่อ สถาบันอุดมศึกษาของไทย และยังรวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไปด้วย จึงอยากเก็บมาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อให้ชาวเราได้รับทราบว่า ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community คืออะไร? มีอะไรบ้างที่เป็นผลกระทบต่อชาวเรา?
เมื่อวันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553 ผมได้มีโอกาสไปฟังการเสวนาเรื่อง การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ค.ศ. 2015 ที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วงเสวนาประกอบด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล นายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำอาเซียน มีประเด็นที่น่าสนใจ และมีผลกระทบโดยตรงอย่างแรงต่อ สถาบันอุดมศึกษาของไทย และยังรวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไปด้วย จึงอยากเก็บมาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อให้ชาวเราได้รับทราบว่า ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community คืออะไร? มีอะไรบ้างที่เป็นผลกระทบต่อชาวเรา?
อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538) ลาว (2540) พม่า (2540) กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก
เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
(ก)มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
(ข)ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
(ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
(ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
ผลกระทบมีอะไรบ้าง?
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆ
MRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
1.วิศวกรรม (Engineering Services)
2.พยาบาล (Nursing Services)
3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4.การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5.แพทย์ (Medical Practitioners)
6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7.บัญชี (Accountancy Services)
MRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
1.วิศวกรรม (Engineering Services)
2.พยาบาล (Nursing Services)
3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4.การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5.แพทย์ (Medical Practitioners)
6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7.บัญชี (Accountancy Services)
นี่คือทั้งหมดที่ได้มีการเสวนากันในวันนั้น เลือกเอาเฉพาะประเด็นสำคัญ ชัดๆมาเล่าให้ฟังครับ ส่วนตัวผม เรื่องนี้ ได้นำเสนอในที่ประชุมภาควิชารังสีเทคนิคแล้ว เพื่อเป็นข้อมูล input ให้อาจารย์ได้รับทราบในเบื้องต้น และจะได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคในโอกาสต่อไป
มานัส มงคลสุข
Related Links:
นาวาตรี ดร.อิทธิ ดิษฐบรรจง อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
เสียงปาฐกถาพิเศษโดย คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ นายกประชาคมอาเซียนประเทศไทย ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2553 เรื่อง อุดมศึกษาร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่
2.ประชาคมอาเซียนกับวิชาชีพอาเซียน
3.ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
4.ความพร้อมไทยในประชาคมอาเซียน (24กพ2554)
โดยผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
5.รับมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 (20มิย2554)
เป็นความเห็นของตัวแทนพรรคการเมืองช่วงหาเสียงเลืกตั้ง
6.ท่องเที่ยวไทยครึ่งปีหลัง (25สค2554)
โดยนายกสมาคมโรงแรมไทย
7.แนะปรับตัวรับประชาคมอาเซียน 2558 (17กย2554)
8. 3 กรมจัดเก็บภาษีรับมือประชาคมอาเซียน (27กย2554)
9. ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ตอน1 ตอน2 ตอน3
10.ไทยกับประชาคมอาเซียน สองกูรูตรวจความพร้อม AEC ก่อนเปิดเสรี (9ตค2554)
11.การศึกษา: การสร้างประชาคมอาเซียน 2558
โดย สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สนง.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
12.ประชาคมอาเซียนที่คนไทยต้องรู้ จาก SpringNews (20 มีค 2555)
part1 part2 part3 part4 part5
13.วุฒิสภาสู่ประชาคมอาเซียน
14.การเตรียมความพร้อมสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิคสู่ประชาคมอาเซียน
15.รังสีเทคนิคไทยสู่ประชาคมอาเซียน: วิเคราะห์แบบ SWOT
เพลงชาติของประเทศในอาเซียน
ไทย>>>>>>>>>>
สิงคโปร์>>>>>>>>
อินโดเนเซีย>>>>>
มาเลเซีย>>>>>>>
ฟิลิปปินส์>>>>>>>
บรูไน>>>>>>>>>>
เวียตนาม>>>>>>>
ลาว>>>>>>>>>>
พม่า>>>>>>>>>>
กัมพูชา>>>>>>>>
จำนวนผู้อ่านบทความนี้ 093,904 ครั้ง (18ธค2553-5พย2556)
วันนี้ (วันที่ 14 ธค 2553)
ตอบลบผมได้นำเสนอเรื่อง ผลกระทบของประชาคม ASEAN ในปี พ.ศ. 2558 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคแล้ว คณะกรรมการวิชาชีพจะได้มีการพิจารณาเตรียมการรับมือเรื่องนี้ต่อไป
ถ้าดูสหภาพยุโรป...
ตอบลบคนยุโรปเดินเข้าออกประเทศนั้น-นี้ในยุโรปได้สบาย ใช้เงินสกุลเดียว มีศาลยุโรป คนยุโรปขึ้นศาลยุโรปเหมือนขึ้นศาลของประเทศตัวเอง สินค้าเสรี บริการเสรี การทำงานเสรี ฯลฯ เพราะฉะนั้น กรณี ASEAN community 2558 เท่าที่ฟังมานะครับ จะเดินหน้าคล้ายกับสหภาพยุโรป แต่ยังไม่ถึงขั้นมีเงินสกุลเดียวและศาลอาเซียน การศึกษาจึงเป็นไปได้ครับที่จะมีมาตรฐานอาเซียนแต่จะหนักเบาแค่ไหนต้องดูทิศทางจากกระทรวงศึกษา ส่วนการบริการด้านสุขภาพดูนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุขดีๆแล้วกัน
e-mail ความเห็นของอาจารย์ภัสสุรีย์จาก มน. ครับ (กำลังเรียนป.เอกที่ต่างประเทศ)............
ตอบลบสวัสดีค่ะ อ.มานัส..............
ขอบคุณมากนะค่ะ สำหรับข้อความที่เป็นประโยชน์ ที่ทำให้เราทราบทิศทาง(ที่แสนยากต่อไป)ในอนาคตค่ะ หนูเห็นด้วยกับอาจารย์โดยเฉพาะผลกระทบ (ช่วงท้ายๆของบทความ) เกี่ยวกับการปรับปรุงวิธีการเรียนใหม่ ทั้งเรียนภาษาอังกฤษ(ที่เราเรียนเป็นสิบ ๆ ปี แต่ยังใช้ไม่ได้เท่าไหร่นัก) และการเรียนแบบท่องจำ (โดยที่นิสิต/นักศึกษา เป็นฝ่ายรับเป็นส่วนใหญ่) อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้แบบเดิมก็มีข้อดีอย่างหนึ่งคือ ทำให้นิสิต ได้เรียนรู้ได้เร็วในระยะเวลาหนึ่ง (ดีกว่าที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองท้งหมด อย่างที่อาจารย์เคยพูดไว้ค่ะว่า พวกเราเรียนกันแบบเป็นซุปเปอร์งสี)
รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ
ภัสสุรีย์
ขอนำคำถามที่ถามผ่านทาง FB ของผมมาลงไว้ตรงนี้
ตอบลบTitipong Kaewlek:.....
วิชาชีพรังสีเทคนิค มีการพูดคุยเรื่องนี้กันหรือยังครับ อาจารย์
ธารารัตน์ อ่อนอินทร์:.....
ระยะเวลานานแค่ไหนเราจะมีชื่อปรากฎ ดังเช่น 7 สาขานั้นคะอาจารย์ :)
Nitasana Tularatrueangnam:..........
น่าจะเริ่มคุยกันบ้างนะครับ
Wilai Noiyom:.......
ถ้ารังสีเราจะเริ่มก้าวสู่ประชาคมอาเซียนท่านอาจารย์ว่าต้องเริ่มที่ตรงไหนคะ
คือหนูอบากรู้ว่า พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วจะเกิดผลกระทบอย่างไรหรอ? ทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองค่ะ
ตอบลบมองแบบรวมๆ ตามความเห็นของผมนะครับ
ตอบลบด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของ สินค้า แรงงานฝีมือ การบริการ การลงทุน เงินทุน..... เป็นตลาดเดียว ไม่มีการเก็บภาษีของสินค้าที่ชื้อขายกันในอาเซียน ทีนี้ก็อาจมีหลายคนกังวลว่า สินค้าของไทยจะขายไม่ออกเพราะต้นทุนแรงงานของเราสูงกว่าเพื่อนบ้าน
ผลกระทบด้านสังคมอาจมี ถ้าความรู้สีกว่าเป็นพลเมืองอาเซียน พลเมืองโลก ไม่เกิด ความเข้าใจวัฒนธรรมของกันและกันจะน้อย อาจเกิดปัญหาสังคมได้เมื่อต้องมาอยู่และทำงานร่วมกัน
การเมืองระหว่างประเทศน่าจะดีขึ้น เพราะหากย้อนไปดูกำเนิดของอาเซียนเมื่อ พ.ศ. 2510 นั้นเกิดจากการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาค มาภายหลังมาเน้นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ไม่ทิ้งเรื่องการเมืองความมั่นคง
วันที่ 6 กย 2554 มีการประชุมคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ที่กระทรวงสาธารณสุข วาระเรื่องพิจารณาให้ผมเล่าเรื่องมาตรการรองรับอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวสำหรับวิชาชีพรังสีเทคนิค ในฐานะที่ไปจุดประกายเอาไว้ตั้งแต่แรก (ปลายปีที่แล้ว) ก็เลยได้โอกาสร่ายยาวชั่วโมงนึง เพื่อทำความเข้าใจในภาพกว้างและแคบลงมาที่วิชาชีพว่าเราควรเตรียมการอะไรบ้าง ลองอ่านบทความ "ประชาคมอาเซียนกับวิชาชีพอาเซียน" เพิ่มเติมนะครับ
ตอบลบขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ เพราะมันช่วยหนูไว้เยอะเลย เพราะมันเป็นข้อสอบไฟนอลน่ะค่ะ ครูให้เอามาทำที่บ้าน แต่คิดไม่ออก ขอบคุฯอย่างสูงค่ะ ช่วยแอดมาตามเฟสบุ๊คนี้ด้วยน่ะค่ะ sunsanie sakseree
ตอบลบการแข่งขันของตลาดแรงงานก็คงสูงขึ้นอย่างแน่นอนสินะ
ตอบลบต่อไปนี้เราคงไม่ได้แข่งขันกับแค่คนในประเทศ60-70ล้านคนละ
แต่ต้องแข่งกับคนถึง600ล้านคน เยอะขึ้น10เท่า
ปัญหาการแย่งงานกันทำคงต้องเกิดขึ้นแน่เลยไช่มั้ย? พระเจ้า !!= =
อยากรู้ผลกระทบด้านการเมืองกับ ด้านเศรษฐกิจค่ะ ว่าถ้าประเทศไทยเปิดประเทศจริงๆๆ เราจะได้ผลประโยชน์ หรือเสียประโยชน์อะไรบ้างค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากครับที่นำข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้มาเผยแพร่
ตอบลบเราจะมีเเนวทางการเเก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อย่างไรบ้างครับ?
ตอบลบดีคับเราจะได้แรงงานถูก คนไทยไม่ต้องเล่นตัวอีกต่อไป
ตอบลบผมอยากถามว่าการศึกษาของเราขณะนี้ถือว่าดีไหมครับในระดับอาเซียน แล้วแรงงานของเราถือว่าดีไหนครับถ้าเทียบกับอาเซียน10ประเทศแล้วนะครับ
ตอบลบอยากทราบว่าชุมชนจะได้อะไรจากประชาคมอาเซียน ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนจะไปในทิศทางใหนโดยเฉพาะชุมชนชนบท
ตอบลบอยากทราบว่าเมื่อประเทศไทยได้เข้าสู่สมาคมอาเซียนจะส่งผลกระทบกับการค้าระหว่างประเทศอย่างไร บ้างค่ะ จะเอาไปเป็ฯการเขียนข้อสอบค่ะ
ตอบลบขอโทษนะค่ะ ท่านอาจารย์พอดีดิฉัน มีความสนใจที่จะทำ IS เรื่อง ปัจจัยที่ส่งต่อผลความพร้อม ในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน (AEC) ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร ควรจะมีกรอบแนวคิดอย่างไรค่ะ และมีคนเคยทำเรื่องนี้หรือเปล่าค่ะอ้างอิงทฤษฏีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม อย่างไรดี
ตอบลบหรือควรเปลี่ยนหัวข้อเรื่องไปเลยค่ะ TT รบกวนขอคำแนนำ
ขอถามหน่อยนะค่ะ
ตอบลบว่าการเปิดAEC มีผลกระทบต่อนักศึกษาที่กำลังจะจบจากสาขาวิศวะ
อย่างไรบ้างค่ะ
คือประมาณว่าอยากทราบว่าวิศวกรของเเต่ละประเทศใน AEC มีขีดความสามารถระดับไหน
เเล้ววิศวกรไทยต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ขอบคุณมากนะค่ะ
จากการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศจะเปิดเสรีทางการค้าในปี พ.ศ.2558 คิดว่าท่าอากาศยานทุกแห่งในประเทศไทยจะได้รับผลกระทบด้านบวกและด้านลบอย่างไรบ้าง และท่าอากาศยานของไทยควรจะมีกลยุทธ์อย่างไรที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียนได้
ตอบลบการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Landing charges, Airport Tax, Security Charges, Fuel Chargesและอื่นๆ โดยท่าอากาศยานจะเรียกเก็บจากลูกค้ากลุ่มต่างๆกัน และสนามบินแต่ละแห่งแต่ละประเทศก็คิดค่าธรรมเนียมแตกต่างกันนักศึกษาคิดว่าอัตราค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินมีผลต่อการใช้บริการของลูกค้ากลุ่มต่างๆหรือไม่ อย่างไร และอัตราค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกำหนดในปัจจุบัน คิดว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับประเทศที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี เป็นต้น ให้นักศึกษาวิเคราะห์พร้อมแสดงข้อมูลประกอบ
ตอบลบสังคม ประชาสร้างสรร แบ่งปันโอกาส..
ตอบลบlabel sales.
ผลกระทบด้านแรงงานในไทย น่าจะเป็นปัญหาไหมครับ เช่น แรงงานต่างด้าวน่าจะไหลเข้ามามากขึ้น ทำให้การแข่งขันด้านแรงงานสูงขึ้น แล้วตัว 300 บาทต่อวัน ขั้นต่ำนั้นมีผลต่อแรงงานไทยมากน้อยขนาดไหนครับ แล้วท่านคิดว่า ประเทศที่เราน่าลงทุน ควรเป็นประเทศใดครับ
ตอบลบชี้ประเด็นการปรับตัว และการเตรียมตัวเข้าสู่อาเซียนอย่างไร
ตอบลบอยากทราบว่าคนไทยต้องเตรียมความพร้อมยังไงบ้างในสังคม asean ในรื่องของ การศึกษา การค้าและวัฒนธรรม
ตอบลบอยากทราบความต้องการและสมรรถนะของบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อก้าวสู่เขตการค้าเสรีอาเซียนน่ะค่ะว่าจะต้องทำยังไงน่ะค่ะ
ตอบลบสวัสดีค่ะ คุณ อา ผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องประชาคมอาเซียน คือว่า หนู กำลังศึกษาอยู่ สาขา รปศ. และต้องการศึกษาเรื่อง ประชาคมอาเซียน จึงอยากทราบว่า
ตอบลบประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งนี้ ค่ะ
.................... ขอขอบคุณ ล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ค่ะ ...............................
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยให้ความสำคัญกับการมาถึงของประชาคมอาเซียนในปี 2015 หลายภาคส่วนทั้งเอกชน ราชการต่างเร่งเตรียมตัว เพื่อรองรับการมาถึงของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่เป็นที่น่าสงสัยว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2015 อาจไม่เกิดประชาคมอาเซียน หรือเกิดประชาคมอาเซียนแต่จะไม่เป็นไปตามแผนเดิมที่ประกาศไว้
ตอบลบhttp://www.chanchaivision.com/2014/07/AEC-2015-Unfinished-140720.html
การที่ประเทศจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลต่อการพัฒนาสังคมไทยอย่างไรคะ
ตอบลบการที่ประเทศจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลต่อการพัฒนาสังคมไทยอย่างไรคะ
ตอบลบ