วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เส้นทางเดินของ RT Consortium


(1,957 ครั้ง)..
ผมขอแนะนำให้รู้จัก RT Consortium หรือที่ประชุมสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคอีกสักครั้ง เพื่อให้รู้จักกันดีมากขึ้น ที่ประชุมนี้ประกอบด้วย หัวหน้าภาควิชา ประธานหลักสูตร และอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสถาบันผู้ผลิตฯ ได้แก่
ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สาขาวิชารังสีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันยุบเลิก แต่กำลังจะมีโครงการบัณฑิตรังสีเทคนิคในเวลาอันใกล้นี้)

การรวมตัวกันของสถาบันผู้ผลิตฯทั้งหลายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในเรื่องที่เกี่ยวกับ
หลักสูตรรังสีเทคนิค ทั้งทางด้านเนื้อหาของหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างที่ทันสมัยตอนนี้คือ การทำ มคอ.1 ร่วมกันเพื่อการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องตามมาตรฐาน TQF การปรับตัวเตรียมการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 การเลื่อนเปิดภาคการศึกษาจากเดิมที่เปิดเดือนพฤษภาคมไปเป็นเดือนสิงหาคม การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในการสอนนักศึกษาเพราะประชาคมอาเซียนตกลงใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ฯลฯ
เสนอแนะคณะกรรมการวิชาชีพในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น เนื้อหาการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคและข้อสอบที่ใช้ เป็นต้น
เรื่องอื่นๆที่เห็นว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้อง
การประชุม RT Consortium เริ่มครั้งแรกเมื่อปี 2550 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นครั้งที่ 10 แล้ว หลังๆจะมีคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคที่เห็นความสำคัญและนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย งบประมาณที่ใช้ในการประชุม สถาบันแต่ละแห่งรับผิดชอบกันเอง และผลัดกันเป็นเจ้าภาพ การจัดประชุมครั้งหลังๆได้รับน้ำใจ คือเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งไม่มากนักจากสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยครับ

และต่อไปนี้ ขอลำดับการประชุม RT Consortium ทั้ง 10 ครั้งเอาไว้ เป็น Time line ให้เห็นในภาพสรุปว่าเราได้เดินกันมาอย่างไร เพื่อให้การเดินต่อไปข้างหน้ามีทิศทางการเดินที่เด่นชัดและถูกทิศถูกทางยิ่งๆขึ้น

ครั้งที่ 1 (18-19 มค 2550)
เชียงใหม่ ภาควิชารังสีเทคนิค
ปฐมฤกษ์เบิกวิถี.....................
พิจารณาขอบเขต สิ่งที่เป็น must know และ must do ของกลุ่มรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
ครั้งที่ 2 (17-18 มค 2551)
นเรศวร ภาควิชารังสีเทคนิค
เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตรังสีเทคนิค
-มีการทำความเข้าใจ(ร่าง) สมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคซึ่ง ก.ช. (คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค) ยังไม่ได้ประกาศใช้
- มีการพิจารณา Competency of Practice ของบัณฑิตว่าขั้นต่ำแล้วสามารถทำอะไรได้บ้างทั้ง 3 สาขา
ครั้งที่ 3 (25-26 มีค 2552)
เชียงใหม่ ภาควิชารังสีเทคนิค

เสนอ ก.ช. เรื่อง สัดส่วนของเนื้อหาที่ใช้สอบเพื่อขอขึ้นทะเบียน (สอบใบประกอบฯ) โดยแบ่งเป็น วิชาทั่วไป (100 คะแนนรวมกฎหมายและจรรยาบรรณ  40 คะแนนด้วย) วิชาชีพ (100 คะแนนสอบเฉพาะ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)...ผลคือ ก.ช. แบ่งกลุ่มเนื้อหารการสอบเหมือนเดิม
ครั้งที่ 4 (สิงหาคม 2552)
เชียงใหม่ ภาควิชารังสีเทคนิค
พิจารณาจัดทำคลังข้อสอบใบประกอบฯ หมวดทั่วไป
ครั้งที่ 5 (สิงหาคม 2552)
รามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์

พิจารณาจัดทำคลังข้อสอบใบประกอบฯ หมวดวิชาชีพ และสรุปรวบรวมส่งให้ ก.ช. พิจารณาใช้
ครั้งที่ 6 (1-2 เมย 2553)
ขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์

เริ่มพิจารณา มคอ.1 มาตรฐานอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค ตอนนั้นเราไม่กล้าที่จะรับเป็นที่ปรึกษาของ สกอ. เพื่อทำ มคอ.1  เพราะไม่แน่ใจว่าจะทำได้ทันหรือไม่ เพราะมีเวลาทำ 6 เดือนหลังจากตกลงกับ สกอ. แล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ได้ คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ Learning Outcome หรือมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน
ครั้งที่ 7 (15-16 กค 2553)
มหิดล ภาควิชารังสีเทคนิค โรงแรมรอยัลซิตี้

หลักสูตรรังสีเทคนิคตามกรอบมาตรฐาน TQF:HEd” พิจารณา มคอ.1ต่อ ยืนยันคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ Learning Outcome หรือมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน และคุยกันต่อลึกลงไปถึงเนื้อหาขั้นต่ำที่ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ควรมี เลยไปถึงการพิจารณา Curriculum Mapping ของรายวิชาในแต่ละสาขาด้วยแต่ไม่เสร็จสมบูรณ์
ครั้งที่ 8 (4-5 พย 2553)
จุฬาฯโรงเรียนรังสีเทคนิค สภากาชาดไทย (รร.ตะวันนา)
คุยกันต่อลึกลงไปถึงเนื้อหาขั้นต่ำที่ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ควรมี รวมถึงการพิจารณา Curriculum Mapping ของรายวิชาในแต่ละสาขาจนครบถ้วน
ครั้งที่ 9 (10-11 กพ 2554)
เชียงใหม่ ภูอิงฟ้ารีสอร์ท

ได้ มคอ.1 อยู่ในระหว่างการนำไปสู่การประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ครั้งที่ 10 (19-21 กค 2555)
นเรศวร ภูแก้วรีสอร์ท เขาค้อ

คุยกันเรื่อง
การจัดทำข้อสอบ สาขารังสีเทคนิค ให้สอดคล้องตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค เพื่อส่งให้ ก.ช. พิจารณาใช้เป็นข้อสอบใบประกอบฯ
-เสวนาการเตรียมพร้อมของสถาบันผู้ผลิต บัณฑิตสาขาวิชารังสีเทคนิคสู่ประชาคมอาเซียน
-เสนอแนะ ก.ช. ควรเพิ่มจำนวนข้อสอบให้มากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหา เช่น ข้อสอบวิชาชีพเป็น 200 ข้อเป็นต้น
ครั้งที่ 11 (ยังไม่กำหนดวัน 2556)
มหิดล ภาควิชารังสีเทคนิค เป็นเจ้าภาพ
            เนื้อหาที่จะพูดคุยกันในครั้งที่ 11 นี้ ยังไม่ได้สรุป แต่จากการประชุมครั้งที่ 10 ที่เขาค้อ ได้มีการปรึกษากันว่าน่าจะเป็นเรื่อง ความชัดเจนของเนื้อหาในแต่ละหมวดวิชาตามสมรรถนะของวิชาชีพที่ใช้สอบใบประกอบฯ  การเตรียมการและดำเนินการเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนของสถาบันผู้ผลิตฯ

       เส้นทางเดินของ RT Consortium ที่ผ่านมาประมาณ 6 ปี ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้ ใครที่สนใจได้ค้นหาคำตอบและความหมายต่างๆได้อย่างมากมาย เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยใครคนใดคนหนึ่งหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งเพียงสถาบันเดียว มันไม่ใช่เรื่องของ “ไก่ขันตะวันขึ้น” แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของ ไก่ไม่ขัน ตะวันก็ขึ้น มันเป็นร่องรอยที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกสถาบันและทุกคน มันเป็นร่องรอยที่น่าภาคภูมิใจ และมันจะยังคงเป็นเช่นนี้ตลอดไปครับ
Related Links:
1.)ประชาคมอาเซียนกับวิชาชีพอาเซียน
2.)ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558
3.)ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน 2558
4.)บัณฑิตคุณภาพในศตวรรษที่ 21
5.)ปัจจัยที่กระทบการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค พ.ศ. 2555-2559
6.)มคอ.1 มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค
7.)พิมพ์เขียวรังสีเทคนิค 2555-2559
8.)กำเนิดรังสีเทคนิค สปป.ลาว
9.)9th RT Consortium ทำให้ขนลุก
10.)RT Consortium ครั้งที่ 7


1 ความคิดเห็น:

  1. จาก FB: (24-07-2555)

    Thunyarat Chusin:.........
    ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านจากทุกสถาบัน ที่ตั้งใจทำงานอย่างสุดกำลังตลอดมาค่ะ "ผู้ปิดทองหลังพระ"

    เจตต์ จันทรัตน์:............
    ขอบคุณ อ.ที่ปิดทองหลังพระมาตลอดหลอด " หวังว่าคงเป็นทองแท้นะครับ " กรณีศึกษา ปิดรังสี มข.คงเป็นผลงานชิ้นเอกนะครับ

    ตอบลบ