(2,662 ครั้ง)
ผมขอเล่าอะไรให้ฟังหน่อยครับ จากคนที่ทำงานทางการศึกษาในสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคและเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญตลอด milestones ของวิชาชีพรังสีเทคนิคนานกว่า 30 ปี คลุกคลีอยู่กับวิชาชีพนี้มา เหมือนคนที่เดินเข้าไปในป่า แต่ไม่เห็นป่า เห็นแต่ต้นไม้ พูดง่ายๆคือหลงป่าหาทางออกไม่เจอนั่นเอง และเฝ้ามองลูกศิษย์ที่ออกไปรับใช้สังคม คนแล้วคนเล่าเป็นพันๆคน ทุกคนเป็นคนดีของสังคม ทุกคนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานตามวิถีทางของตัวเองทั้งราชการ เอกชน และธุรกิจส่วนตัว หลายคนศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอก เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยในสถาบันชั้นนำของประเทศ เช่น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ NECTEC MTECH สำนักงาน ปส. เป็นต้น บางคนศึกษาต่อเปลี่ยนสายงานเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ และใช้ชีวิตในต่างแดน ถึงอย่างไรก็ตาม ยังรู้สึกมีความผูกพันธ์ ห่วงใย และมีความสุขใจลึกๆครับ จึงขอให้คิดว่า ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นเหมือนกระจกเงาบานเล็กๆบานหนึ่ง ที่อยากเห็นวิชาชีพรังสีเทคนิคมั่นคง ก้าวหน้า เป็นที่พึ่งประชาชนได้
ผมขอเล่าอะไรให้ฟังหน่อยครับ จากคนที่ทำงานทางการศึกษาในสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคและเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญตลอด milestones ของวิชาชีพรังสีเทคนิคนานกว่า 30 ปี คลุกคลีอยู่กับวิชาชีพนี้มา เหมือนคนที่เดินเข้าไปในป่า แต่ไม่เห็นป่า เห็นแต่ต้นไม้ พูดง่ายๆคือหลงป่าหาทางออกไม่เจอนั่นเอง และเฝ้ามองลูกศิษย์ที่ออกไปรับใช้สังคม คนแล้วคนเล่าเป็นพันๆคน ทุกคนเป็นคนดีของสังคม ทุกคนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานตามวิถีทางของตัวเองทั้งราชการ เอกชน และธุรกิจส่วนตัว หลายคนศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอก เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยในสถาบันชั้นนำของประเทศ เช่น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ NECTEC MTECH สำนักงาน ปส. เป็นต้น บางคนศึกษาต่อเปลี่ยนสายงานเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ และใช้ชีวิตในต่างแดน ถึงอย่างไรก็ตาม ยังรู้สึกมีความผูกพันธ์ ห่วงใย และมีความสุขใจลึกๆครับ จึงขอให้คิดว่า ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นเหมือนกระจกเงาบานเล็กๆบานหนึ่ง ที่อยากเห็นวิชาชีพรังสีเทคนิคมั่นคง ก้าวหน้า เป็นที่พึ่งประชาชนได้
ผมได้ยินคำว่า “สภารังสีเทคนิค” มานานไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ตั้งแต่เริ่มกระบวนการการทำพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะฯ และประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งมีหลักการมุ่งเน้นที่ประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการ จนมีการตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค (ก.ช.) ซึ่งมีอายุมาก็เกือบ 10 ปีเช่นกัน หมายความว่า ก.ช. เกิดขึ้นบนพื้นฐานความคิดของสภารังสีเทคนิคตั้งแต่แรกแล้ว มีการวิเคราะห์หลักการเหตุผลในรูปแบบสภาวิชาชีพตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว และต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของหลายภาคส่วน ได้แก่ ครูบาอาจารย์ที่คร่ำหวอดจำนวนไม่น้อย นักรังสีเทคนิคอวุโสจำนวนมาก เป็นต้น ผู้คนเหล่านี้เป็นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ มาร่วมด้วยช่วยกัน ด้วยจิตอาสา ทุ่มเทและเสียสละ ค่าตอบแทนคือ ความสุขทางใจที่ได้เห็นพัฒนาการของวิชาชีพรังสีเทคนิค และการที่ประชาชนได้รับบริการไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนที่เสียสละเหล่านี้สมควรได้รับการยกย่อง เคารพนับถือ ตามแบบวัฒนธรรมประเพณีอันงดงามของคนไทย
ในตอนนั้นต้องเป็น ก.ช. เพราะจำเป็นต้องให้กระทรวงสาธารณสุขอุปถัมภ์ด้านงบประมาณและสถานที่ในการดำเนินการไปก่อน กระทรวงสาธารณาสุขซึ่งดูแลด้านสุขภาพของประชาชน ก็ได้ทำหน้าที่ในการให้ประชาชนได้รับบริการด้านรังสีเทคนิคที่ดีด้วย โดยผ่านทางนักรังสีเทคนิคที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรฐานวิชาชีพ มี ก.ช. ทำหน้าที่กลั่นกรองคุณสมบัติและสมรรถนะของนักรังสีเทคนิคที่จะขอขึ้นทะเบียน ซึ่ง ก.ช. มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค กรรมการจากการเลือกตั้งกันเองของผู้มีใบประกอบโรคศิลปะ ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ เป็นองค์ประกอบที่ครบถ้วนพอเพียง และทำหน้าที่ตามมาตรา 23 แห่ง พรบ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 (ซึ่งมีหลักการว่า เพื่อส่งเสริมการประกอบโรคศิลปะให้มีความอิสระและคล่องตัวในการดำเนินงาน และเพื่อควบคุมมิให้มีการแสวงหาผลประโยชน์หรือใช้วิชาชีพโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน) ตีความตามกฎหมายแล้ว ก.ช. ควบคุมมาตรฐานกระบวนการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ควบคุมมาตรฐานและกำกับนักรังสีเทคนิคในการให้บริการประชาชน คือดูตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง นั่นคือ หน้าที่ของ ก.ช. แล้วพวกเราคิดกันว่า ก.ช. ต้องทำอะไรครับ พวกเราบางคนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ก.ช. ผิดไปหรือเปล่า กรอบการทำงานของ ก.ช. ชัดเจนมาก ไม่ต้องเชื่อผม ลองไปศึกษาดูอย่างจริงจังด้วยตัวเองครับ อย่าฟังจากคำบอกเล่าของผู้อื่น ให้ใช้หลักกาลามสูตร แล้วจะทราบว่า ก.ช. จะไปทำอะไรที่แหกออกไปจากที่กฏหมายกำหนดไม่ได้
ผมได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง คือ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคเข้าปีที่ 5 แล้ว ตามที่พระราชกฤษฎีการะบุไว้ โดยหน้าที่หลักที่ผมรับผิดชอบอยู่คือ การผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ที่มีคุณภาพและสมรรถนะ สอดคล้องตามมาตรฐานของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ ก.ช. รวมถึงความคาดหวังจาก Stakeholders อื่นๆ เช่น ผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น ผมจึงตั้งปณิธานว่าจะพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่ขาดประชุม ก.ช. และถึงตอนนี้เข้าปีที่ 5 แล้วก็ยังไม่เคยขาดการประชุมแม้แต่ครั้งเดียวครับ เพราะได้ให้ความสำคัญกับ ก.ช. ไว้สูงมาก เนื่องจากมติของ ก.ช. เกือบทั้งหมด ส่งผลให้ผมต้องนำไปปรับให้เข้ากับงานที่ผมรับผิดชอบโดยตรง เช่น มติเรื่อง มาตรฐานและสมรรถนะวิชาชีพรังสีเทคนิค จรรยาบรรณวิชาชีพ การประเมินสถาบัน (หมายความว่า ก.ช. ต้องรับรองสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค บัณฑิตจึงจะมีคุณสมบัติในการสอบขอขึ้นทะเบียนได้) เป็นต้น แม้แต่ สกอ. ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ก็กำหนดให้มีความเชื่อมโยงกับมาตรฐานที่ ก.ช. กำหนด จะเห็นได้ว่าบัณฑิตรังสีเทคนิคต้องมี Competency ครบตามนี้ ไม่เฉพาะแค่นี้ ยังต้องมีการปรับตัวของ Competency ตลอด สังคมโลกกำลังมองกันว่า คนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นอย่างไร บัณฑิตรังสีเทคนิค นักรังสีเทคนิค (โดยเฉพาะที่ทำงานมานาน) ก็เช่นกันครับ ต้องปรับตัวให้สอดรับท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและของโลกอย่างรุนแรง เช่น การรวมตัวกันให้เกิด ASEAN Community ในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้น ดังนั้น คงพอมองเห็นภาพใหญ่ๆนะครับว่า กว่าจะได้นักรังสีเทคนิค ออกไปรับใช้สังคมนั้นมีข้อกำหนดและกระบวนการที่เป็นมาตรฐานมากมาย เพราะอะไรต้องเป็นแบบนี้ครับ ก็เพราะเราต้องการให้ประชาชนได้รับบริการด้านรังสีเทคนิคที่ดี (Customer Focus)
ขอทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า ในส่วนของรังสีเทคนิคหลักสูตร 2 ปี (ต่ำกว่าปริญญาตรี) มีการผลิต 3 รุ่นในระหว่างปี 2516-2518 จำนวน 65 คน แล้วก็ต้องหยุดไป ที่อื่นๆมีการผลิตในส่วนนี้จำนวนมากมายจริงๆ ใช้เวลาผลิตแต่ละรุ่นแค่ 2 ปี เพื่อให้ใช้งานได้เร็วเป็นเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ จึงผลิตได้จำนวนที่มากกว่า ซึ่งครูบาอาจารย์รวมทั้งนักรังสีเทคนิคอวุโสทั้งหลายที่ผมรู้จักและทำงานด้านการศึกษาร่วมกัน ก็มองเห็นว่าเมื่อจะเดินหน้าให้มีใบประกอบโรคศิลปะ อาจจะเกิดปัญหาในอนาคตกับบุคลากรกลุ่มนี้ได้ ประกอบกับความรู้และเทคโนโลยีรังสีก้าวไปเร็วมาก ด้วยเจตนาที่ต้องการช่วยเหลือ เป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการศึกษาที่ตรงสายงาน เป็น Career Ladder ให้กับกลุ่มนี้ จึงได้เปิดหลักสูตรต่อเนื่องสองปีในปี 2537 เป็นแห่งแรกในประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ที่ทำงานรังสีเทคนิคอยู่แล้ว เข้ารับการศึกษาให้เป็นบัณฑิตรังสีเทคนิค แต่ต้องหยุดรับนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรต่อเนื่องนี้ในปี 2545 ซึ่งต่อมาต้องปิดหลักสูตรอย่างถาวรในปี 2550 เพราะจำนวนที่คัดเลือกเข้าศึกษามีจำนวนน้อยลง อาจเป็นเพราะสถาบันอื่นๆเปิดหลักสูตรต่อเนื่องเพิ่มขึ้น และรับจำนวนได้มากกว่าจริงๆ บางแห่งรับได้ปีละเป็นร้อยคน แต่ปัจจุบันนี้ กระทรวงศึกษาธิการไม่อนุญาตให้ดำเนินการหลักสูตรต่อเนื่องแบบนี้อีกต่อไปแล้ว ทำให้สถาบันอื่นๆ ต้องปรับทิศทางหันมาเปิดหลักสูตรรังสีเทคนิค 4 ปี บางแห่งอยู่ในขั้นเตรียมการ บางแห่งพร้อมแล้วและอยู่ในขั้นตอนการรับรองสถาบันโดย ก.ช. แล้วเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ที่ยังไม่มีวุฒิปริญญาตรีด้านรังสีเทคนิคจำนวนหนึ่งที่ยังตกค้างอยู่จะทำอย่างไร ก.ช. ต้องเข้าไปดูแลไหม ตามความเห็นของผมคือ ต้องดูแล แต่ต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้
ที่เล่ามาทั้งหมดนั้น ต้องการชี้ให้เห็นชัดๆว่า บทบาทและหน้าที่ของ ก.ช.มีอะไรบ้าง หลักๆ คือ ควบคุมมาตรฐานกระบวนการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ควบคุมมาตรฐานและกำกับนักรังสีเทคนิคในการให้บริการประชาชน ตั้งแต่เริ่มมี ก.ช. จนถึงตอนนี้ ผมเห็นว่า ก.ช. ได้ทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย รักษามาตรฐาน ไม่เล่นพรรคเล่นพวก สร้างความสามัคคีในวิชาชีพ ไม่มีสองมาตรฐาน และผมก็มั่นใจว่าอนาคตของ ก.ช. ก็จะเป็นเยี่ยงนี้อย่างเหนียวแน่น ท่านไม่ต้องเห็นด้วยกับผม ความคิดเห็นและมุมมองที่แตกต่างเป็นความงดงามและทำให้เกิดการพัฒนาถ้าเลือกไปใช้ให้เหมาะสม ความรู้จักควรไม่ควรเป็นคุณสมบัติของผู้ดี และเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาได้เช่นกัน พอเล่ามาถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึงคำว่า “ประสบการณ์ในเชิงสร้างสรรค์” ผมหมายถึง ประสบการณ์ที่ดี ที่สร้างสรรค์ในเชิงบวก ที่ทำให้ผู้นั้นมีปัญญาเจริญงอกงาม ไม่ใช่ประสบการณ์ในทางเลวทรามใฝ่ต่ำ หากพิจารณาในแง่ของความเป็นไปได้ (Probability) ถ้าจะกล่าวว่า “มีโอกาสน้อยที่ผู้มีประสบการณ์น้อยจะทำในสิ่งที่ควรทำได้เหมือนผู้มีประสบการณ์มาก” เป็นเช่นนี้จริงหรือไม่
การมีนักรังสีเทคนิคที่ได้รับการสังเคราะห์อย่างที่เล่าให้ฟังข้างต้นทำให้สังคมอุ่นใจไหม ผมว่าอุ่นใจนะถ้าสังคมได้รับรู้ ขณะเดียวกันสังคมเริ่มยอมรับบ้าง ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะได้มีโอกาสพูดคุยกับคนทั่วไป มีคนรู้จักนักรังสีเทคนิคบ้างแต่ค่อนข้างน้อย หากใครจะลองถามประชาชนที่เดินผ่านมา 100 คนว่า รู้จักนักรังสีเทคนิคไหม ผลจะออกมาสักกี่คนยังสงสัยอยู่ อาจจะ 1 คน หรือ 2 คน เป็นโจทย์ที่ต้องการคำตอบ ประชาชนรู้แต่เพียงว่า ถ้าต้องเอกซเรย์ก็ไปที่ห้องเอกซเรย์ จะมีหมอมาเอกซเรย์ให้ คนทั่วไปส่วนใหญ่คิดว่านักรังสีเทคนิคเป็นหมอ ไม่รู้จักนักรังสีเทคนิค เมื่อวันรังสีเทคนิคโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สถานีวิทยุประเทศไทยขอสัมภาษณ์ผม ออกอากาศไปแล้วครับ สัมภาษณ์นานหนึ่งชั่วโมง แต่ตัดต่อนำไปออกอากาศ 15 นาที ก็ยังดีครับ ระหว่างสัมภาษณ์ พิธีกรไม่ทราบว่ามีนักรังสีเทคนิคทำงานเป็นผู้ถ่ายภาพเอกซเรย์ ผมก็เลยอธิบายไปแบบเต็มๆเลย แต่เสียดายไม่เอามาออกอากาศ ผมได้อธิบายให้ฟังตั้งแต่การเรียนรังสีเทคนิคในมหาวิทยาลัย จบเป็นบัณฑิต สอบขึ้นทะเบียน จนเข้าทำงานในสายวิชาชีพรังสีเทคนิค และไม่เฉพาะแค่ถ่ายภาพเอกซเรย์เท่านั้น นักรังสีเทคนิคยังทำได้สารพัด ทั้ง CT MRI US SPECT ฯลฯ ก็ยังพูดแดกไปว่า ลูกศิษย์จบแล้วทำงานได้เงินเดือนมากกว่าอาจารย์ที่เริ่มทำงานพร้อมๆกันเสียอีก พิธีกรยังร้องโอ้โฮ แล้วบอกผมว่าจะหาโอกาสนำสิ่งที่ผมพูด ไปพูดแนะแนวน้องๆที่อาจฟังรายการในเรื่องของการเรียนรังสีเทคนิค ผ่านทางวิทยุประเทศไทยต่อไปด้วย
วกกับมาเรื่องการก้าวเป็นสภารังสีเทคนิค ไม่มีอะไรมาก ช่วยกันร่างพระราชบัญญัติสภารังสีเทคนิค ซึ่งใช้เงินทุนไม่น้อย เตรียมเงินไว้ (แล้วใครเตรียม ใครจ่าย??)...
มองหลักการเหตุผล องค์ประกอบของสภาฯ หน้าที่ ฯลฯ มันมี Pattern ของมันซึ่งไม่แตกต่างจากวิชาชีพอื่น
เสร็จแล้วดำเนินการตามขั้นตอน ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วม (ใช้เงินงบประมาณแน่ๆครับ) อันนี้สำคัญมาก เป็นหลักการสำคัญละเลยไม่ได้
อย่าลืมว่า จะไม่มีมีร่างพรบ.ที่เราทำฉบับเดียว จะต้องมีคู่เทียบแน่ๆ
ต่อไปจะ Lobby ยังไงกันก็ทำไปครับ เข้าสภาผู้แทนราษฎร จนสุดท้ายสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบ ง่ายๆครับ กระบวนการนี้ใช้เวลา 3-5 ปีไหม
เมื่อเป็นสภาฯแล้ว เราต้องดูแลกันเอง งบประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขเคยสนับสนุนอยู่ก็หยุดไป ผู้จะขึ้นทะเบียนหรือต่ออายุต้องจ่ายเงินค่าขอขึ้นทะเบียนสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้สภาฯมีเงินในการดำเนินการกิจการสภาฯได้ แต่การเป็นสภาฯมันชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีพลังมากขึ้น
มองหลักการเหตุผล องค์ประกอบของสภาฯ หน้าที่ ฯลฯ มันมี Pattern ของมันซึ่งไม่แตกต่างจากวิชาชีพอื่น
เสร็จแล้วดำเนินการตามขั้นตอน ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วม (ใช้เงินงบประมาณแน่ๆครับ) อันนี้สำคัญมาก เป็นหลักการสำคัญละเลยไม่ได้
อย่าลืมว่า จะไม่มีมีร่างพรบ.ที่เราทำฉบับเดียว จะต้องมีคู่เทียบแน่ๆ
ต่อไปจะ Lobby ยังไงกันก็ทำไปครับ เข้าสภาผู้แทนราษฎร จนสุดท้ายสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบ ง่ายๆครับ กระบวนการนี้ใช้เวลา 3-5 ปีไหม
เมื่อเป็นสภาฯแล้ว เราต้องดูแลกันเอง งบประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขเคยสนับสนุนอยู่ก็หยุดไป ผู้จะขึ้นทะเบียนหรือต่ออายุต้องจ่ายเงินค่าขอขึ้นทะเบียนสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้สภาฯมีเงินในการดำเนินการกิจการสภาฯได้ แต่การเป็นสภาฯมันชัดเจนในบทบาทหน้าที่ที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีพลังมากขึ้น
อย่างไรก็ตามพื้นฐานการคิดเรื่องนี้สำคัญมาก การเดินหน้าต่อไปสู่สภาฯ ต้องไม่ลืมว่าเราต้องมองประโยชน์ที่ประชาชนผู้รับบริการจะได้รับเป็นสำคัญ เป็นสภารังสีเทคนิคแล้วประชาชนผู้รับบริการจะได้อะไรที่ดีขึ้นกว่าเดิม ตอบได้ไหมครับ เราต้องช่วยกันมองตรงจุดนี้ให้แตกฉาน เพื่ออธิบายต่อสังคมให้ได้ มองแบบนี้เป็นการมองแบบให้ (Give) อย่ามองเน้นไปที่ว่าเราจะได้อะไรเพียงอย่างเดียว เพราะมันมองง่ายครับแต่ไม่สวยเหมือนคนตัวเอียงไปทางเห็นแก่ตัว เป็นการมองแบบจะเอา (Take) ถ้าเราได้ทำงานอย่างมีความสุขพอไหมแม้จะรู้สึกว่าปิดทองหลังพระ ถ้าเราทำใจไม่ได้ แล้วยังคงมองแค่ตัวเองว่าจะได้อะไร เรายังพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำให้เราได้อะไรมากยิ่งขึ้นจากการเป็นสภาฯ โดยไม่นึกถึงประชาชนผู้รับบริการ ผมคิดว่า เราอย่าเพิ่งเดินหน้าไปสู่สภารังสีเทคนิคเลย เราจะถูกดูแคลนและสังคมคงไม่สบอารมย์นักหรอก อยู่กันแบบนี้ไปก่อน เป็นคณะกรรมการวิชาชีพฯไปก่อน เมื่อทำใจให้พร้อมที่จะทำเพื่อประชาชนผู้รับบริการได้แล้ว จึงค่อยเดินหน้าต่อดีไหมครับ
คุณอนุชิต แสดงความเห็นมาที่ผม ผมเห็นว่ามีประโยชน์ขออนุญาตเผยแพร่ครับ
ตอบลบสวัสดีครับอาจารย์
ครับ อ่านบทความอาจารย์แล้ว อาจาร์ยคงอึดอัดขัดใจอยู่มากกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ผมว่ามันคงจะเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่านนะครับ อีกอย่างผลประโยชน์อาจจะเริ่มมีมาให้เห็นกันบ้างแล้วอย่าท้อ อย่างหมดกำลังใจนะครับ ประเทศชาติ ประชาชนของเรา ยังคงต้องการครูดีๆ และนักรังสีเทคนิคดีๆ เมื่อยามเราเจ็บไข้ไม่สบาย เราต้องไปเอ็กซเรย์ เราคงไม่ต้องการคนบ้าๆบอๆมาเอ็กซเรย์ให้เรา เอ็กซเรย์ไปก็บ่นไป ด่าเราบ้าง ตะคอกใส่เราบ้าง บางครั้งเราไม่รู้สึกตัว ก็ตบหัวเราบ้าง ตบหน้าเราบ้าง เอ็กซเรย์ก็ไม่เคยป้องกันรังสีให้เราและญาติเรา เอ็กซเรย์เสียแล้วเสียอีกต้องเอ็กซใหม่ให้เราได้รับรังสีเพิ่มโดยไม่จำเป็น
ขอให้กำลังใจอาจารย์นะครับ ชีวิตคนเรานั้นช่างแสนสั้นนัก อยู่กันไม่ถึงร้อยปีก็ตายแลัว คิดว่าเราจะเป็นคนที่ปิดทองหลังพระเพิ่มอีกสักคน ครับผม
ด้วยความเคารพ
อนุชิต สมหาญวงค์ / ระนอง