วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558


(93,904 ครั้ง)
     เมื่อวันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553 ผมได้มีโอกาสไปฟังการเสวนาเรื่อง การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ค.ศ. 2015 ที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วงเสวนาประกอบด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล  นายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำอาเซียน มีประเด็นที่น่าสนใจ และมีผลกระทบโดยตรงอย่างแรงต่อ สถาบันอุดมศึกษาของไทย และยังรวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไปด้วย จึงอยากเก็บมาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อให้ชาวเราได้รับทราบว่า ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community คืออะไร? มีอะไรบ้างที่เป็นผลกระทบต่อชาวเรา?


ASEAN Community คืออะไร
อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก




 เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (.. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558











ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
  2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย              
          ()มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020 
         ()ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
          (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
          (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงา
     กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
      ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
  3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ผลกระทบมีอะไรบ้าง?
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆ


MRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ 
1.วิศวกรรม (Engineering Services) 
2.พยาบาล (Nursing Services) 
3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services) 
4.การสำรวจ (Surveying Qualifications) 
5.แพทย์ (Medical Practitioners) 
6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners) 
7.บัญชี (Accountancy Services)

นี่คือทั้งหมดที่ได้มีการเสวนากันในวันนั้น เลือกเอาเฉพาะประเด็นสำคัญ ชัดๆมาเล่าให้ฟังครับ ส่วนตัวผม เรื่องนี้ ได้นำเสนอในที่ประชุมภาควิชารังสีเทคนิคแล้ว เพื่อเป็นข้อมูล input ให้อาจารย์ได้รับทราบในเบื้องต้น และจะได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคในโอกาสต่อไป
มานัส มงคลสุข



Related Links:

นาวาตรี ดร.อิทธิ ดิษฐบรรจง อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

1."บทบาทประเทศไทยในการร่วมสร้างประชาคมอาเซียน" (15ธค2553)
      เสียงปาฐกถาพิเศษโดย คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ นายกประชาคมอาเซียนประเทศไทย ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2553 เรื่อง อุดมศึกษาร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่
      2.ประชาคมอาเซียนกับวิชาชีพอาเซียน
     3.ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
      4.ความพร้อมไทยในประชาคมอาเซียน (24กพ2554)
             โดยผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
      5.รับมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 (20มิย2554)
             เป็นความเห็นของตัวแทนพรรคการเมืองช่วงหาเสียงเลืกตั้ง
      6.ท่องเที่ยวไทยครึ่งปีหลัง (25สค2554)
       โดยนายกสมาคมโรงแรมไทย
      7.แนะปรับตัวรับประชาคมอาเซียน 2558 (17กย2554)
              8. 3 กรมจัดเก็บภาษีรับมือประชาคมอาเซียน (27กย2554)
               9. ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล   ตอน1   ตอน2   ตอน3
             10.ไทยกับประชาคมอาเซียน สองกูรูตรวจความพร้อม AEC ก่อนเปิดเสรี (9ตค2554)
             11.การศึกษา: การสร้างประชาคมอาเซียน 2558
                   โดย สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สนง.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
             12.ประชาคมอาเซียนที่คนไทยต้องรู้ จาก SpringNews (20 มีค 2555)
                   part1     part2     part3     part4     part5
             13.วุฒิสภาสู่ประชาคมอาเซียน
             14.การเตรียมความพร้อมสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิคสู่ประชาคมอาเซียน
             15.รังสีเทคนิคไทยสู่ประชาคมอาเซียน: วิเคราะห์แบบ SWOT
         




     เพลงชาติของประเทศในอาเซียน
     ไทย>>>>>>>>>>
     สิงคโปร์>>>>>>>>
     อินโดเนเซีย>>>>>
     มาเลเซีย>>>>>>>
     ฟิลิปปินส์>>>>>>>
     บรูไน>>>>>>>>>>
     เวียตนาม>>>>>>> 
     ลาว>>>>>>>>>>
             พม่า>>>>>>>>>>
     กัมพูชา>>>>>>>>

จำนวนผู้อ่านบทความนี้ 093,904 ครั้ง (18ธค2553-5พย2556)

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มอง ก.ช. อดีตสู่อนาคต


      (2,662 ครั้ง)
     ผมขอเล่าอะไรให้ฟังหน่อยครับ จากคนที่ทำงานทางการศึกษาในสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคและเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญตลอด milestones ของวิชาชีพรังสีเทคนิคนานกว่า 30 ปี คลุกคลีอยู่กับวิชาชีพนี้มา  เหมือนคนที่เดินเข้าไปในป่า แต่ไม่เห็นป่า เห็นแต่ต้นไม้ พูดง่ายๆคือหลงป่าหาทางออกไม่เจอนั่นเอง และเฝ้ามองลูกศิษย์ที่ออกไปรับใช้สังคม คนแล้วคนเล่าเป็นพันๆคน ทุกคนเป็นคนดีของสังคม ทุกคนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานตามวิถีทางของตัวเองทั้งราชการ เอกชน และธุรกิจส่วนตัว หลายคนศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอก เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยในสถาบันชั้นนำของประเทศ เช่น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ NECTEC MTECH สำนักงาน ปส. เป็นต้น บางคนศึกษาต่อเปลี่ยนสายงานเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ และใช้ชีวิตในต่างแดน ถึงอย่างไรก็ตาม ยังรู้สึกมีความผูกพันธ์ ห่วงใย และมีความสุขใจลึกๆครับ จึงขอให้คิดว่า ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นเหมือนกระจกเงาบานเล็กๆบานหนึ่ง ที่อยากเห็นวิชาชีพรังสีเทคนิคมั่นคง ก้าวหน้า เป็นที่พึ่งประชาชนได้ 

ผมได้ยินคำว่า สภารังสีเทคนิค มานานไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ตั้งแต่เริ่มกระบวนการการทำพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะฯ และประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งมีหลักการมุ่งเน้นที่ประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ จนมีการตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค (ก.ช.) ซึ่งมีอายุมาก็เกือบ 10 ปีเช่นกัน หมายความว่า ก.ช. เกิดขึ้นบนพื้นฐานความคิดของสภารังสีเทคนิคตั้งแต่แรกแล้ว มีการวิเคราะห์หลักการเหตุผลในรูปแบบสภาวิชาชีพตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว และต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของหลายภาคส่วน ได้แก่ ครูบาอาจารย์ที่คร่ำหวอดจำนวนไม่น้อย นักรังสีเทคนิคอวุโสจำนวนมาก เป็นต้น ผู้คนเหล่านี้เป็นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ มาร่วมด้วยช่วยกัน ด้วยจิตอาสา ทุ่มเทและเสียสละ ค่าตอบแทนคือ ความสุขทางใจที่ได้เห็นพัฒนาการของวิชาชีพรังสีเทคนิค และการที่ประชาชนได้รับบริการไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนที่เสียสละเหล่านี้สมควรได้รับการยกย่อง เคารพนับถือ ตามแบบวัฒนธรรมประเพณีอันงดงามของคนไทย

ในตอนนั้นต้องเป็น ก.ช. เพราะจำเป็นต้องให้กระทรวงสาธารณสุขอุปถัมภ์ด้านงบประมาณและสถานที่ในการดำเนินการไปก่อน กระทรวงสาธารณาสุขซึ่งดูแลด้านสุขภาพของประชาชน ก็ได้ทำหน้าที่ในการให้ประชาชนได้รับบริการด้านรังสีเทคนิคที่ดีด้วย โดยผ่านทางนักรังสีเทคนิคที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรฐานวิชาชีพ มี ก.ช. ทำหน้าที่กลั่นกรองคุณสมบัติและสมรรถนะของนักรังสีเทคนิคที่จะขอขึ้นทะเบียน ซึ่ง ก.ช. มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค กรรมการจากการเลือกตั้งกันเองของผู้มีใบประกอบโรคศิลปะ ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ เป็นองค์ประกอบที่ครบถ้วนพอเพียง และทำหน้าที่ตามมาตรา 23 แห่ง พรบ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 (ซึ่งมีหลักการว่า เพื่อส่งเสริมการประกอบโรคศิลปะให้มีความอิสระและคล่องตัวในการดำเนินงาน และเพื่อควบคุมมิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์หรือใช้วิชาชีพโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน) ตีความตามกฎหมายแล้ว ก.ช. ควบคุมมาตรฐานกระบวนการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ควบคุมมาตรฐานและกำกับนักรังสีเทคนิคในการให้บริการประชาชน คือดูตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง นั่นคือ หน้าที่ของ ก.ช. แล้วพวกเราคิดกันว่า ก.ช. ต้องทำอะไรครับ พวกเราบางคนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ก.ช. ผิดไปหรือเปล่า กรอบการทำงานของ ก.ช. ชัดเจนมาก ไม่ต้องเชื่อผม ลองไปศึกษาดูอย่างจริงจังด้วยตัวเองครับ อย่าฟังจากคำบอกเล่าของผู้อื่น ให้ใช้หลักกาลามสูตร แล้วจะทราบว่า ก.ช. จะไปทำอะไรที่แหกออกไปจากที่กฏหมายกำหนดไม่ได้
ตัวอย่าง Strategic Challenge ของภาควิชารังสีเทคนิค มหิดล

ผมได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง คือ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคเข้าปีที่ 5 แล้ว ตามที่พระราชกฤษฎีการะบุไว้ โดยหน้าที่หลักที่ผมรับผิดชอบอยู่คือ การผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ที่มีคุณภาพและสมรรถนะ สอดคล้องตามมาตรฐานของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ ก.ช. รวมถึงความคาดหวังจาก Stakeholders อื่นๆ เช่น ผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น ผมจึงตั้งปณิธานว่าจะพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่ขาดประชุม ก.ช. และถึงตอนนี้เข้าปีที่ 5 แล้วก็ยังไม่เคยขาดการประชุมแม้แต่ครั้งเดียวครับ เพราะได้ให้ความสำคัญกับ ก.ช. ไว้สูงมาก เนื่องจากมติของ ก.ช. เกือบทั้งหมด ส่งผลให้ผมต้องนำไปปรับให้เข้ากับงานที่ผมรับผิดชอบโดยตรง เช่น มติเรื่อง มาตรฐานและสมรรถนะวิชาชีพรังสีเทคนิค จรรยาบรรณวิชาชีพ การประเมินสถาบัน (หมายความว่า ก.ช. ต้องรับรองสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค บัณฑิตจึงจะมีคุณสมบัติในการสอบขอขึ้นทะเบียนได้) เป็นต้น แม้แต่ สกอ. ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ก็กำหนดให้มีความเชื่อมโยงกับมาตรฐานที่ ก.ช. กำหนด จะเห็นได้ว่าบัณฑิตรังสีเทคนิคต้องมี Competency ครบตามนี้ ไม่เฉพาะแค่นี้ ยังต้องมีการปรับตัวของ Competency ตลอด สังคมโลกกำลังมองกันว่า คนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นอย่างไร บัณฑิตรังสีเทคนิค นักรังสีเทคนิค (โดยเฉพาะที่ทำงานมานาน) ก็เช่นกันครับ ต้องปรับตัวให้สอดรับท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและของโลกอย่างรุนแรง เช่น การรวมตัวกันให้เกิด ASEAN Community ในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้น ดังนั้น คงพอมองเห็นภาพใหญ่ๆนะครับว่า กว่าจะได้นักรังสีเทคนิค ออกไปรับใช้สังคมนั้นมีข้อกำหนดและกระบวนการที่เป็นมาตรฐานมากมาย เพราะอะไรต้องเป็นแบบนี้ครับ ก็เพราะเราต้องการให้ประชาชนได้รับบริการด้านรังสีเทคนิคที่ดี (Customer Focus)
พ.ศ. 2550

ขอทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า ในส่วนของรังสีเทคนิคหลักสูตร 2 ปี (ต่ำกว่าปริญญาตรี) มีการผลิต 3 รุ่นในระหว่างปี 2516-2518 จำนวน 65 คน แล้วก็ต้องหยุดไป ที่อื่นๆมีการผลิตในส่วนนี้จำนวนมากมายจริงๆ ใช้เวลาผลิตแต่ละรุ่นแค่ 2 ปี เพื่อให้ใช้งานได้เร็วเป็นเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ จึงผลิตได้จำนวนที่มากกว่า ซึ่งครูบาอาจารย์รวมทั้งนักรังสีเทคนิคอวุโสทั้งหลายที่ผมรู้จักและทำงานด้านการศึกษาร่วมกัน ก็มองเห็นว่าเมื่อจะเดินหน้าให้มีใบประกอบโรคศิลปะ อาจจะเกิดปัญหาในอนาคตกับบุคลากรกลุ่มนี้ได้ ประกอบกับความรู้และเทคโนโลยีรังสีก้าวไปเร็วมาก ด้วยเจตนาที่ต้องการช่วยเหลือ เป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการศึกษาที่ตรงสายงาน เป็น Career Ladder ให้กับกลุ่มนี้ จึงได้เปิดหลักสูตรต่อเนื่องสองปีในปี 2537 เป็นแห่งแรกในประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ที่ทำงานรังสีเทคนิคอยู่แล้ว เข้ารับการศึกษาให้เป็นบัณฑิตรังสีเทคนิค แต่ต้องหยุดรับนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรต่อเนื่องนี้ในปี 2545 ซึ่งต่อมาต้องปิดหลักสูตรอย่างถาวรในปี 2550 เพราะจำนวนที่คัดเลือกเข้าศึกษามีจำนวนน้อยลง อาจเป็นเพราะสถาบันอื่นๆเปิดหลักสูตรต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และรับจำนวนได้มากกว่าจริงๆ บางแห่งรับได้ปีละเป็นร้อยคน แต่ปัจจุบันนี้ กระทรวงศึกษาธิการไม่อนุญาตให้ดำเนินการหลักสูตรต่อเนื่องแบบนี้อีกต่อไปแล้ว ทำให้สถาบันอื่นๆ ต้องปรับทิศทางหันมาเปิดหลักสูตรรังสีเทคนิค 4 ปี บางแห่งอยู่ในขั้นเตรียมการ บางแห่งพร้อมแล้วและอยู่ในขั้นตอนการรับรองสถาบันโดย ก.ช. แล้วเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ที่ยังไม่มีวุฒิปริญญาตรีด้านรังสีเทคนิคจำนวนหนึ่งที่ยังตกค้างอยู่จะทำอย่างไร ก.ช. ต้องเข้าไปดูแลไหม ตามความเห็นของผมคือ ต้องดูแล แต่ต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้

ที่เล่ามาทั้งหมดนั้น ต้องการชี้ให้เห็นชัดๆว่า บทบาทและหน้าที่ของ ก.ช.มีอะไรบ้าง หลักๆ คือ ควบคุมมาตรฐานกระบวนการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ควบคุมมาตรฐานและกำกับนักรังสีเทคนิคในการให้บริการประชาชน ตั้งแต่เริ่มมี ก.ช. จนถึงตอนนี้ ผมเห็นว่า ก.ช. ได้ทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย รักษามาตรฐาน ไม่เล่นพรรคเล่นพวก สร้างความสามัคคีในวิชาชีพ ไม่มีสองมาตรฐาน และผมก็มั่นใจว่าอนาคตของ ก.ช. ก็จะเป็นเยี่ยงนี้อย่างเหนียวแน่น ท่านไม่ต้องเห็นด้วยกับผม ความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างเป็นความงดงามและทำให้เกิดการพัฒนาถ้าเลือกไปใช้ให้เหมาะสม ความรู้จักควรไม่ควรเป็นคุณสมบัติของผู้ดี และเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาได้เช่นกัน พอเล่ามาถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึงคำว่า ประสบการณ์ในเชิงสร้างสรรค์ ผมหมายถึง ประสบการณ์ที่ดี ที่สร้างสรรค์ในเชิงบวก ที่ทำให้ผู้นั้นมีปัญญาเจริญงอกงาม ไม่ใช่ประสบการณ์ในทางเลวทรามใฝ่ต่ำ หากพิจารณาในแง่ของความเป็นไปได้ (Probability) ถ้าจะกล่าวว่า มีโอกาสน้อยที่ผู้มีประสบการณ์น้อยจะทำในสิ่งที่ควรทำได้เหมือนผู้มีประสบการณ์มาก เป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ 
พ.ศ. 2556
พ.ศ.2557
การมีนักรังสีเทคนิคที่ได้รับการสังเคราะห์อย่างที่เล่าให้ฟังข้างต้นทำให้สังคมอุ่นใจไหม ผมว่าอุ่นใจนะถ้าสังคมได้รับรู้ ขณะเดียวกันสังคมเริ่มยอมรับบ้าง ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะได้มีโอกาสพูดคุยกับคนทั่วไป มีคนรู้จักนักรังสีเทคนิคบ้างแต่ค่อนข้างน้อย หากใครจะลองถามประชาชนที่เดินผ่านมา 100 คนว่า รู้จักนักรังสีเทคนิคไหม ผลจะออกมาสักกี่คนยังสงสัยอยู่ อาจจะ 1 คน หรือ 2 คน เป็นโจทย์ที่ต้องการคำตอบ ประชาชนรู้แต่เพียงว่า ถ้าต้องเอกซเรย์ก็ไปที่ห้องเอกซเรย์ จะมีหมอมาเอกซเรย์ให้ คนทั่วไปส่วนใหญ่คิดว่านักรังสีเทคนิคเป็นหมอ ไม่รู้จักนักรังสีเทคนิค เมื่อวันรังสีเทคนิคโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สถานีวิทยุประเทศไทยขอสัมภาษณ์ผม ออกอากาศไปแล้วครับ สัมภาษณ์นานหนึ่งชั่วโมง แต่ตัดต่อนำไปออกอากาศ 15 นาที ก็ยังดีครับ ระหว่างสัมภาษณ์ พิธีกรไม่ทราบว่ามีนักรังสีเทคนิคทำงานเป็นผู้ถ่ายภาพเอกซเรย์ ผมก็เลยอธิบายไปแบบเต็มๆเลย แต่เสียดายไม่เอามาออกอากาศ ผมได้อธิบายให้ฟังตั้งแต่การเรียนรังสีเทคนิคในมหาวิทยาลัย จบเป็นบัณฑิต สอบขึ้นทะเบียน จนเข้าทำงานในสายวิชาชีพรังสีเทคนิค และไม่เฉพาะแค่ถ่ายภาพเอกซเรย์เท่านั้น นักรังสีเทคนิคยังทำได้สารพัด ทั้ง CT MRI US SPECT ฯลฯ ก็ยังพูดแดกไปว่า ลูกศิษย์จบแล้วทำงานได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์ที่เริ่มทำงานพร้อมๆกันเสียอีก พิธีกรยังร้องโอ้โฮ แล้วบอกผมว่าจะหาโอกาสนำสิ่งที่ผมพูด ไปพูดแนะแนวน้องๆที่อาจฟังรายการในเรื่องของการเรียนรังสีเทคนิค ผ่านทางวิทยุประเทศไทยต่อไปด้วย

วกกับมาเรื่องการก้าวเป็นสภารังสีเทคนิค ไม่มีอะไรมาก ช่วยกันร่างพระราชบัญญัติสภารังสีเทคนิค ซึ่งใช้เงินทุนไม่น้อย เตรียมเงินไว้ (แล้วใครเตรียม ใครจ่าย??)... 
     มองหลักการเหตุผล องค์ประกอบของสภาฯ หน้าที่ ฯลฯ มันมี Pattern ของมันซึ่งไม่แตกต่างจากวิชาชีพอื่น 
     เสร็จแล้วดำเนินการตามขั้นตอน ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วม (ใช้เงินงบประมาณแน่ๆครับ) อันนี้สำคัญมาก เป็นหลักการสำคัญละเลยไม่ได้
     อย่าลืมว่า จะไม่มีมีร่างพรบ.ที่เราทำฉบับเดียว จะต้องมีคู่เทียบแน่ๆ 
     ต่อไปจะ Lobby ยังไงกันก็ทำไปครับ เข้าสภาผู้แทนราษฎร จนสุดท้ายสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบ ง่ายๆครับ กระบวนการนี้ใช้เวลา 3-5 ปีไหม 
     เมื่อเป็นสภาฯแล้ว เราต้องดูแลกันเอง งบประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขเคยสนับสนุนอยู่ก็หยุดไป ผู้จะขึ้นทะเบียนหรือต่ออายุต้องจ่ายเงินค่าขอขึ้นทะเบียนสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้สภาฯมีเงินในการดำเนินการกิจการสภาฯได้ แต่การเป็นสภาฯมันชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีพลังมากขึ้น

อย่างไรก็ตามพื้นฐานการคิดเรื่องนี้สำคัญมาก การเดินหน้าต่อไปสู่สภาฯ  ต้องไม่ลืมว่าเราต้องมองประโยชน์ที่ประชาชนผู้รับบริการจะได้รับเป็นสำคัญ เป็นสภารังสีเทคนิคแล้วประชาชนผู้รับบริการจะได้อะไรที่ดีขึ้นกว่าเดิม ตอบได้ไหมครับ เราต้องช่วยกันมองตรงจุดนี้ให้แตกฉาน เพื่ออธิบายต่อสังคมให้ได้ มองแบบนี้เป็นการมองแบบให้ (Give) อย่ามองเน้นไปที่ว่าเราจะได้อะไรเพียงอย่างเดียว เพราะมันมองง่ายครับแต่ไม่สวยเหมือนคนตัวเอียงไปทางเห็นแก่ตัว เป็นการมองแบบจะเอา (Take) ถ้าเราได้ทำงานอย่างมีความสุขพอไหมแม้จะรู้สึกว่าปิดทองหลังพระ ถ้าเราทำใจไม่ได้ แล้วยังคงมองแค่ตัวเองว่าจะได้อะไร เรายังพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำให้เราได้อะไรมากยิ่งขึ้นจากการเป็นสภาฯ โดยไม่นึกถึงประชาชนผู้รับบริการ ผมคิดว่า เราอย่าเพิ่งเดินหน้าไปสู่สภารังสีเทคนิคเลย เราจะถูกดูแคลนและสังคมคงไม่สบอารมย์นักหรอก อยู่กันแบบนี้ไปก่อน เป็นคณะกรรมการวิชาชีพฯไปก่อน เมื่อทำใจให้พร้อมที่จะทำเพื่อประชาชนผู้รับบริการได้แล้ว จึงค่อยเดินหน้าต่อดีไหมครับ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สภาวิชาชีพรังสีเทคนิคเพื่อใคร?


(2,803 ครั้ง)
     ย้อนหลังไปเกือบ 5 ปีแล้ว เมื่อครั้งการประชุมวิชาการรังสีเทคนิคประจำปี 2549 ที่พัทยา เมื่อวันที่ 26-28 เมษายน 2549 ซึ่งเป็นการประชุมครังที่ 14 หรือเรียกว่า 14th TSRT มีเรื่องที่ประวัติศาสตร์ชาวรังสีต้องจารึกไว้ว่า....
วันที่ 26 เมษายน 2549 เวลาเช้า เป็นครั้งแรกที่นายกสมาคมฯ 5 สมาคมฯที่เกี่ยวกับรังสีเทคนิค คือ 1.สมาคมรังสีเทคนิดแห่งประเทศไทย 2.สมาคมรังสีการแพทย์แห่งประเทศไทย 3.สมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิครามาธิบดี 4.สมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิค รพ.จุฬาลงกรณ์ 5.สมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิค ม.สงขลานครินทร์ มาร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ด้วยการแสดงมุมมองเกี่ยวกับอนาคตของรังสีเทคนิคไทย ต่อหน้าชาวเราที่เข้าร่วมประชุมกว่า 350 คน ซึ่งวันนั้นสมาคมฯเชิญผมให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย คณะกรรมการผู้คิดโปรแกรมนี้บอกผมว่า สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยอยากเห็นความมีเอกภาพในวิชาชีพ อยากเห็นว่า "รังสีเทคนิคไทย รวมใจเป็นหนึ่งเดียว เหลียวแลชาวประชา" จึงขอเริ่มต้นก้าวเดินไปสู่จุดหมายของการรวมหัวใจด้วยการเชิญทุกสมาคมฯมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์
ก่อนหน้าจะถึงวันนั้น เมื่อสมาคมฯเชิญผมให้เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ผมรับเชิญทั้งที่รู้สึกกังวลใจมาก ว่าผลมันจะออกมาอย่างไร เพราะก่อนหน้านั้น บอกตามตรงว่า มีกระแสความหวาดระแวงซึ่งกันและกันแว่วมาให้ผมและชาวเราได้รับรู้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีการตอบรับร่วมอภิปรายของนายกสมาคมฯทุกท่าน ผมก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาขั้นหนึ่ง และการปรากฏตัวของนายกสมาคมฯทุกท่าน (ยกเว้น นายกสมาคมรังสีการแพทย์แห่งประเทศไทยซึ่งได้ส่งผู้แทนเข้าร่วม เพราะติดภาระกิจสำคัญจริงๆ) ยิ่งทำให้รู้สึกดีขึ้นมาก และที่สุด เมื่อการอภิปรายเริ่มขึ้นผมและชาวเราที่ร่วมประชุมวันนั้น ก็รู้สึกได้ว่ามีรังสีแห่งความสมานฉันท์แผ่อบอวลห้องประชุม ทำให้ผมโล่งอก และคิดว่าต้องเกิดการก้าวเดินไปข้างหน้าสู่การหลอมรวมหัวใจให้เป็นหนึ่งเดียวอีกอย่างแน่นอน
พ.ศ. 2549..คำอภิปรายบางตอนเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549
 
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> 

"อนาคตรังสีเทคนิคไทยในมุมองของผู้ประกอบวิชาชีพ"


รศ.มานัส มงคลสุข (ผู้ดำเนินการอภิปราย)
วันนี้ 5 สมาคมมารวมกันอยู่ที่นี่ ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ ว่าวันนี้เป็นวันที่มีความสำคัญมาก ไม่ทราบว่าวันนี้จะเกิดอะไรขึ้น.......
ที่ผ่านมาเนี่ย เราก็จะเห็นว่า วิชาชีพของเราเริ่มที่จะมีอะไรเป็นปึกแผ่นบ้างแล้ว เพราะคนเราเกิดมาอายุ 40 นิดๆ มันก็คงเริ่มจะเห็นแล้วว่า หัวหรือหางจะเป็นอย่างไร เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ขึ้นบน หรือลงล่าง นะครับ เพราะฉะนั้น อยากจะบอกว่า วันนี้เนี่ย ต้องขอชื่นชมคนที่ทำโปรแกรมนี้.......
มุมมองอนาคตรังสีเทคนิคไทย คือบางทีเรียกรังสีเทคนิคไทย บางทีเรียกรังสีการแพทย์ไทย ผมคิดว่าตรงนี้ชื่อคงไม่ค่อยมีความสำคัญ หรือมีความหมายมากกว่า ว่าเราคิดกันอย่างไร นะครับ เพราะงั้น บางทีผมจะใช้คำว่า ชาวเรา นะครับ คือชาวเราเนี่ย เรามองอนาคตวิชาชีพของเราเป็นอย่างไรในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ

นายพันธ์ทิพย์ สงเจริญ (นายกสมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิครามาธิบดี)
รังสีเทคนิครามาธิบดี เริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2513 รวมอายุ 35 ปี ทุกคนก็จบการศึกษามาประมาณเป็นตัวเลขก็ ประมาณซักเกือบ 3000 คนได้ ...แล้วมันก็ก่อเกิดอย่างที่ท่านอาจารย์มานัสได้พูดก็คือ ผมก็ไม่ทราบว่าไอ้ความเป็นมาของชื่อตำแหน่งเนี่ย ที่มันเป็นความหลากหลายของชื่อตำแหน่งเนี่ย มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไง
แต่ในมุมมองของผมก็มีความรู้สึกว่า มันเหมือนกับว่ามันไม่มีสภาวิชาชีพทางด้านนี้โดยตรง และมันก็เหมือนชนกลุ่มน้อย เพราะรังสีเทคนิคทั่วประเทศเนี่ย คาดว่า ถ้ารวมเป็นตัวเลขตรงๆทั้งหมดทุกสถาบันทั่วประเทศ ณ วันนี้ก็น่าจะประมาณหนึ่งหมื่นคน ขณะที่รังสีเทคนิคของเราเนี่ยมันเป็นอะไรที่วิวัฒนาการที่ช้า แต่ขณะเดียวกัน มีสิ่งสวนทางอยู่อย่างคือ เทคโนโลยีทางด้านรังสีเทคนิคเนี่ยมันไปอย่างรวดเร็วมาก ป้ายซีที ป้ายเอ็มอาร์ไอ ใหญ่กว่าป้ายโรงพยาบาลด้วยซ้ำ และขณะเดียวกันถ้าเราไม่มี...
การเติบโตแบบไม่มีทิศทาง คือหมายความว่า ถ้าตราบใดที่มันไม่เกิด การรวมตัวหรือเป็นสภาวิชาชีพอะไรเกิดขึ้นเนี่ย ตรงเนี้ยมันเหมือนทิศทางไม่มี มันไม่ได้ถูกกำหนด เพราะฉะนั้นต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเติบโต ในวิถีของตัวเอง โดยตัวเอง มันก็ไม่มีมาตรฐานอะไรไปรองรับ ทุกคนวิ่งหาตำแหน่งกันเอง ทุกคนหาจุดยืนของตัวเองโดยตัวเอง พอมีการเรียนต่อเนื่องขึ้นมา ก็ยังมีปริญญาที่แตกต่างกันอีก นี่มันก็ทิศทางคนละทิศคนละทางอีก ซึ่งมันก็เหมือนกับว่า สิ่งที่ต้องการที่แท้จริงมันก็ยังไม่ปรากฏขึ้นมาอีก.

นายสมศักดิ์ รุ่งพาณิช (ผู้แทนนายกสมาคมรังสีการแพทย์แห่งประเทศไทย)
กราบเรียนท่านอาจารย์นะครับ และเพื่อนๆที่รักทุกคน ร่วมชะตากรรมชาวรังสีการแพทย์ รังสีเทคนิค นะครับ จะเป็นรังสีการแพทย์ หรือรังสีเทคนิค ก็คือกลุ่มวิชาชีพรังสี ผมอยากจะเน้นตรงนี้มากกว่าคือกลุ่มวิชาชีพรังสี ซึ่งให้บริการกับตัวประชาชน ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เราจะพูดไม่ได้เลยว่าเราอยู่ในสายงานของสาธารณสุข สายผู้ดูแลสุขภาพของชาวไทยนะครับ เราจะมีกันเพียงน้อยนิด เหมือนกับที่รังสีเทคนิครามาฯนายกบอก เราเหมือนเพชรในตรมนะครับ จะเห็นว่าล่าสุดของหน่วยบริการที่มีเอกซเรย์ใช้ คือเราเป็นผู้ใช้ เราเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี นะครับ จะเห็นว่าประเทศไทยเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีซะส่วนใหญ่ ทำไมถึงเป็นตรงนั้น เนื่องจากว่าคุณภาพของเราเนี่ย ความทัดเทียมนะครับ ทุกด้าน เราบอกว่าเราจะเป็นประเทศที่พัฒนาแต่ว่าเรากลับถูกกรอบจำกัดเอาไว้
มุมมองของผมมีหลายด้านหลังจากที่ผมได้รับหัวข้อนี้ประมาณ 1 สัปดาห์ พอดีพี่แดงสุขใจนายกสมาคมฯติดภาระกิจ ดูภาระกิจแกก็เยอะจากการที่ทำงาน contact กับแกมา 7-8 ปี รู้สึกว่าภาระกิจของแกค่อนข้างเยอะ ก็รับมอบหมายมาก็คุยกันว่าจะไปทิศทางไหน เป็นอาชีพกับวิชาชีพนี่แตกต่างกันนะครับ อาชีพนี่ใครจะทำอะไรก็ได้ คุณเป็นรังสีอยู่นี่คุณไปค้าขายนั่นก็เป็นอาชีพพ่อค้า นะครับ อาชีพนักธุรกิจ คุณอยากเป็นเซลขายฟิล์มแต่คุณจบรังสีเทคนิคหรือว่าเป็นการขายเครื่องก็เป็นอาชีพนักธุรกิจ อาชีพพ่อค้า แต่ถ้าเป็นวิชาชีพคุณต้องเรียนและต้องเป็น field ตรงนั้นคุณถึงจะทำได้ ตามกรอบแห่งกฎหมายแห่งวิชาชีพ ผมมีข้อมูลที่น่าสนใจนะครับ ใบประกอบโรคศิลปะฯของเราเนี่ย ผมเอาตัวเลขกลมๆนะครับเมื่อกี๊เจอกับท่านอาจารย์ ประมาณ 2,500 กว่าใบ ออกไปแล้ว แต่การเข้าสู่สายงานมันยากเย็นเข็ญใจ จากเจ้าหน้าที่เป็นนักรังสี หรือจากน้องที่เป็นนักรังสีจบเพียวๆมาจะเข้าสู่วงราชการอะไรแบบนี้ ก็มีขีดจำกัดว่า รับได้เท่านี้นะ อีกส่วนตรงนี้ไปทำงานอย่างอื่น.....
เราจะทำอย่างไรให้พวกเราได้โตไปพร้อมๆกัน นะครับ เค้าบอกว่า มนุษย์เราทุกคนเนี่ยพัฒนาได้จริงไหมครับ พัฒนาหลายๆด้าน มุมมองของผมในการพัฒนาคนเนี่ยไม่ใช่การศึกษาอย่างเดียว การศึกษาคือการพัฒนาทางสายวิชาการ สมมติว่าเราอยากจะรู้เรื่องรังสีให้มันเข้มข้นเราก็ไปเรียนรังสีให้มันเข้มข้น เป็นผู้ปฏิบัติที่เข้มข้นในสายวิชาการ สมมติเราอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน เราไม่ได้ทำงานด้านรังสีอย่างเดียว เราเป็นทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนบางคนเป็นนักบริหารในโรงพยาบาลด้วย ได้รับมอบหมายในงานต่างๆ เหมือนกันโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปก็เหมือนกัน คุณนั่งเป็นหัวหน้าแผนกเป็นนักรังสีการแพทย์คุณอาจต้องไปเปิดซอง คุณอาจจะต้องกำหนด specification ในการตรวจเครื่อง นั่นคือหลักในการบริหาร คุณต้องพัฒนาตรงนี้ขึ้นมา ในเมื่อเราโตขึ้น วิชาการเราก็ต้องแน่น เราต้องสร้างศักยภาพตัวของเราขึ้นมาก่อน เรามองตัวของเราก่อนว่าเรามีคุณค่า มีประโยชน์ต่อสังคม ต่ออุดมการณ์ของเราขนาดไหน แล้วถึงจะมองอนาคต.

วิโรจน์ ปัญญานันทกิตต์ (นายกสมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิค ม.สงขลานครินทร์)
ขอราบงานตัวนะครับ ผมสิโรจน์ ปัญญานันทกิตต์ จากรังสีเทนิค มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์ ในมุมมองของกระผม ขอเรียนดังนี้นะครับ ว่าผมจะมองอนาคตรังสีเทคนิคของเราเป็น 3 มิติ
มิติแรกคือ มิติความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาเร็วมากจนบุคลากรของเรานี้ไม่ได้ตามทันนะครับ เพียงแต่ก้าวตามเทคโนโลยีเท่านั้น เพียงแต่ก้าวตามและได้สัมผัส ได้ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต้องขอขอบคุณทางสมาคมที่ได้จัดให้มีการประชุมวิชาชีพทางรังสีเกิดขึ้นมาทุกปี รวมทั้งสถาบันทางการศึกษาหลายๆแห่งที่ร่วมกัน ให้พวกเราวิชาชีพทางรังสีที่ได้มาพยายามเดินก้าวตามให้ทันเทคโนโลยีนี้
ส่วนอีกมิตินึงคือมิติกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพงาน เราไม่สามารถที่จะแบ่งได้ว่าโรงพยาบาลเล็ก หรือโรงพยาบาลใหญ่ จะต้องทำงานทางด้านกิจกรรมคุณภาพงานนี้ จะขอกล่าวคำอ้างของท่านราษฎรอวุโสท่านอาจารย์ประเวศ วสี ที่ท่านบอกไว้ว่า "ยุคของการบริการสาธารณสุขยุคใหม่นี้ เป็นการบริการสาธารณสุขที่เน้นหัวใจของความเป็นมนุษย์" ที่มันตรงกับ concept ของงานที่เราจัดมาวันนี้ ตรงกันมาก ที่ว่า "รังสีเทคนิคไทย รวมใจเป็นหนึ่งเดียว เหลียวแลชาวประชา" นี่ผมดู concept นี้ผมก็ทึ่งในคนที่คิด concept นี้ เข้ากับยุค เข้ากับเหตุการณ์ ซึ่งความก้าวหน้าทางด้านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพงานนี้มันต้องก้าวตามไปด้วยกับเทคโนโลยี อย่าให้เทคโนโลยีนำความลำบากมากับให้ผู้ใช้บริการ
ส่วนอีกมิตินึงคือมิติของความก้าวหน้าทางวิชาชีพ หลายๆคนก็ได้พูดมาเลยนะครับว่า ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของเราจำกัดอยู่ มีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเงาบังอยู่ แต่ผมคิดว่ามันก็มีบางอย่างที่ทำให้ท้องฟ้าเริ่มเปิดแล้ว โดยที่เราชาวรังสีมีวัคซีน ผมคิดว่าเป็นวัคซีนนะครับตัวนี้ ไอ้วัคซีนที่ผมบอกก็คือ ใบประกอบโรคศลปะทางรังสี ก็ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการที่ได้จัดทำ ผลักดันให้เกิดวัคซีนตัวนี้ขึ้นมา เพื่อให้ชาวประชารังสีของเรานี้จะได้มีวัคซีนป้องกันสำหรับประกอบวิชาชีพ.

นายปิยะศักดิ์ น้อยอยู่นิตย์ (นายกสมาคมศิษย์เก่ารังสีเทคนิค รพ.จุฬาลงกรณ์)
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์มานัสนะครับ ขอบคุณท่านนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ตลอดจนท่านประธานฝ่ายวิชาการนะครับ และก็ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าตื่นเต้นนะครับ ผมรู้สึกว่า ผมเป็นน้องใหม่ในวงการนี้เลยมั้งครับ จุฬาฯเพิ่งจะมาได้ 5-6 ปีนะครับ
วันนี้ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีนะครับ ผมมีความคิดอยู่แล้วตั้งแต่ตอนที่เข้ามารับตำแหน่งนายกสมาคมฯว่า มันไม่น่าจะกระจัดกระจายกันแบบนี้ จะต้องมีอะไรที่รวมกันให้ได้เป็นหนึ่งได้นะครับ พอได้มีโอกาสเชิญมาอภิปรายก็เลยต้องทำการบ้านเยอะนิดนึง เลยไปสอบถามจากกลุ่มพวกเรานี่แหละครับ แต่ว่าของผมค่อนข้างจะโชคดีว่าได้เจอกับทั้งกลุ่มที่อยู่ในโรงพยาบาลที่ high technology โรงพยาบาลสังกัดทบวง โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ โรงพยาบาลเอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตลอดจนวิชาชีพเดียวกันที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข คือระดับรากหญ้าเล็กๆเราก็ได้ไปสัมผัสมา ผมก็ลองถามเค้าว่าคนทั้ง 5 กลุ่มนี้ เค้าคิดว่านับจากวันนี้ไปอีกซัก 20 ปี 10 ปี ข้างหน้า รังสีเทคนิคเนี่ยอนาคตมันจะเป็นอย่างไง
เริ่มต้นเลยทุกคนบอกว่าจะต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง วิชาชีพเราหยุดแค่นี้ไม่ได้ เมื่อก่อนผมเป็นคนหนึ่งที่จบอนุปริญญา ผมคิดว่าพอแล้ว แค่นี้ผมทำงานได้ผมใช้เครื่องมือเป็น พอถึงจุดนึงผ่านมาสัก 5 ปี ผมรู้ว่ามันไม่พอต้องมีการศึกษาต่อเนื่อง และ ณ วันนี้ผมก็จบปริญญาตรี ผมก็คิดว่ามันไม่พอแล้ว เวลาไปประชุมหรือไปเสนอความคิดกับใคร คนอื่นที่เค้ามีความรู้ความสามารถมากกว่านี้เนี่ย ไม่จำเป็นต้องเป็นปริญญาโท อันที่สองคือการพัฒนาตนเองเมื่อกี้ศึกษา ศึกษาแล้วคุณมาหยุดอยู่กับแผนก มาอยู่ที่โต๊ะคุณ ใบ certificate อยู่ในกรอบแขวนไว้แต่คุณไม่ได้ใช้มัน มันไม่มีประโยชน์ คุณต้องเอามาพัฒนาตัวคุณแล้วเอามาใช้จริงๆ ใช้ให้ได้ให้เห็นผลจริงๆ อันที่สาม เมื่อเราศึกษาและพัฒนาตนเองแล้ว เราก็ต้องก้าวไปสู่ในจุดที่เราต้องร่วมวางแผนการจัดซื้อ

นายสละ อุบลฉาย (นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย)
ครับก็ขอสวัสดีเพื่อนๆชาวรังสีเทคนิคทุกท่านนะครับ ก็ในนามนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ขอต้อนรับพวกเราครับ ก็ดีใจเป็นอย่างมากครับ จริงๆการเชิญใน section นี้ที่เกิดขึ้นเนี่ย ก็จากที่ผมได้ไปพูดคุยกับสมาชิกรังสีเทคนิคนะครับ ซึ่งพวกเราทั้งหมดนะครับไม่ว่าจะสังกัดอยู่ที่ไหนเนี่ย ก็ได้คุยเป็นส่วนหนึ่ง ก็มีความคิดว่าเจตจำนงค์ที่เราควรจะตั้งไว้สักครั้งเถอะ......พอเราพูดคุยในคณะกรรมการ เอามาเสนอในคณะกรรมการ กรรมการก็เห็นพ้องต่อที่ผมไปเสนอ น่าจะมีการเชิญนายกสมาคม ซึ่งพวกเราเป็นพวกเดียวกัน อยู่ในกลุ่มอาชีพที่ต้องยึดถือใบประกอบโรคศิลปะใบเดียวกัน มาตรฐานก็ควรจะเป็นแนวทางเดียวกัน เราก็มีการเชิญพูดคุยในวันนี้เกิดขึ้น นะครับ
.....ตอนนั้นเราอายุรังสีเทคนิคเกิดขึ้นในประเทศไทยก็น่าจะ ถอยหลังไปหน่อย อาจจะอายุเป็นวัยรุ่นนิดนึง เบษจเพศ 25-30 อะไรทำนองนี้ครับ ตอนนี้ผมว่ามันโตแล้วนะครับ ตอนนี้ผมว่าอายุก็แก่แล้วรังสีเทคนิคเกิดขึ้นมาเนี่ย ถ้านับปี 11 จนถึงตอนนี้ปี 49 ผมว่าก็ 38 แล้ว วัยที่เราพอที่ น่าจะเป็นหลักได้แล้ว เสานี้น่าจะปักยึดแน่นได้ และให้ผู้ที่ไล่ตามมาก็มาเกาะเสาตัวนี้ ผมว่าผู้ที่มาทำงานสมาคมทุกคนก็คงหวังที่จะทำอันเนี้ยฝากไว้เพื่อให้วิชาชีพเนี่ยเป็นหลัก มีหลักเดียวครับ และทุกคนก็ยึดหลักตัวเนี้ย ว่าหลักตัวเนี้ยเขียนว่าอะไร และก็ปฏิบัติตามใบประกอบฯ ที่ว่าเมื่อกี๊วัคซีนที่ใช้ฉีดเข้าไป หลักนี้จะมีวัคซีนอยู่ครับ เป็นตัวคุ้มกัน ...คิดว่าเหมือนคัมภรีย์ใบนึงซึ่งอยู่ในหลักเนี้ย ทุกคนต้องใช้หลักเดียวกันนะครับ ผมก็อยากจะเปรียบเทียบง่ายๆ
ทีนี้ลองมองดูซิครับว่ารังสีทุกคนที่เกิดมาในปี 11 เนี่ยจนถึงปัจจุบันนี้ ถามว่าพี่น้องกันใช่ไหมครับ คลานตามกันแตกลูกหลานไป มันน่าจะมารวมตัวกัน ตั้งแต่ปี 11 มา มีพี่คนโตไล่มา อาจารย์ชัชวาลย์ อาจารย์วิจารณ์ นะครับ ซึ่งตอนนั้นอาจารย์วัชรี ผมบอกได้เลยว่าอาจารย์หรรษา ซึ่งเป็นแนวผู้ก่อตั้งให้เกิดพวกเราที่มานั่งอยู่ที่นี่ทุกคนนะครับ ก็ที่ยังไม่เอ่ยนามก็มีเยอะแยะ มีพี่เฉลิมที่ผมจำได้รุ่นแรกๆนะฮะ พี่เชาวนาและสมัยก่อนมีชื่อพี่ชวลิตก็ขอโทษด้วยอ้างชื่อท่านนะครับ จนมายุคหลังๆก็เกิดขึ้นมามากมาย จนมีคณาจารย์ได้ชี้แจงเพื่อช่วยหาทางว่าเป็นอนาคตในข้างหน้านี้จะได้กำหนดทิศทางต่อไปเพื่อเจตจำนงค์ที่เราตั้งไว้ เมื่อกี๊ก็ยังหาอยู่ผมก็ บอกว่ารังสีเทคนิคไทยรวมใจเป็นหนึ่ง เหลียวแลประชา อันนี้ที่ตั้งนี่นอกจากเราจะทำแล้ว หน้าที่ของเรารวมกันแล้ว ก็คงเพื่อไปบริการชาวประชา ก็ขอให้ทุกคนตั้งใจว่าต่อไปนี้ น่าจะเป็นนิมิตเริ่มต้น ณ วันนี้ ไม่ทราบว่าอาจารย์จะสรุปว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงหรือเปล่าว่าได้แค่ไหนนะครับ ก็ขอให้มองดูประชาเป็นหลัก ขอบคุณครับแค่นี้ก่อนนะครับ

รศ.มานัส มงคลสุข (ผู้ดำเนินการอภิปราย)
ต่อไปเป็นช่วงคำถามจากผู้ฟังทุกท่าน กรุณาเตรียมคำถามเขียนใส่กระดาษ หรือจะถามที่ไมค์ก็เตรียมตัวนะครับ ระหว่างรอคำถามผมจะสรุปที่ 5 สมาคมฯพูดมาทั้งหมดครับ
ที่ท่านนายกสมาคมฯทั้ง 5 สมาคมฯได้พูดไปเนี่ย จริงๆแล้วมันก็คือมุมมองที่ถ้าเราจะวิเคราะห์ตัวเองเราอาจจะใช้ SWOT analysis เอกสารตรงนี้ผมได้แจกให้แก่ทุกท่านไปแล้วนะครับ ซึ่งผมเขียนเองจากใจ ว่า มองอนาคตรังสีเทคนิคไทยแบบ SWOT” ผมทราบว่าหลายคนอาจจะรู้วิธีนี้แล้ว แต่ก็ขอสรุปให้ฟังอีกครั้ง ว่าคำว่า strength weakness opportunity และ threat โดยเอาอักษรตัวแรกมาผสมกันเป็น SWOT ใช้วิธีนี้มององค์กรของเรา องค์กรของเราคือชุมชนรังสี เรามองภายในชุมชนรังสีว่าอะไรเป็นจุดแข็งหรือ strength และอะไรเป็นจุดอ่อนหรือ weakness และมองภายนอกชุมชนรังสีว่าอะไรเป็นโอกาสหรือ opportunity และอะไรที่เป็นอุปสรรคหรือ threat
เท่าที่ฟังมาทั้งหมด 5 สมาคมฯ
จุดแข็งคือ เราทำงานอยู่กับเครื่องมือรังสีที่มีราคาแพงมากหลายคนอาจเห็นแตกต่างได้นะครับ อีกประการหนึ่งคือชุมชนของเรามีใบประกอบโรคศิลปะ อาจจะมีจุดแข็งหลายอย่าง แต่นี่คือตัวอย่าง
จุดอ่อนคือ การเติบโตทางสายงานและตำแหน่งยังไม่ครอบคลุม และไม่เป็นธรรม มันทำให้เราทำงานไปแล้วซังกะตาย หรือทำไปวันๆนึง มันไม่มีแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้น คือไม่มีทั้ง inspiration และ motivation ขาดทั้งสองอย่างเลย จุดอ่อนอีกอย่างคือการที่วิชาชีพเรามีมุมมองที่แตกต่างกันหลายอย่างในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งไม่ควรที่จะสะท้อนถึงความแตกแยก คำว่าความเห็นแตกต่าง กับความแตกแยก มันทันสมัยมากในระดับประเทศ เห็นแตกต่างได้แต่ไม่ควรแตกแยก ตรงนี้คือจุดอ่อนที่เราต้องหาทางแก้ไข
อุปสรรคคือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรังสีเทคนิครวดเร็วมากจนชาวเราตามกันไม่ทัน ไม่ต้องไปคิดถึงการสร้างเทคโนโลยีเลย การศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตัวเองให้เท่าทันมันจึงจำเป็นแต่ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง
โอกาสคือ การที่สังคมให้การยอมรับวิชาชีพของเรา ดูจากการต้องให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีใบประกอบโรคศิลปะฯ อีกประการหนึ่งคือเทคโนโลยีทางรังสีพัฒนาไม่หยุด ไม่ตาย
ทั้งหมดที่พูดกันมานี้เมื่อวิเคราะห์แล้วด้วย SWOT ก็จะช่วยให้เรามองอนาคตได้ง่ายขึ้น ทีนี้ก็เชิญคำถามได้เลยครับ
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

     ก้าวเดินต่อไปนั้น คืออะไร? วันนั้นไม่ได้มีการฟันธง แต่เป็นการแสดงความเห็นในลักษณะของการมองอดีตสู่อนาคตว่าจะเจออะไร จุดที่สำคัญที่สุดคือ เริ่มมีการพูดถึงสภาวิชาชีพฯ 
     โดยส่วนตัวผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญมาก และน่าจะเป็นทิศทางหลักที่เราควรก้าวเดินไปให้ถึง เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่า วิชาชีพรังสีเทคนิคจะก้าวสู่การเป็นวิชาชีพที่กฎหมายเปิดโอกาสให้คนในวิชาชีพดูแลกันเอง ได้มากกว่าการที่เป็นอยู่ในขณะนี้ 
     มีหลายคนถามผมในขณะนั้นว่า มันจะเร็วไปหรือไม่ที่เราจะก้าวไปสู่การมีสภาวิชาชีพฯ ทั้งที่ในขณะนี้เรามีคณะกรรมการวิชาชีพฯยังไม่ครบถ้วนเลย 
     ผมคิดว่าไม่เร็วเกินไปนะครับ คือการมองอนาคต (futurism) วันนี้เราต้องมองไว้เลยว่า อนาคต 10-20 ปีข้างหน้าเราจะเป็นอะไร แล้วต้องทำวันนี้เพื่อให้อนาคตเป็นอย่างที่เราวาดฝันไว้ หากวันนี้เราไม่เตรียมการวางรากฐานอะไรไว้เลย วันข้างหน้าชาวเรารุ่นหลังๆต่อมาจะคิดทำก็ยากเย็นแสนเข็ญ 
     คงไม่ง่ายนักที่จะไปให้ถึงการมีสภาวิชาชีพฯภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะมันมีเหตุและปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรค คงไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเพียงลำพัง ที่จะสามารถสร้างเส้นทางหลัก (high way) มุ่งไปสู่จุดหมายนั้นได้ มันขึ้นกับชาวเราทุกคนครับ ต้องมีการเตรียมการ เตรียมความพร้อมหลายอย่าง
       มีคำถามแบบท้าทาย (challenge) ผุดขึ้นมาเยอะมาก.....ต้องการคำตอบและการปฏิบัติที่จริงจัง
  •  ชาวเราทุกคนหรือส่วนใหญ่ มีศรัทธาในวิชาชีพอย่างผู้มีปัญญาและทำงานด้วยความทุ่มเทเสียสละมากน้อยแค่ไหน?
  • การเปลี่ยนจากคณะกรรมการวิชาชีพเป็นสภาวิชาชีพ ทำเพื่อตัวเราเองหรือเพื่อใคร?
  • ชาวเราทุกคนหรือส่วนใหญ่มิได้มองเห็นประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ (self focus) และได้ช่วยกันแสดงศักยภาพความสามารถที่เป็นรูปธรรม โดยยึดเอาผู้ป่วยเป็นสำคัญ (patient focus) ที่ไม่ใช่การสร้างภาพ ออกมาให้สังคมได้ประจักษ์และเกิดการยอมรับมากยิ่งๆขึ้นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่?
  •  ความคาดหวังของสังคมต่อวิชาชีพรังสีเทคนิคเป็นอย่างไร?
  • สังคมสงสัยหรือไม่ไว้ใจหรือไม่เชื่อมั่นในวิชาชีพชองชาวเราหรือไม่?
  • ชาวเราทุกคนมีหัวใจผนึกหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้จริงหรือไม่? มีความหวาดระแรงกันหรือไม่?

ถึงแม้จะมีอุปสรรคอย่างไรเราก็ต้องเริ่มต้นก้าวเดินไปครับ เพราะการเริ่มก้าวเดินโดยเฉพาะไปในทิศที่ควรจะเป็นที่ชาวเราเห็นพ้องต้องกัน ล้มก็ลุกขึ้นเดินใหม่ ในที่สุดมันก็จะถึงจุดหมายได้ในเวลาที่ไม่นานนัก
ดังนั้น ก้าวต่อไปของการรวมใจเป็นหนึ่งเดียวจึงน่าจะมีผลกระทบโดยตรง และมีความหมายอย่างยิ่งต่ออนาคตของรังสีเทคนิคไทย ต่อชาวเราทุกคน อย่าให้การมาร่วมพูดคุยกันของนายกฯทั้ง 5 สมาคมฯต้องสูญเปล่า เมื่อมีการเริ่มต้นแล้วก็ภาวนาขอให้มีการผนึกกำลังกันอย่างเหนียวแน่นและต่อเนื่อง เพื่อช่วยกันถักทอสานต่อให้เกิดรูปร่างแห่งอนาคตที่ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ
ทว่า..เวลาผ่านจากช่วงนั้นมาแล้วเกือบ 5 ปี ดูเหมือนว่าทุกอย่างสงบนิ่ง เหมือนไฟมอดลงไป ได้ยินแต่การพูดคุยประปรายถึงการเป็นสภาวิชาชีพ กระบวนการเดินหน้า ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น

     พ.ศ. 2553..แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
     
เมื่อวันรังสีเทคนิคโลกที่ผ่านมา คือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย คุณสละ อุบลฉาย ได้เป็นเจ้าภาพเชิญชวนผู้บริหารสมาคมทั้ง 5 และกรรมการวิชาชีพ มาร่วมปรึกษาหารือ ถึงแนวทางในการเดินหน้าสู่สภาวิชาชีพ ที่โรงแรมตะวันนา กรุงเทพฯ
โรงแรมตะวันนา กรุงเทพฯ (8 พ.ย. 2553)
     ผมได้มีโอกาสไปร่วมด้วยในฐานะกรรมการวิชาชีพและที่ปรึกษาสมาคมฯ จึงได้เห็นความตั้งใจอย่างสูงของนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ที่อยากให้เกิดสภาวิชาชีพรังสีเทคนิค โดยสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยจะสนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาท) 
     เป็นเหมือนเทียนเล่มน้อยในความมืดมิดที่ปลายอุโมงค์ มีความชัดเจนขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยการรวมใจกันทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น อยู่ที่ใจจริงๆ และขอให้กำลังใจ อย่าหยุดเดินครับ แม้จะมีอุปสรรคเรื่องความคิดที่ไม่ตรงกันบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา ความคิดที่แตกต่างกันทำให้เกิดความสวยงาม ชาวเราไม่ควรใช้ความคิดที่แตกต่างกันเป็นฐานเพื่อสร้างความขัดแย้งขึ้น อันจะนำไปสู่ความยุ่งยากมากขึ้นในการเดินหน้าสู่สภาวิชาชีพ เพราะว่า ยังมีหลายด่านภายนอกชุมชนรังสีเทคนิคขวางเราอยู่อีกมาก 
     กระบวนการเดินหน้าสู่สภาวิชาชีพ มันมีระบบและกลไกของมัน ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ (พรบ.)ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมันมีหลักเกณฑ์ของมันว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง และต้องเสนอผ่านช่องทางไหนบ้าง เท่าที่ทราบไม่ง่ายและต้องใช้ทุนทรัพย์สูงอาจเป็นล้านบาททีเดียว 
     มองในแง่ผลกระทบ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder)จะคิดจะรู้สึกอย่างไร เช่น ชาวเราทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุข นักการเมือง วิชาชีพที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน เป็นต้น เหล่านี้หากเกิดความไม่เข้าใจกันอาจเกิดแรงต้านได้ 
     จุดตั้งต้นของการจัดทำ พรบ. จะอยู่ที่ไหน??..ใครหรือองค์กรใดจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้เกิดความร่วมมือกันจากชาวเราส่วนใหญ่ ความเห็นของผมคือ...
     การจัดทำ พรบ. นั้นต้องใช้ความร่วมมือและเงินทุนสูงมาก ทั้งการทำร่าง พรบ. และการทำประชาพิจารณ์ ล้วนต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น องค์กรวิชาชีพรังสีเทคนิคขณะนี้ควรเป็นหลักในการสร้างความร่วมมือ ระดมทั้งกำลังและเงินทุน ให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ต่างคนต่างทำโดยหวังเพียงประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น ซึ่งการทำอย่างนี้มันไร้พลัง ต้องเน้นประโยชน์ทีประชาชนหรือผู้ป่วยจะได้รับเป็นหลัก 
     ต้องใช้เวลาพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียให้มากๆครับ เพราะผมเชื่อว่า พรบ. จะมีองค์ประกอบของเนื้อหาหลักๆที่มี template จากสภาวิชาชีพอื่นๆ เป็นแบบอย่างและเป็นแนวทางในการนำมาปรับได้ คือเขียน พรบ. ไม่น่าจะยุ่งยากมาก แต่ความเข้าใจกัน ความร่วมไม้ร่วมมือกัน ความไม่ขัดกันเองภายในชุมชนของเรา น่าจะเป็นเรื่องใหญ่

ผมประทับใจคำพูดของนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยที่ว่า "การเดินหน้าสู่สภาวิชาชีพ ไม่ใช่เดินหน้าเพื่อตัวเอง แต่เรามองสิ่งที่ชาวประชาจะได้ประโยชน์เป็นหลัก" และตอนนี้ก็ยังประทับใจครับ

     จะเดินต่อไปอย่างไร สู่สภาวิชาชีพ
     พ.ศ. 2554..
     พ.ศ. 2555...
     พ.ศ. 2556...
     พ.ศ. 2557...
อภิปราย สภาวิชาชีพรังสีเทคนิค 23 กค 2557 โรงแรมบัดดี้ โอเรนเติ้ล ริเวอร์ไซด์ ปากเกร็ด
(เครดิตภาพ:...ต้นอ้อ)

     ...
     ...
     พ.ศ. 2599...