(1,231 ครั้ง)
(เผยแพร่ครั้งแรก 19กย2554)
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ชื่อนี้ชาวบ้านคนทั่วไปรู้จักดี และเป็นเครื่องมือรังสีที่มีราคาแพงมาก โรงพยาบาลโดยเฉพาะของเอกชนจะใช้มันเป็นจุดขาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์มาจากภาษาอังกฤษว่า Computed Tomography ซึ่งราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ภาษาไทยไว้ว่า “การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์” เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานทางคลินิกครั้งแรกเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมาแล้ว คือเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ที่โรงพยาบาลแอทคินสัน มอร์เลย์ (Atkinson Morley) ตั้งอยู่ที่ Copse Hill, Wimbledon, London ประเทศอังกฤษ ในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา มีการใช้งานเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบ 40 ปีของการใช้งานเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ขอถือโอกาสนี้ เล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนสำคัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการรำลึกถึงครับ
ค.ศ.1895 พบเอกซเรย์
(เผยแพร่ครั้งแรก 19กย2554)
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ชื่อนี้ชาวบ้านคนทั่วไปรู้จักดี และเป็นเครื่องมือรังสีที่มีราคาแพงมาก โรงพยาบาลโดยเฉพาะของเอกชนจะใช้มันเป็นจุดขาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์มาจากภาษาอังกฤษว่า Computed Tomography ซึ่งราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ภาษาไทยไว้ว่า “การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์” เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานทางคลินิกครั้งแรกเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมาแล้ว คือเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ที่โรงพยาบาลแอทคินสัน มอร์เลย์ (Atkinson Morley) ตั้งอยู่ที่ Copse Hill, Wimbledon, London ประเทศอังกฤษ ในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา มีการใช้งานเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบ 40 ปีของการใช้งานเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ขอถือโอกาสนี้ เล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนสำคัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการรำลึกถึงครับ
ค.ศ.1895 พบเอกซเรย์
เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ วิลเฮล์ม คอนราด เรินท์เกน (Wilhelm Conrad Roentgen) ค้นพบรังสีเอกซ์ (x-ray) ขณะทำการศึกษารังสีแคโทด (cathode ray) เมื่อใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงมาก ผมได้เขียนบทความรำลึก 115 ปีแห่งการต้นพบเอกซเรย์ไปแล้วเมื่อปีที่แล้วลองอ่านดูนะครับ และให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยด้วยครับ ปัจจุบัน องค์การอนามัยโรคกำหนดให้วันที่เรินท์เกนค้นพบรังสีเอกซ์เป็น “วันรังสีเทคนิคโลก”
รังสีเอกซ์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ในระยะแรกกระทำเพียงฉายรังสีเอกซ์ไปยังผู้ป่วยเพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกายของผู้ป่วย โดยอาศัยหลักการเกิดภาพเช่นเดียวกับการเกิดภาพเงาดำของร่างกายของเราบนพื้นขณะที่เรายืนอยู่กลางแสงแดดปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัยโรคด้วยการพิจารณาจากภาพถ่ายเอกซเรย์ธรรมดาหรือที่ได้ตามวิธีการนี้คือ
ประการแรก การซ้อนทับกันของเงาของอวัยวะใน 3 มิติ (Object, 3D) บนฟิล์มรับภาพซึ่งเป็นระบบ 2 มิติ (Image, 2D) ทำให้ภาพเอกซเรย์แบบนี้ดูซับซ้อนยากต่อการวินิจฉัยโรค
ประการที่สอง ภาพถ่ายเอกซเรย์แบบธรรมดาไม่สามารถแยกความแตกต่างของซอฟท์ทิชชู (soft tissue) เช่น ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างตับและตับอ่อน เป็นต้น
ประการที่สาม ภาพเอกซเรย์แบบธรรมดาไม่สามารถบอกความหนาแน่นที่แตกต่างกันของสารที่เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างภายในร่างกายมนุษย์ ภาพเอกซเรย์ธรรมดาเหล่านี้เป็นเพียงการบันทึกการดูดกลืนโดยเฉลี่ยของเนื้อเยื่อต่างๆ ที่รังสีเอกซ์ทะลุทะลวงผ่านออกมาเท่านั้น
ค.ศ.1922 Conventional Tomography
ค.ศ.1922 Conventional Tomography
นายแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ โบเคจ (Bocage) ได้เสนอเทคนิคการถ่ายภาพที่เรียกว่า โทโมกราฟฟี่ (tomography คำว่า tomo แปลว่า ตัดหรือชิ้นบางๆ) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้ได้ภาพของโครงสร้างภายในร่างกายชัดเจนเพียงระนาบใดระนาบหนึ่งเท่านั้น ขณะเดียวกันภาพเงาของระนาบอื่นก็ปรากฏซ้อนทับออกมาด้วยแต่ไม่คมชัด เทคนิคนี้จึงแก้ปัญหาในประการแรกที่เกี่ยวกับการซ้อนทับกันของเงาของอวัยวะภายใน (3D) ที่ปรากฏบนฟิล์มรับภาพ (2D) ได้แต่ไม่สมบูรณ์ ขณะถ่ายภาพหลอดเอกซเรย์และฟิล์มเอกซเรย์จะเคลื่อนที่พร้อมกันแต่เคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกัน เพื่อต้องการกำจัดภาพเงาของระนาบที่อยู่ด้านบนและระนาบที่อยู่ด้านล่างของระนาบที่ต้องการออกไป ภาพที่ได้แม้จะชัดเจนเพียงระนาบเดียวคือระนาบที่เรียกว่า ระนาบโฟกัส (focal plane) แต่ภาพจะมีคอนทราสต์ (contrast) ลดลงมากเพราะในการถ่ายภาพแบบนี้จะมีรังสีกระเจิง (scattered radiation) ค่อนข้างสูง
Reference 1. Bocage AEM. Method of, and apparatus for, radiography on a moving plate. Republic of France, National Office of Industrial Property, Patient No. 536464, applied June 3, 1921, published May 4, 1922.
หลายสิบปีต่อมามีการตั้งสมมติฐานว่า ถ้ายิงรังสีเอกซ์ลำเล็กๆทะลุผ่านผู้ป่วยไปตกกระทบที่หัววัด แล้วกวาดลำเอกซเรย์ไปในระนาบหนึ่งที่ต้องการตรวจ และกระทำซ้ำกันโดยบิดมุมของลำเอกซเรย์ไป ข้อมูลความเข้มรังสีเอกซ์ที่บันทึกได้โดยหัววัดน่าจะสามารถนำไปใช้ศึกษาการจำแนกของสัมประสิทธิ์การลดลง (attenuation coefficient) ภายในระนาบนั้นได้ หมายความว่า จะสามารถสร้างภาพของระนาบที่สนใจได้ เพราะความหนาแน่นของเนื้อเยื่อมีความสัมพันธ์กับสัมประสิทธิ์การลดลง ถ้าเป็นจริงการคำนวณสร้างภาพจะต้องเกิดขึ้นและต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ (computer) ซึ่งในเวลาต่อมา สมมติฐานดังกล่าวได้กลายเป็นความจริง โดยการบุกเบิกของนักคิดอย่าง คอร์แม็ก (A.M. Cormack) และนักประดิษฐ์อย่าง เฮานสฟิลด์ (G.N. Hounsfield)
ค.ศ.1956-1964 Cormackคอร์แม็ก (A.M. Cormack) นักฟิสิกส์นิวเคลียร์แห่งภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเคฟทาวน์ (Capetown University) มีแรงดลใจในการพัฒนางานการสร้างภาพจากข้อมูลความเข้มของรังสีที่บันทึกได้ เมื่อเขาได้ทำงานที่โรงพยาบาลกรุทเชอ (Groote Shuur) ประมาณกลาง ค.ศ.1956 ระหว่างทำงานในโรงพยาบาลนั้น เขาพบข้อบกพร่องเกี่ยวกับการวางแผนรักษาโรคด้วยรังสี กล่าวคือ ในการฉายรังสีเข้าไปในตัวผู้ป่วยเพื่อทำการักษาโรค ขณะนั้นแพทย์จะพิจารณาและตัดสินใจเลือกไอโซโดสคอนทัวร์ (isodose contours) แบบที่เหมาะที่สุด แต่ไอโซโดสคอนทัวร์นั้นได้จากไอโซโดสชาร์ต (isodose charts) ที่คิดคำนวณมาจากการกระจายของปริมาณการดูดกลืนรังสีในตัวกลางที่มีเนื้อเหมือนกันตลอด จึงทำให้การตัดสินใจในการกำหนดการรักษาของแพทย์คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะร่างกายผู้ป่วยมิได้ประกอบด้วยสารเนื้อเดียวกันตลอด คอร์แม็กคิดว่า
ถ้าทราบการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลงในร่างกายผู้ป่วย จะสามารถปรับปรุงการวางแผนรักษาโรคด้วยรังสีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ และการจะทราบค่าการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลง น่าจะสามารถทำได้โดยการคำนวณจากข้อมูลความเข้มของรังสีที่ทะลุผ่านร่างกายผู้ป่วยออกมาในทิศทางต่างๆที่มากพอ
คอร์แม็กใช้เวลาประมาณหนึ่งปีพัฒนาวิธีการทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณค่าการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลงของตัวกลาง เขาสร้างเครื่องมือเพื่อทดสอบทฤษฎีการคำนวณดังกล่าว สร้างจากเครื่องกลึงเก่าราคาถูกมาก
คอร์แม็กใช้รังสีแกมมาที่ได้จากธาตุโคบอลต์-60 (Co-60) ซึ่งอยู่ในถ้ำทรงกระบอก ยิงผ่านแฟนตอม (phantom) ที่ทำจากอะลูมิเนียมและไม้ อยู่ตรงกลางระหว่างทรงกระบอกทั้งสองอัน เมื่อรังสีแกมมาทะลุผ่านแฟนตอมออกมาแล้วจึงใช้ไกเกอร์เคาน์เตอร์ (Geiger counter) เป็นตัววัดความเข้ม จากข้อมูลความเข้มรังสีแกมมาที่วัดได้ในทิศทางต่างๆ ด้วยวิธีการหมุนแฟนตอมที่วางบนแท่นกลึง สามารถนำไปคำนวณค่าการกระจายของสัมประสิทธิ์การลดลงของแฟนตอมได้ตามวิธีการที่คอร์แม็กเตรียมไว้ ปรากฏว่าได้ผลการคำนวณสอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างดีเยี่ยม คอร์แม็กแสดงผลงานนี้ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยทัฟต์ส (Tufts University) ปรากฏว่าไม่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักฟิสิกส์รังสี (radiological physicist) แต่ผลงานของเขาได้ตีพิมพ์ไว้ในวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง และเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า คอร์แม็กคือผู้เริ่มต้นงานเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
Reference 2.Cormack AM. Representation of a function by its line integrals with some radiological applications. J Appl Phys 1963; 34:2722-2727.
Reference 2.Cormack AM. Representation of a function by its line integrals with some radiological applications. J Appl Phys 1963; 34:2722-2727.
Reference 3.Cormack AM. Representation of a function by its line integrals with some radiological applications II. J Appl Phys 1964; 35:2908-2913.
ค.ศ.1967-1972 Hounsfield
เฮานสฟิลด์ (G.N. Hounsfield) วิศวกรของบริษัทอีเอ็มไอ (EMI, Electric and Musical Industries) มีความเชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ ผลงานวิจัยทางคอมพิวเตอร์ของเขานำไปสู่การพัฒนา EMIDEC 1100 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ออกแบบมาใช้งานทางด้านธุระกิจในประเทศอังกฤษ เฮานสฟิลด์เริ่มงานหลังคอร์แม็กร่วม 10 ปี งานของเขาไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเลียนแบบงานของคอร์แม็ก แรงผลักดันที่ทำให้เฮานสฟิลด์สนใจค้นคว้าเรื่องนี้ เกิดจาการที่ต้องทำงานตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการวิจัยที่บริษัทอีเอ็มไอ ค.ศ. 1967 เขาคาดหมายว่า ค.ศ.1967-1972 Hounsfield
เทคนิคทางคณิตศาสตร์น่าจะถูกนำมาใช้คำนวณสร้างภาพในร่างกายผู้ป่วยได้ โดยคำนวณจากข้อมูลความเข้มรังสีที่วัดได้จากการที่รังสีทะลุผ่านร่างกายของผู้ป่วยออกมา
เขาตระหนักดีว่า การได้มองเห็นภาพของร่างกายผู้ป่วยถูกตัดออกมาเป็นชิ้นบางๆ จะต้องเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับงานทางด้านการวินิจฉัยโรคด้วยรังสี
เฮานสฟิลด์เริ่มพิจารณาทฤษฎีการคำนวณสร้างภาพอย่างละเอียด โดยได้มีการคำนึงถึงอันตรายที่ผู้ป่วยจะได้รับและความถูกต้องของภาพที่จะเกิดขึ้นด้วย เขาเริ่มทำการทดลอง ด้วยการสร้างเครื่องมือที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับเครื่องมือของคอร์แม็ก แต่ใช้รังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากธาตุอะเมอริเซียม (americium) ยิงทะลุผ่านแฟนตอม แล้วใช้หัววัดแบบผลึก (crystal detector) เป็นตัววัดรังสีแกมมา ข้อมูลความเข้มของรังสีแกมมาที่ทะลุผ่านแฟนตอมออกมาทั้งหมด จะถูกบันทึกลงบนเทปกระดาษแล้วนำไปคำนวณสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ใช้คือ การสร้างภาพแบบอิทเทอเรชัน (iterative reconstruction) การทดลองในตอนแรกนี้กระทำหลายครั้ง พบว่าในการเก็บข้อมูลความเข้มรังสีแกมมาเพื่อให้เพียงพอสำหรับการคำนวณสร้างภาพหนึ่งภาพจะต้งใช้เวลานานถึง 9 วัน และใช้เวลาในการคำนวณสร้างภาพนานถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที
หลังจากที่เฮานสฟิลด์ประสบความสำเร็จในตอนต้นแล้ว เขาได้สร้างเครื่องมือที่มีความสมบูรณ์มากขึ้นและสามารถใช้กับผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย โดยใน วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ได้นำเครื่องที่สร้างเสร็จแล้วไปติดตั้งที่โรงพยาบาลแอทคินสัน มอร์เลย์ (Atkinson Morley) ประเทศอังกฤษ
ย่างเข้าสู่ปี ค.ศ. 1972 เครื่องมือนี้ได้ทดลองใช้กับผู้ป่วยสุภาพสตรี โดยคาดว่าจะสามารถพบความผิดปกติในสมอง พบว่าภาพตัดขวางชิ้นบางๆที่เครื่องมือนี้สร้างขึ้นสามารถมองเห็นชัดเจนว่ามีก้อนกลมสีดำที่เป็นความผิดปกติเกิดในเนื้อสมอง วินิจฉัยว่าเป็นถุงน้ำ (cyst) เฮานสฟิลด์ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลทางคลินิกเป็นเวลานาน 1 ปี 6 เดือน หลังจากนั้นจึงได้นำผลงานไปแสดงในการประชุมทางวิชาการประจำปีของ British Institute of Radiology ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1972 ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างสูงจากนักวิชาการและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสี นับเป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติการถ่ายภาพเอกซเรย์ เป็นการเปลี่ยนแปลงศาสตร์ของการถ่ายภาพเอกซเรย์อย่างใหญ่หลวง (Paradigm Shift) จากที่เข้าใจง่ายๆแบบ Shadow Technique มาเป็นแบบที่ต้องคำนวณเพื่อสร้างภาพ
ย่างเข้าสู่ปี ค.ศ. 1972 เครื่องมือนี้ได้ทดลองใช้กับผู้ป่วยสุภาพสตรี โดยคาดว่าจะสามารถพบความผิดปกติในสมอง พบว่าภาพตัดขวางชิ้นบางๆที่เครื่องมือนี้สร้างขึ้นสามารถมองเห็นชัดเจนว่ามีก้อนกลมสีดำที่เป็นความผิดปกติเกิดในเนื้อสมอง วินิจฉัยว่าเป็นถุงน้ำ (cyst) เฮานสฟิลด์ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลทางคลินิกเป็นเวลานาน 1 ปี 6 เดือน หลังจากนั้นจึงได้นำผลงานไปแสดงในการประชุมทางวิชาการประจำปีของ British Institute of Radiology ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1972 ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างสูงจากนักวิชาการและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสี นับเป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติการถ่ายภาพเอกซเรย์ เป็นการเปลี่ยนแปลงศาสตร์ของการถ่ายภาพเอกซเรย์อย่างใหญ่หลวง (Paradigm Shift) จากที่เข้าใจง่ายๆแบบ Shadow Technique มาเป็นแบบที่ต้องคำนวณเพื่อสร้างภาพ
Reference 4. Hounsfield GN. Computerized transverse axial scanning (tomography) : Part 1. Description of system. Br J Radiol 1973; 46:1016-1022.
เครื่องมือที่เฮานสฟิลด์สร้างขึ้นในตอนแรกสามารถใช้วินิจฉัยโรคเฉพาะส่วนศีรษะเพียงอย่างเดียว และเนื่องจากเฮานสฟิลด์เป็นวิศวกรของบริษัทอีเอ็มไอ เครื่องมือนี้จึงเรียกว่า อีเอ็มไอเฮดสแกนเนอร์ (EMI Head Scanner) นอกจากนี้ยังมีการเรียกชื่อเครื่องมือนี้หลายแบบ เช่น ซีทีเอที (CTAT: Computerized Transverse Axial Tomography) ซีเอที (CAT: Computerized Axial Tomography) ซีทีทีอาร์ที (CTTRT: Computerized Transaxial Transmission Reconstructive Tomography) และอาร์ที (Reconstructive Tomography) เป็นต้น ในที่สุดสมาคมรังสีวิทยาแห่งอเมริกาเหนือ อาเอสเอ็นเอ (RSNA: Radiological Society of North America) ตกลงใช้คำว่า ซีที (CT: Computed Tomography) เพื่อใช้เรียกชื่อเครื่องมือนี้เมื่อมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในวารสารรังสีวิทยาซึ่งเป็นวารสารหลักของสมาคม
ค.ศ. 1979 รางวัลโนเบล
ค.ศ. 1979 รางวัลโนเบล
เมื่อข่าวความสำเร็จของเฮานสฟิลด์แพร่ออกไป ทำให้งานทางด้านนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากจะเปรียบเทียบระหว่างการค้นพบเอกซเรย์โดยเรินท์เกนในช่วงปลายปี ค.ศ.1895 และการประสบความสำเร็จในการสร้างซีทีโดยเฮานสฟิลด์ใน ค.ศ. 1972 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึงประมาณ 77 ปี เรินท์เกนได้รับการยกย่องในฐานะผู้ที่สามารถเปิดเผยภาพอวัยวะภายในของร่างกายมนุษย์ได้ และทำให้คนทั่วไปในเวลานั้นตื่นกลัวปนดีใจกับอำนาจการทะลุผ่านของรังสีเอกซ์ แต่ด้วยประโยชน์มหาศาลของรังสีเอกซ์ในการวินิจฉัยโรคจากภาพเอกซเรย์ ทำให้เรินท์เกนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เป็นคนแรกของโลกใน ค.ศ.1901 สำหรับเฮานสฟิลด์ได้รับการยกย่องและให้เกียรติเทียบเท่าเรนท์เกนจาก รังสีแพทย์ (Radiologist) นักรังสีเทคนิค (Radiological Technologist) นักฟิสิกส์การแพทย์ (Medical Physicist) และวิศวกรที่เกี่ยวข้อง ว่าเป็นผู้ที่เปิดโลกของการวินิจฉัยโรคด้วยรังสีเอกซ์แบบใหม่ จนทำให้เฮานสฟิลด์และคอร์แม็กได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ร่วมกันใน ค.ศ. 1979
Reference 5. Di Chiro G, Brooks RA. The 1979 Nobel prize in physiology or medicine. J Comput Assist Tomogr 1980; 4:241-245.GN.Hounsfield-Autobiography. Nobelprize.org
GN.Hounsfield. Computed Medical Imaging. Nobel Prize Lecture, 8th December 1979.
AM. Cormack-Autobiography. Nobelprize.org
AM. Cormack. Early Two-Dimentional Reconstruction and Recent Topics Stemming From It. Nobel Prize Lecture, 8th December 1979.
Nobel Prizes for Imaging Life
ผมคิดว่าคนทั้งหลายจึงไม่อาจวัดกันที่ปริญญาอย่างเดียว และไม่ควรจะมาเสียเวลาวัดกันว่าคุณจบระดับไหน ฉันจบระดับไหน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความด้อยทางปัญญาที่แท้จริง ที่ร้ายกว่านั้นอาจมีบางคนคิดในเชิงดูถูกผู้ที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าว่าเรียนมาน้อยไม่ค่อยรู้อะไรหรอก ผมคิดว่า เราควรคิดถึงสิ่งที่เราควรทำร่วมกันให้เกิดเป็นประโยชน์ต่อสังคม ตามความสามารถ ตามศักยภาพของเราอย่างเต็มที่ เอาสิ่งดีๆของทุกคนมารวมกันเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาวงการรังสีและสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อยๆ เฮานสฟิลด์เป็นตัวอย่างของคนที่ไม่จบปริญญา ที่มีผลงานระดับดีเลิศ จนได้รับรางวัลโนเบลในปี 1979 ซึ่งเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศสูงสุดในทางวิชาการ และได้รับการสถาปนาให้มีศักดิ์เป็นอัศวิน Sir ของอังกฤษในปี 1981
มานัส มงคลสุข
Related Links:
1. Modern Medicine-Computerized tomography
2. Modern Medicine-History of X-rays
3. A Brief History of CT
4. The Scanner Story: Documentary of Covering early CT Development Part1 Part2
5. World Radiography Day: 8th November 2011
6.How a CT Scan Works by Vanderbilt Biomedical Engineers
7.Beckmann EC. CT scanning the early days. BJR 2006; 79:5-8. (pdf)
STAT
จำนวนผู้อ่านบทความนี้ 1,231 ครั้ง (19กย2554-3กย2556)
จากFB:
ตอบลบTshering Dorji :...........
It is said that the x-ray tube is enclosed in a glass envelope and submerged in oil to promote dissipation of heat generated in the production of x-rays. During the production of x-rays 99% of the energy is converted to heat and <1% is converted to producing x-rays.Therefore, i would like to know how about the CT tube please...
Hi Tshering. Long time no seen. This issue I wrote in Thai version for the occasion of 40 year anniversary of CT.
ตอบลบThe x-rays tube for CT is same as the tube that we use in conventional radiography. The CT tube has been designed to operate in very long exposure time for example 1-5 s. So its size is more lager and must has very high heat capacity, around 7-8 MHU. And you need to have the way to release heat rapidly from CT tube, may use pumping oil circulate around the tube, as an example.
From FB:
ตอบลบTshering Dorji:...........
ok...Sir...thanks for your information khap....hope u and ur families are fine and in good health...here, i am fine n happy......
FB:..........
ตอบลบLhor Damrong:......
Thank you so much
ธารารัตน์ อ่อนอินทร์:........
ขอบคุณค่ะอาจารย์