(794 ครั้ง)
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมใน การประชุมทางวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประจำปี 2555 เรื่อง "บทบาทของสภาวิชาชีพที่มีต่อการรับรองหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษา" และเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมใน การประชุมทางวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประจำปี 2555 เรื่อง "บทบาทของสภาวิชาชีพที่มีต่อการรับรองหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษา" และเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ย. 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
งานนี้มีวิชาชีพทั้งหมด
14 วิชาชีพมาเข้าร่วมประชุม ได้แก่ แพทย์
ทันตแพทย์ เภสัชกรรม พยาบาล กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค สัตวแพทย์
วิศวกร สถาปัตยกรรม ทนายความ บัญชี ครู/บุคลากรทางการศึกษา
และวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมประมาณ 800
คน ประกอบด้วย อธิการบดี คณบดี หัวหน้าภาควิชา ผู้บริหาร และอาจารย์
โดยสามารถแยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ส่วนสถาบันผู้ผลิต
และส่วนสภาวิชาชีพ สำหรับรังสีเทคนิคเป็นวิชาชีพเดียวที่เป็นคณะกรรมการวิชาชีพ
ผมจึงไปในนามทั้งสองภาคส่วนนั้น คือ เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะถูกประเมินและผู้ประเมิน
การประชุมกลุ่มวิชาชีพ 14 สาขา
วันที่ 12 พ.ย.
ช่วงบ่าย ทุกวิชาชีพแยกย้ายไปประชุมกลุ่มย่อย สำหรับกลุ่มรังสีเทคนิค อาจารย์จากสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคทั่วประเทศ
และคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคจำนวนประมาณ 40
คน ได้ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมสมองเรื่อง "บทบาทที่เหมาะสมของคณะกรรมการวิชาชีพรังสีเทคนิคต่อการรับรองสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรสาขาวิชารังสีเทคนิค"
โดยมีผมเป็นประธานกลุ่ม และ ผศ.ดร.บรรจง เขื่อนแก้ว ประธานคณะกรรมการวิชาชีพฯจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเลขานุการ
ประเด็นที่พูดคุยกันในที่ประชุมกลุ่มรังสีเทคนิค เนื้อหา+กระบวนการ ในการประเมินสถาบัน |
กระบวนการในการประเมินสถาบัน |
รายงานผลการประชุมกลุ่มวิชาชีพรังสีเทคนิค
วันที่ 13 พ.ย.
ช่วงเช้า เป็นการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยของทุกกลุ่มวิชาชีพ ผมในฐานะประธานเป็นผู้นำเสนอรายงานผลการประชุมกลุ่มวิชาชีพรังสีเทคนิค
ดังนี้
ผลกระทบต่อสังคม
วันถัดมา สื่อมวลชนได้เสนอข่าวการรายงานของกลุ่มวิชาชีพทั้ง 14 กลุ่มวิชาชีพ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ สยามรัฐ ผู้จัดการ มติชน เป็นต้นขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ |
จาก FB:......
ตอบลบSamrit Kittipayak.....
ที่จริงต้องบอกว่า...รายได้สูงกว่าอาจารย์ที่สอน 2-3 เท่า ทันทีที่เรียนจบคับ เอิ้กๆๆ
Pattanuch Kadeewee....
รายได้ดีหมายถึงผู้ประกอบการค่ะ อยู่โรงพยาบาลเมยวดีเงินเวร 2500 บาทสุดจะหรูแล้วค่ะ
Jaeng Napaporn...
เฉพาะเงินเดือนไม่เท่าไหร่หรอกค่ะ ที่ได้เยอะเพราะรวมค่าเวรด้วย ถ้าไม่ขึ้นเวรก็ได้น้อยนะคะ
Atchareeya Sirotthanagul...
ถ้าเปิดAECเมื่อไหร่ ประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาเเย่งตำเเหน่งงานรึป่าวคะ
Momay Jg...
อย่างนี้จะต้องลดเงินเดือนหรือเปล่าเพื่อให้รังสีไทยไม่ต้องโดนแย่งงาน
Buasri Janin...
ขึ้นอยู่กับว่าจบมาปีไหน ถ้าจบมานานแล้ว เงินเดือนเด็กจบใหม่ ก็เกือบเท่าคนที่ทำงานมานาน สังเกตุดู แค่เรียนจบ start เท่ากับเราที่ทำงานมา 10 ปีเลย
จาก FB:.....
ตอบลบChawal Ku...
เด็กเพิ่งเริ่มทำงาน ได้เงินเดือนเยอะเกือบเท่าคนทำมานาน รพ.รัฐบาลจึงขาดคนแคลนคนทำงาน เพราะคนเก่าน้อยใจพากันเกษียณก่อนอายุกันหมด