AI, IoT มาแน่นหรือไม่??
กระทบชาวเราไหม?
เป็นคำถามที่ชาวเราบางคนอาจยังงงๆ ว่าถามทำไม
หลายคนคงพอทราบดีว่า แนวโน้มการเติบโตของการบริการทางการแพทย์
โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยเป็นรายบุคคล (personalized medicine) นั้นขยับตัวสูงขึ้น
ขณะที่ตอนนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ด้านสุขภาพแบบที่ทำกันอยู่มีข้อจำกัดที่ทำให้การพัฒนาไม่ค่อยจะมีความก้าวหน้ามากนัก เพราะติดขัดเรื่องค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการบริหารจัดการสูง รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลยากมากและไม่เป็นสากล
ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่นั้น โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลแป็นผู้จัดเก็บและใช้งานเพียงฝ่ายเดียว
โดยที่ผู้ป่วยเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นยาก
ชาวเราทราบไหมว่า ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้
มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่นำ Blockchain
มาใช้ในการให้บริการทางการแพทย์
สำหรับตอนนี้ เมื่อเกิดคำถามกับผู้ที่อยู่หากไกลจากวงการว่า "เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร??" เราจะนึกถึงอะไร
แรกเริ่มเดิมที
Blockchain ดูจะห่างไกลจากงานบริการทางการแพทย์ เพราะมันถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในตลาดการเงิน
โดยที่ Blockchain ทำหน้าที่เป็นผู้กระจายอำนาจในการทำธุรกรรม
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยมองเห็นว่า มีลักษณะเฉพาะบางอย่างของเทคโนโลยีนี้ ที่น่าจะเหมาะสำหรับใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้คนได้ด้วย
มีการคิดถึง Blockchain ที่เป็นแอพพลิเคชั่นที่มีศักยภาพในทางการแพทย์
เช่น การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ การจัดเก็บข้อมูลและความปลอดภัย กลไกการชำระเงินตามมูลค่า ประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานทางการแพทย์ และอื่น ๆ
แต่ว่า Blockchain
ยังเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในช่วงตั้งไข่ ฉะนั้นแล้ว
ชาวเราน่าจะหาเวลาศึกษาทำความเข้าใจแนวคิด/หลักการพื้นฐานของ blockchain และที่สำคัญคือ
เฝ้าติดตาม update ตัวเองเสมอๆ
ให้รู้ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอนาคตของการดูแลผู้รับบริการทางการแพทย์
มันมาแน่ครับ
Related Links:
รังสีเทคนิคไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น