วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประกายรังสีรำพึงรวมมิตร#2

     
(502 ครั้ง)
     เวลาโพสต์เรื่องต่างๆใน FB รู้สึกได้ว่า ได้พูดคุยกับชาวเราทำให้คุ้นเคยกันมากขึ้น บางเวลาก็คิดว่าเขียนๆไปเฮ่อะ สนุกๆขำๆ เลยเขียนไปเรื่อย ได้รับ comment บ้างตามสมควร บางครั้งได้คุยเรื่องจริงจึงบ้าง บางเรื่องเป็นมุมมองที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเรื่องที่ชาวเราทราบดีคือรังสีและหลักในการวางใจ จึงขอนำมารวบรวมไว้ คราวนี้เรียกว่า "ประกายรังสีรำพึง#2" ต่อจากที่เคยเขียน "ประกายรังสีรำพึงรวมมิตร" มาแล้ว ตั้งแต่ รำพึง 01-22 

รำพึง 23-Beam Alignment v.s. Mind Alignment
     แนวศูนย์กลางลำรังสีเอกซ์ควรตั้งฉากกับ cassette แต่ด้วยเหตุและปัจจัยบางอย่างทำให้มันเอียงและมักจะเอียงไปทางใดทางหนึ่งแบบ systematic เรายอมรับความเอียงของมันไม่เกิน 3 องศา…..จิตของเราก็เป็นเช่นนั้น ต่างกันที่จิตถูกกิเลศชักนำให้แกว่งออกจากศูนย์กลางบ่อยมาก ไม่มีทิศทางแน่นอน และยังไม่มีมาตรฐานว่าต้องแกว่งไม่เกินกี่องศา 



รำพึง 24-ประกายดาว v.s ประกายเอกซเรย์
     ดวงดาวบนท้องฟ้าถูกบดบังด้วยก้อนเมฆ ก็หาใช่ว่าดาวดวงนั้นจะสิ้นแสงไร้ซึ่งประกายดาวไม่...เอกซเรย์ก็เช่นกัน แม้ไม่อาจทะลวงผ่านแผ่นตะกั่วได้ แต่ก็หาใช่ว่าจะไม่มีเอกซเรย์

รำพึง 25-เอกซเรย์ v.s. ความรัก
     เอกซเรย์มีความละเอียดมาก มันสามรถซอกแซก ชอนไช ทะลุทะลวงไปได้ทั่ว...แต่ก็ยังมีสิ่งที่ละเอียดกว่าเอกซเรย์อีก ชาวเรารู้ไหม มันคืออะไร?...มันคือความรักยังไงล่ะครับ จึ่งมีคำพูดว่า ความรักไม่มีพรมแดน
     ความรักเป็นสิ่งงดงาม ความรักมิได้เกิดจากการบีบคั้น ความรักมันเกิดเอง เหมือนอิเล็กตรอนพลังงานจลน์สูงวิ่งชนเป้าแล้วเกิดเอกซเรย์...รักกันทุกวันตลอดไปนะครับ

รำพึง 26-Luminescence v.s. ความโกรธ

     Fluorescence=โกรธง่าย หายเร็ว...เป็นกระบวนการที่สารเรืองแสงถูกกระตัุนด้วยเอกซเรย์หรือพลังงานที่พอเหมาะแล้วคายแสงทันที เมื่อหยุดกระตุ้นก็หยุดคายแสง
     Phosporescence=โกรธง่าย หายยาก...เป็นกระบวนการที่สารเรืองแสงถูกกระตุ้นด้วยเอกซเรย์หรือพลังงานที่พอเหมาะแล้วคายแสงทีละน้อยเป็นระยะเวลานานแม้จะหยุดกระตุ้นแล้วก็ตาม
     ตามนั้นเลยครับ แล้วชาวเราเป็นแบบไหนกันครับ?

รำพึง 27-พระอาทิตย์ v.s. เอกซเรย์
     พระอาทิตย์มีพลังตอนกลางวัน พระจันทร์มีพลังตอนกลางคืน เอกซเรย์มีพลังทั้งกลางวันและกลางคืน

รำพึง 28-Free v.s. Free will
มี free will ในการเลือกกิน???
     เพราะมีสิ่งนี้ จึงเกิดสิ่งนี้เพราะเกิดสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้ไม่มี free will ทุกสิ่งเชื่อมโยงกันชาวเราไม่มีอิสระในการคิด ทำ พูด หรอกมันต้องมีอิทธิพลจากอะไรบางอย่าง มาทำให้คิด ทำ พูด อิทธิพลเหล่านั้น ดีหรือไม่ดี ผู้มีปัญญาย่อมรู้ได้ด้วยปัญญา เพราะในที่สุดมันส่งผลดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ 

รำพึง 29 
     "ดีเลวส่องด้วยจิต ส่องชีวิตด้วยรังสี"

รำพึง 30
     ความสุขง่ายๆ แค่วางใจให้ถูกที่ ทำหน้าที่ให้ถูกต้องหรือ....
"ไม่มีสุขไหนจะเท่า ศุกร์เสาร์อาทิตย์" ชาวเราหลายคนอาจกำลังคิดแบบนี้. แต่หลายคนอาจกำลังคิดว่า "สุขไม่เป็นที่เป็นทาง สุขไม่เป็นเวล่ำเวลา นั่นแหล่ะสุขของจริง".. .

รำพึง 31
     "จิตใจของคนเราก็เปรียบได้เหมือนกับขวดเปล่า...จะมีคุณค่าแค่ไหนขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใส่ลงไป"...คือถ้าใส่น้ำเปล่าจะมีค่าประมาณ 5 บาท แต่หากใส่น้ำหอมและแบรนด์ดังๆ ค่าของมันจะมากกว่าน้ำเปล่าหลายเท่านัก

รำพึง 32
     ชายหนุ่มเดินถือ iPhone-6 แถวอนุสาวรีชัยฯตอนห้าทุ่มครึ่ง โจรเข้าไปแย่งเอา iPhone เกิดการยื้อกัน ต่อสู้กัน โจรหนีไป และไม่ได้ iPhone แต่ชายคนนั้นบาดเจ็บสาหัส...นี่เป็นเรื่องจริง ที่น่าคิดมาก ผมคิดว่า เราไม่ควรเสี่ยงชีวิตเพื่อ iPhone ไม่คุ้มครับ บาดเจ็บเสียเงินรักษามาก เสียเวลาและไปทำงานไม่ได้อีกนาน...เราควรเป็นเจ้าของ iPhone ไม่ใช่ iPhone เป็นเจ้าของเราที่เราสละชีพเพื่อมันได้

รำพึง 33 
     ชาวเราหลายคนคงไม่ชอบที่จะให้ใครมาตำหนิหรือวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ...จริงรึไม่...แต่ผู้รู้กล่าวว่า..."Criticism is a gift."

รำพึง 34
     Albert Einstein นักฟิสิกส์จ้าวแห่งทฤษฎีสัมพัทธภาพบอกเราว่า..."ทุกคนมีความอัจริยะในแบบของตัวเอง ถ้าหากเราตัดสินปลาโดยใช้ความสามารถในการปืนต้นไม้ จะทำให้มันคิดไปจนตลอดชีวิตว่า มันโง่"....ฉะนั้น จงอย่าด่วนตัดสินใครแบบสุ่มสี่สุ่มห้าและโดยใช้มาตรฐานของตัวเองเป็นที่ตั้ง

รำพึง 35
     อ่อนน้อม อ่อนโยน อ่อนหวาน นั้นดีแล้ว อ่อนข้อให้เขาบ้าง ก็ยิ่งดีแต่...อ่อนแอนั้น ไม่ดี

รำพึง 36
     ผู้รู้กล่าวว่าการยิ้ม การให้อภัย ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่การแก้แค้น กลับลงทุนมาก มากจริงๆ

รำพึง 37-ชัดเจนแต่คลุมเครือ
     "ถอดรองเท้า ชั่งน้ำหนัก นั่งรอ"
นี่คือป้ายข้อความที่ติดไว้ หรือประโยคที่คุณพยาบาลบอกคนไข้ เพื่อแนะนำคนไข้ที่ต้องชั่งน้ำหนัก ก่อนตรวจ...มีเรื่องให้ฮาละครับ เพราะมีคนไข้บางคนถอดรองเท้าแล้วเอารองเท้าไปวางบนเครื่องชั่งแล้วก็นั่งรอหน้าตาเฉย

รำพึง 38-ชัดเจนแต่คลุมเครือ
     เช้าตรู่ย่าหลานเตรียมของใส่บาตรพระเรียบร้อยแล้ว ระหว่างรอพระย่าสอนหลานว่า
     ย่า..."เวลาพระมา ให้ถอดรองเท้าใส่บาตรนะ"
     หลาน..."ครับย่า"
เมื่อพระมาถึง พระเปิดฝาบาตร ทันใดนั้น เจ้าหลานย่าก็ถอดรองเท้าแล้วหยิบรองเท้าใส่ลงในบาตรพระอย่างเร็ว พระและย่าตลึงเงียบกริบไปชั่วขณะ หลานยิ้มแป้นเลย...

รำพึง 39-เขย่าน้ำใส     ประชุม RT Consortium (สถาบันผู้ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิค) ที่พิษณุโลก เมื่อ 11-13 กพ. 2558 ที่ผ่านมา ผมถูกรถเขย่ากว่า 350 กิโล เกิดอาการเมารถซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน หลังจากนั้นมึนเวียน ใจสั่น น้ำหนักลดจนซูบ จากนั้นใช้เวลาคลำหาว่าเป็นอะไร โดยความช่วยเหลือของชาวเรา ตอนนี้รู้แล้วว่าเป็นอะไร ...ที่ผ่านมา สุขภาพของเรามันเหมือนน้ำในแก้วใสที่มีตะกอนนอนก้นแต่เราไม่รู้ วางไว้บนโต๊ะนิ่งๆ ก็ดูใสดีไม่เห็นตะกอน แต่พอเขย่าแก้ว แค่เบาๆเท่านั้น ตะกอนก็จะลอยขึ้นมาเห็นได้ชัด...ฉะนี้แล


Related Links:

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรังสีเทคนิค


(512ครั้ง)     
     ในคราวประชุมสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคครั้งที่ 13 (13th RT Consortium) ภายใต้หัวข้อสำคัญคือ “21st Century Radiological Technology Education” ซึ่งภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพ โดยได้จัดให้มีการประชุมที่ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด็โฮเต็ล แอนด์รีสอร์ท จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2558 มีอาจารย์ที่สอนรังสีเทคนิคทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมด้วยร่วม 60 คน เจ้าภาพได้เชิญให้ผมพูดตอนเช้าหลังเปิดการประชุมเพื่อเป็นการเกริ่นนำ เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรังสีเทคนิคใช้เวลาประมาณ 30 นาที ผมจึงขอนำเนื้อหาสำคัญที่พูดในวันนั้นมาบันทึกไว้ในประกายรังสีครับ
ศาสตราจารย์ทวีสุข กรรล้วน (เสื้อม่วง) คณบดี และผศ.ดร.นันทวัฒน์ อู่ดี (ที่สองจากขวา)
หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้การต้อนรับ
ผศ.ดร.นันทวัฒน์ อู่ดี มอบของที่ระลึกหลังบรรยายเสร็จเรียบร้อย
ผู้เข้าร่วมประชุม(ส่วนหนึ่ง) 13th RT Consortium

คุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง ?????
     ผมเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า คุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง ???”
     คำตอบควรเป็นอะไร... ไม่รู้” “รู้แบบคลุมเครือ หรือ รู้อย่างชัดเจน
     คุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์มีอะไรบ้างนั้น ในความเห็นของผม อาจารย์ผู้สอนควรรู้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้บริหารจัดการศึกษา ต้องรู้ เพื่อจะได้ดำเนินการสอนให้ได้บัณฑิตรังสีเทคนิคที่ถูกตรงกับที่ตั้งใจไว้

     1) 21st Century Skills
     3) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)..มคอ.1...มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค
     4) การประกันคุณภาพการศึกษา TQA หรือ EdPEx
     5) เกณฑ์มาตรฐานของคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค
        สมรรถนะรังสีเทคนิค  จรรยาบรรณรังสีเทคนิค เกณฑ์ประเมินสถาบัน
     6) ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น บัณฑิตมหิดล
     7) พัฒนาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านรังสีทางการแพทย์
     การจะได้มาซึ่งคุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์นั้น ต้องผ่านกระบวนการพินิจ วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน จนกระทั่งตกผลึกทางความคิดของเหล่าคณาจารย์ในหน่วยงานของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นๆ จนได้คุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะต้องมีคุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์สำคัญๆเหมือนกัน ซึ่งถูกกำกับด้วยมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค (มคอ.1) ที่มีผลโดยตรงมาจาก TQF ที่กำหนดโดย สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ) นอกจากนี้ยังถูกกำกับด้วยสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามประกาศของคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ซึ่งเป็นการเน้นในเรื่องทักษะแห่งวิชาชีพรังสีเทคนิค
ส่วนที่นอกเหนือจากที่ มคอ.1 และมาตรฐานที่คณะกรรมการวิชาชีพฯกำหนด มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งอาจสร้างจุดเด่นของหลักสูตรเพิ่มเติมได้ ให้หน้าตาของบัณฑิตรังสีเทคนิคมีความโดดเด่นเพิ่มเติมได้อีก ซึ่งแต่ละแห่งไม่จำเป็นต้องมีความโดดเด่นเหมือนกัน
     ตัวอย่างจุดเด่นของหลักสูตรรังสีเทคนิค ได้แก่
     รังสีเทคนิคมหิดล...มุ่งสร้างบัณฑิตเข้าสู่วิชาชีพรังสีเทคนิค ซึ่งเป็นการใช้รังสีทางการแพทย์ทั้งในด้านการวินิจฉัยและรักษาโรค นักศึกษาจะต้องเรียนรู้และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในด้านรังสีวินิจฉัย ด้านรังสีรักษา และด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์
     รังสีเทคนิคเชียงใหม่… “การสร้างภาพทางการแพทย์ระดับโมเลกุล (MRI) ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
รังสีเทคนิคนเรศวร… “บัณฑิตมีความสามารถเฉพาะทางมากขึ้น โดยเฉพาะในทางรังสีวินิจฉัยที่เปิดรายวิชาแยกเฉพาะเพื่อให้ศึกษาเจาะลึกมากขึ้น เช่น วิชา CT, MRI หรือ US ในขณะที่ด้านรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ก็ได้เรียนครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและเชิงคลินิกเพื่อให้สามารถเริ่มงานได้หลังจากจบการศึกษา
รังสีเทคนิคสงขลานครินทร์... เน้นไปที่ "ความรู้คู่การปฎิบัติจริง ทั้ง 3 สาขาวิชา หมายความถึง นักศึกษาสามารถเข้าถึงแหล่งการฝึกปฎิบัติจริง ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์พร้อม  จากสถาบันที่เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของตนเอง ที่มีทั้ง 3 สาขาวิชา ได้แก่ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ " และจะเน้นไปที่แต่ละสาขาเชิงลึก ในการให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนเป็นรายวิชาเลือกเสรี  ทั้ง 3 สาขาวิชา ที่นักศึกษาสนใจเจาะลึกแต่ละสาขา ได้แก่  การสร้างภาพทางการแพทย์ การสร้างภาพขั้นสูงทางรังสีรักษา การสร้างภาพขั้นสูงทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งแต่ละสาขานักศึกษาก็จะเข้าถึงแหล่งการเรียนที่คู่กับการปฎิบัติจริง ทุกสาขาวิชา

ทำอย่างไรให้ได้บัณฑิตรังสีเทคนิคมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์??
เราจะมีวิธีทำอย่างไรให้ได้บัณฑิตรังสีเทคนิคมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ วิธีการที่มีการกล่าวถึงและใช้กันมากคือ การศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือ Outcome Based Education (OBE)
เดิมนั้นเราใช้กระบวนการสอนแบบ Informative Education คือสอนให้เป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้เชี่ยวชาญ
ต่อมามีการปรับเปลี่ยนกรบวนการไปเป็นแบบ Formative Education คือสอนให้เป็นนักวิชาชีพ
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Transformative Education คือสอนให้เกิดการเรียนรู้ให้มีความสามารถทางวิชาชีพและสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นด้วย
สำหรับรังสีเทคนิคมหิดลได้ใช้ Transformative Education กระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างลึกซึ้ง ผ่านประสบการณ์ตรงที่สร้างสำนึกใหม่ และเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ ก่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจโลก  และความสัมพันธ์ทางสังคม มีความตื่นรู้ มีสมดุลของชีวิต มีทักษะในการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนย้อนคิด มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสามารถสร้างทีมสุขภาวะเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข แบ่งเป็น 5 ประเภท  ได้แก่ Outcome based learning (OBL), Experiential learning (EL), Interprofessional learning (IEP), Interactive learning (IL), และ Cognitive learning (CL) ซึ่งในหลายมหาวิทยาลัยก็มีการใช้ Transformative Education เช่นกัน แต่รายละเอียดอาจต่างกันบ้าง
หลักของ Outcome Based Education ประกอบด้วย
1) คุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์
คุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์เป็นสิ่งที่ต้องรู้อย่างชัดเจน อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคทุกแห่ง จำเป็นต้องมีความชัดเจนอย่างลึกซึ้งในเรื่องนี้
2) สอนอะไร??
เมื่อรู้คุณลักษณะบัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์อย่างดีแล้ว จะนำไปสู่การออกแบบรายวิชาได้ถูกตรง ทั้งด้านเนื้อหาที่ต้องสอน ปริมาณเนื้อหามากน้อยแค่ไหน จะใช้เวลาสอนกี่ชั่วโมง สุดท้ายจะไปเป็นตัวกำหนดจำนวนเครดิตของรายวิชานั้นๆ และกำหนดว่าสอนอะไรก่อนอะไรหลัง
3) สอนอย่างไร??
กระบวนการสอนเพื่อให้ได้บัณฑิตรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์นั้น เป็นเรื่องท้าทายอาจารย์อย่างมาก อาจารย์จะเลือกใช้วิธีไหนเพื่อสอนนักศึกษา มีวิธีการสอนมากมายหลายวิธี ได้แก่
ใส่เนื้อหาให้ผู้เรียน (Input-based Education)
วิธีนี้เป็นวิธีดั้งเดิม อาจารย์ผู้สอนค่อนข้างสบาย เพราะอาจารย์คิดว่านักศึกษาควรมีความรู้อะไรก็จะ ใส่ความรู้” (Input) เข้าไป โดยวิธีการ บรรยายให้ฟัง นักศึกษาเรียนรู้จากการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) มีอาจารย์เป็นศูนย์กลางของการศึกษา (Teacher-centered) และบังคับให้จำด้วยการ สอบ ถ้านักศึกษาคิดแล้วไม่เหมือนอาจารย์และตอบข้อสอบต่างจากที่อาจารย์สอนก็จะไม่ได้คะแนน
การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-based Learning)
ต่อมามีการใช้วิธีการสอนแบบ ใช้โครงงานเป็นฐานในการเรียนรู้ (Project-based Learning) การเรียนรู้โดยการบริการสังคม” (Service Learning) การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้” (Problem-based Learning) โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered) ซึ่งรายละเอียดของแต่ละแบบนั้นสามารถศึกษาได้จากแหล่งความรู้อื่นๆ
การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง (Transformative Education)
เป็นวิธีการสอนที่ถูกนำมาใช้กันมากขึ้น ประกอบด้วย การเรียนที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Outcome based learning: OBL) การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential learning: EL) การเรียนทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพ (Interprofessional learning: IEP) การเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive learning: IL) การเรียนรู้องค์ความรู้ (Cognitive learning: CL)
     ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบ ห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)
     ห้องเรียนกลับทางคือ การใช้ห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้จริงๆไม่ใช่การสอนแบบใส่เนื้อหาให้นักศึกษา นักศึกษาเตรียมตัวศึกษาข้อมูลต่างๆที่บ้าน อาจารย์เตรียมการอย่างหนักเพื่อให้ห้องเรียนเป็นห้องเรียนจริงๆ
Flipped Classroom เพื่ออะไร???
เพื่อให้นักศึกษาเรียนแล้วบรรลุสภาพ "รู้จริง" (mastery learning) แบบพหุปัญญา
เพื่อให้อาจารย์มีคุณค่าเพิ่มขึ้น อาจารย์ไดโค้ชศิษย์ "ทั้งคน" เป็นรายคน
เพื่อให้อาจารย์ได้ทำ Embeded Formative Assessment คือตรวจสอบการเรียนรู้ของลูกศิษย์ว่าก้าวหน้าไปแค่ไหน และได้ทำ Formative Feed Back
เพื่อให้ห้องเรียนที่มีสภาพ "ปฎิสัมพันธ์หลายทาง" โดยมีนักศึกษาเป็นผู้กระทำ ส่วนอาจารย์เป็นผู้กระตุ้นนักศึกษา
Flipped Classroom มีห้องเรียนเป็นอย่างไร??
จากห้องสอน เป็นห้องเรียน เรียนโดยผู้เรียนลงมือทำและสอนเพื่อน จากเดิมที่อาจารย์เอาแต่พูดๆๆๆๆๆ เปลี่ยนเป็นนักศึกษาพูดเป็นส่วนใหญ่ (ไม่ใช่คุยกันนะครับ) จากเดิมเรียนคนเดียว กลายเป็นเรียนเป็นทีม/กลุ่ม จากเดิมเป็น classroom กลายเป็น studio (ห้องทำงาน) และจากเดิมเพื่อความสะดวกของอาจารย์เปลี่ยนเป็นเพื่อความสะดวกของนักศึกษา เรียนวิชาที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน
Flipped Classroom อาจารย์ทำอะไร??
อาจารย์ต้องรู้จักนักศึกษาให้ดี ใครอ่อน ใครปานกลาง ใครเก่ง อาจารย์ต้องวางแผนว่า  ทักษะและทักษะเฉพาะอะไรที่นักศึกษาต้องเรียน ไตร่ตรองว่าส่วนไหนควรเรียนโดยรับถ่ายทอด ส่วนไหนลงมือปฎิบัติ อาจารย์ต้องเรียนรู้เรื่อง ICT สำหรับทำ VDO แล้วเอาไปแขวนบนเว้ป/ Yoytube, Course Management Software (Moodle, Blackboard, ClassStart) สร้างช่องทางสำหรับสื่อสารกับศิษย์ เช่น Facebook เป็นต้น
อาจารย์ต้อง สอนแบบไม่สอน อาจารย์ร่วมจัดระบบ ICT ทำ VDO สอน 10-15 นาที มีเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนในแต่ละบทเรียน เตรียมวิธีทดสอบ เตรียมกิจกรรม/โจทย์ สำหรับให้ นักศึกษาทำเพื่อเรียนรู้ในชั้นเรียน ส่วนใหญ่ทำเป็นทีม
Flipped Classroom นักศึกษาทำอะไร??
เด็กอ่อน ดู VDO หลายรอบดูที่บ้าน ให้เพื่อนเก่งๆติว
เด็กเก่ง ติวเพื่อน ทำโจทย์/โครงงานที่ท้าทาย ช่วยอาจารย์ทำ VDO คิดโจทย์ คิดวิธีประเมิน

4) ประเมินอย่างไร??
การประเมินเป็นสิ่งสำคัญ การประเมินทำให้อาจารย์รู้ว่านักศึกษาแต่ละคนมีผลการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ทำให้รู้ว่า ในภาพใหญ่นั้นบัณฑิตรังสีเทคนิคมีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราฝันไว้หรือไม่ ในการประชุมสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิค ครั้งที่ 11 (11th RT Consortium) ซึ่งภาควิชารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2556 ในสองวันแรกของการประชุมได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้ตาม TQF” โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ และคณะ เป็นวิทยากร เพื่อให้อาจารย์รังสีเทคนิคทั่วประเทศมีความรู้ความเข้าใจการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้ดียิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์ 
การประเมินในภาพใหญ่ เป็นการประเมินหลักสูตรมีประเด็นมากมายที่มีการกำหนดตัวชี้วัดโดย สกอ. และ สมศ. ตัวอย่างเช่น สำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ว่าสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตหรือไม่ (สกอ.ตัวบ่งชี้ที่ 2.7) สำรวจพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม (ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร) สำหรับนักศึกษาที่ต้องการส่งเสริม (สกอ. ตัวบ่งชี้ที่ 2.8) และสำรวจการได้งานทำของบัณฑิตรังสีเทคนิค ว่าได้งานทำภายใน 1 ปีหรือไม่ (สมศ. ตัวบ่งชี้ที่ 1)
ประเมินเป็นรายวิชา ปัจจุบันมีการใช้ การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) มากขึ้น รายละเอียดของการประเมินมีมากมายรายประเด็น การประเมินแบบเดิมมีความแตกต่างกับการประเมินตามสภาพจริงดังแสดงในตาราง ซึ่งพบว่าการประเมินตามสภาพจริงให้ผลลัพธ์แม่นยำมากขึ้นกว่าวิธีดั้งเดิม

นอกจากวิธีการประเมินที่ต้องเลือกให้เหมาะสมแล้ว เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินก็สำคัญ เช่นที่กล่าวกันมากในตอนนี้คือ เกณฑ์การประเมินเชิงคุณภาพ (Rubric Assessment) เป็นต้น ซึ่งแบ่งเป็น เกณฑการประเมินในภาพรวม (Holistic Rubric) เกณฑการประเมินแบบแยกสวน (Analytic Rubric) 

บทส่งท้าย
     ที่เล่ามาทั้งหมดนั้น จะเห็นว่า กระบวนการเรียนการสอนรังสีเทคนิคควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม อาจนำการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง และ สอนน้อย เรียนรู้มาก (teach less learn more)” มาปรับใช้ อาจารย์รังสีเทคนิคอาจปรับบริบทของตัวเองเป็น ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) เป็นผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา (co-learner/co-investigator) และเป็นผู้แนะแนวทาง(guide/coach) ซึ่งชาวเราบางท่านอาจแย้งว่า รังสีเทคนิคเป็นวิชาชีพจะใช้วิธีสอนน้อยเรียนรู้มากได้อย่างไร ผมมองว่า ถ้าสอนแบบเดิมและประเมินอย่างแม่นยำแล้วพบว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่ดี มีทักษะในวิชาชีพที่ดี และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป ก็สอนแบบเดิมเถอะครับ แต่หากพบว่ามันมีบางส่วนไม่เป็นแบบนั้น เราก็สมควรปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนบ้าง โดยยึดประโยชน์ของนักศึกษาเป็นหลัก “Student Focus”

Related Links:

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

50 ปีรังสีเทคนิคมหิดล ตอนที่ 1

     
     พ.ศ. 2558 เป็นปีที่ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ก่อตั้งมาครบ 50 ปีพอดิบพอดี ในฐานะที่ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนรังสีเทคนิคและเป็นผู้บริหารตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ขอถือโอกาสนี้บันทึกร่องรอยกำเนิดและการเดินทางของภาควิชารังสีเทคนิค เพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบความเป็นมาของภาควิชารังสีเทคนิค และวิชาชีพรังสีเทคนิค เนื้อหาส่วนใหญ่ เรียบเรียงขึ้นโดยใช้ข้อมูลที่มีแหล่งอ้างอิงเป็นเอกสาร บางส่วนได้จากคำบอกเล่าของอาจารย์อวุโสที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว รวมถึงศิษย์เก่าอวุโส ร่องรอยเหล่านี้ถูกบันทึกไว้หลายครั้งแต่กระจัดกระจาย ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2550 ผมได้รวบรวมขึ้นใหม่และตรวจสอบข้อมูลให้สามารถอ้างอิงได้ เขื่อถือได้ และเขียนไว้ในรายงานประจำปีของภาควิชา ต่อจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาทุกปีเพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

     พุทธศักราช 2441
     พระยาบำบัดสรรพโรค  นายแพทย์ใหญ่กองลหุโทษได้สั่งเครื่องเอกซเรย์เครื่องแรกเข้ามาในประเทศไทย  ในครั้งกระนั้นผู้ช่วยแพทย์ในการทำงานด้านเอกซเรย์ก็ได้อาศัยพยาบาลเป็นส่วนใหญ่โดยมีแพทย์เป็นผู้ฝึกหัดให้  ซึ่งก็ทำกันไปได้เนื่องจากงานยังมีไม่มากนัก  ต่อมาการใช้เครื่องเอกซเรย์เริ่มแพร่หลายและเริ่มมีบทบาทสำคัญต่อการวินิจฉัยและรักษาโรคมากขึ้น  เครื่องมือสำหรับใช้งานทั้งทางด้านรังสีวินิจฉัย  รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์  ถูกทยอยสั่งเข้ามาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ 

     พุทธศักราช 2505 การสำรวจของ WHO
นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว
ผู้อำนวยการโรงเรียนรังสีเทคนิค
     องค์การอนามัยโลกได้ส่ง Mr.D.R.E. Ernborg  ผู้ชำนาญทางเอกซเรย์เข้ามาสำรวจในประเทศไทย  ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม พ.. 2505  ถึงวันที่ 4 กันยายน พ.. 2506  พบว่าในขณะนั้นประเทศไทยมีเครื่องเอกซเรย์ใช้มากกว่า 500 เครื่อง  แต่ยังไม่มีบุคลากรที่ได้รับการอบรมเฉพาะด้านรังสีเอกซ์เลย  จึงได้รายงานไว้ในรายงาน  WHO SEA/RAD/11 ว่า ควรจะได้มีการจัดตั้งโรงเรียนอบรมพนักงานวิทยาศาสตร์ในสาขารังสีเอกซ์ขึ้น  ซึ่งองค์การอนามัยโลกก็ได้เสนอรายงานนี้ให้กับรัฐบาลไทย  รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ดำเนินการ  โดยผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข  ศาสตราจารย์นายแพทย์ อำนวย  เสมรสุต  หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลในขณะนั้นได้ปรึกษากับศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล  วีรานุวัตติ์   คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์เห็นพ้องว่า  ควรทำเป็นโครงการร่วมระหว่างภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะเทคนิคการแพทย์เพื่อจัดตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิคขึ้น  โดยจัดให้มีการเรียนการสอนที่คณะเทคนิคการแพทย์   ส่วนสถานที่ฝึกปฏิบัติงานให้ดำเนินการในภาควิชารังสีวิทยา  จากนั้นจึงได้เสนอเรื่องไปทางมหาวิทยาลัย  และสภาการศึกษาแห่งชาติ  (ปัจจุบันคือคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติตามลำดับและได้รับอนุมัติให้ดำเนินการได้  ทางภาควิชารังสีวิทยาได้แต่งตั้งให้นายแพทย์สุพจน์   อ่างแก้ว  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้  พร้อมกันนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกในโครงการ  Thailand project  71  โดยให้ทุนนายแพทย์สุพจน์  อ่างแก้ว  ไปดูงานด้านการจัดตั้งโรงเรียนในประเทศอังกฤษ

     พุทธศักราช 2508 ตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิค
Mr Gordon W. Ward
ที่ปรึกษาจาก WHO
     โรงเรียนรังสีเทคนิค  เริ่มจัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม โดยขึ้นกับสำนักงานเลขานุการคณะเทคนิคการแพทย์  ซึ่งนับได้ว่าเป็นโรงเรียนรังสีเทคนิคแห่งแรกในประเทศไทย  ในการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนองค์การอนามัยโลกได้ส่ง  Mr Gordon W. Ward  ผู้เชี่ยวชาญทาง radiography  มาเป็นที่ปรึกษา  พร้อมทั้งส่งอุปกรณ์ในการสอนมาให้จำนวนหนึ่ง  นักเรียนรุ่นแรกๆ มาจากนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ซึ่งเรียนจบชั้นปีที่ 2 จากคณะวิทยาศาสตร์  และสมัครใจมาเรียนต่อชั้นปีที่ 3 และปีที่ในสาขารังสีเทคนิค  สถานที่เรียนในตอนนั้นกระจัดกระจายอยู่ตามตึกต่างๆ ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังไม่มีสถานที่เรียนถาวรเช่นปัจจุบัน  โดยมีอาจารย์ประจำก็คือ  อาจารย์นายแพทย์สุพจน์  อ่างแก้ว  และอาจารย์มาลี  แปลกลำยอง  ส่วนอาจารย์พิเศษก็ได้คณาจารย์จากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาช่วยสอนหลายท่านด้วยกัน  โดยหลักสูตรที่ใช้สอนนั้นเป็นหลักสูตรซึ่งได้ดัดแปลงมาจากหลักสูตรของประเทศอังกฤษ

     พุทธศักราช 2510 บัณฑิตรังสีเทคนิค รุ่นที่ 1
     
บัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดล รุ่นที่ 1 จำนวน 11 คน นับเป็นบัณฑิตรังสีเทคนิครุ่นแรกของไทย

     โรงเรียนรังสีเทคนิคสามารถผลิตบัณฑิตปริญญาตรีรังสีเทคนิครุ่นแรกได้จำนวน 11 คน  และอนุปริญญารังสีเทคนิคอีก 2 คน(เนื่องจากในขณะนั้นผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละวิชาไม่ถึง 70% ในชั้นปีที่ 3 จะไม่มีสิทธิ์เรียนต่อชั้นปีที่ต้องไปทำงานอีก 1 ปีจึงมาเรียนต่อได้หรือมิฉะนั้นก็ได้รับอนุปริญญาชื่อปริญญาที่ได้รับคือวิทยาศาสตรบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ (รังสีเทคนิค)” ชื่อย่อคือวท..เทคนิคการแพทย์ (รังสีเทคนิค)”  ชื่อภาษาอังกฤษใช้ “Bachelor of Science in Radiological Technology”  ตัวย่อ “B.Sc. (Radiological Technology)” ซึ่งต่อมาในปี พ.. 2525  ได้เปลี่ยนเป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต (รังสีเทคนิค)” ตัวย่อวท..(รังสีเทคนิค)” และภาษาอังกฤษใช้ว่า “Bachelor of Science (Radiological Technology)”  ตัวย่อ “B.Sc. (Radiol. Tech.)” เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  อีกทั้งในปี พ.. 2510 นี้  เป็นปีแรกที่สาขาวิชารังสีเทคนิค ได้รับการบรรจุเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ผู้จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย สามารถเลือกสอบเข้าได้เลย  โดยไม่ต้องผ่านการสอบเข้าสาขาเทคนิคการแพทย์และเลือกเรียนสาขาวิชารังสีเทคนิคในชั้นปีที่ 3 อย่างแต่ก่อน




     พุทธศักราช 2513
     ทางคณะเทคนิคการแพทย์ยกเลิกหลักสูตรอนุปริญญาทั้งหมด คงมีแต่ปริญญาตรีเท่านั้น  และในปีนี้เอง  โรงเรียนรังสีเทคนิคได้รับความเอื้อเฟื้อจากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์  ศิริราชพยาบาล ให้ใช้สถานที่ของตึก 72 ปี ชั้น 6 บางส่วนเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนคือ มีห้องเรียน ห้องทำงานของอาจารย์และฝ่ายธุรการ ทำให้ดูเป็นสัดเป็นส่วนขึ้น

     พุทธศักราช 2514 รังสีเทคนิค 2 ปี
     โรงเรียนรังสีเทคนิคเปิดหลักสูตรพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง  ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อปี พ.. 2511 สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ปรึกษาและเห็นว่าคณะเทคนิคการแพทย์มีความสามารถพอที่จะอบรมพนักงานวิทยาศาสตร์จัตวาเพิ่มขึ้นได้อีกระดับหนึ่ง  ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ  และเพื่อสนองความต้องการของรัฐที่ต้องการให้โรงพยาบาลส่วนภูมิภาคทุกแห่งมีพนักงานวิทยาศาสตร์ทั้งในห้องปฏิบัติการชันสูตรและห้องเอกซเรย์ของโรงพยาบาล  ดังนั้นโรงเรียนรังสีเทคนิคก็เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย  ผู้ที่เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรนี้  ส่วนหนึ่งได้รับการคัดเลือกโดยกรมการแพทย์จากผู้สำเร็จชั้น ม.. 5 (.6 ปัจจุบันของโรงพยาบาลที่ขาดแคลนพนักงานวิทยาศาสตร์  ซึ่งเมื่อสำเร็จแล้วต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามสัญญาที่ได้ทำผูกพันไว้กับเจ้าสังกัดเดิม  อีกส่วนหนึ่งรับคัดเลือกจากบุคคลภายนอกเพื่อผลิตให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง  และก็เช่นเดียวกันนักศึกษาประเภทนี้เมื่อสำเร็จแล้วต้องเข้ารับราชการตามความต้องการของมหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษา  หลักสูตรนี้ใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี  จำนวนนักศึกษาที่รับปีละ 20 คน  อย่างไรก็ตามโรงเรียนรังสีเทคนิคผลิตพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ได้เพียง 3 รุ่น คือ ระหว่างปีพ.. 2516-2518 ก็ล้มเลิกโครงการ  รวมพนักงานวิทยาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 46 คน

     พุทธสักราช 2519 ไฟไหม้ตึก
   เป็นปีที่ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ประสบอัคคีภัยเสียหายเกือบทั้งหลังประจวบกับสถานที่ตั้งของโรงเรียนรังสีเทคนิคที่ตึก 72 ปี ชั้นจะมีการขยับขยายเป็นหอพักผู้ป่วยทางรังสีรักษา  โรงเรียนฯ จึงได้ย้ายมารวมอยู่กับห้องปฏิบัติการกลางของภาควิชาเคมีคลินิค คณะเทคนิคฯ  ที่ตึกตรวจผู้ป่วยนอกเก่า ชั้น 3 ของโรงพยาบาลศิริราช

     พุทธศักราช 2520 เครื่องเอกซเรย์เครื่องแรก
    โรงเรียนรังสีเทคนิคได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์ที่สำคัญมากรายการหนึ่งคือ เครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย 1 เครื่อง  เป็นจำนวนเงิน 600,000 บาท  นับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพในด้านการเรียนการสอน รวมถึงการขยายขีดความสามารถในด้านการวิจัยของอาจารย์และงานด้านบริการของโรงเรียนให้เพิ่มมากกว่าแต่เดิมหลายเท่า

     พุทธศักราช 2522 
     จากโรงเรียนเป็นภาควิชา
นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว
หัวหน้าภาควิชาท่านแรก
     ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ  ทองเจริญ  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์  ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจากศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล  วีรานุวัตติ์  ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของคณะเทคนิคการแพทย์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับโรงเรียนรังสีเทคนิคคือ ได้แยกโรงเรียนรังสีเทคนิคออกจากสำนักงานเลขานุการ และจัดตั้งขึ้นเป็นภาควิชารังสีเทคนิค (ราชกิจจานุเบกษา พิเศษ หน้า ๔ เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๔๑ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๒)
     หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคท่านแรก     หลังจากโรงเรียนรังสีเทคนิคเปลี่ยนมาเป็นภาควิชารังสีเทคนิค ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนรังสีเทคนิค ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคตั้งแต่นั้นมา จนท่านเกษียณอายุราชการในปี พ.. 2531

Related Links:
50 ปีรังสีเทคนิคมหิดล ตอนที่ 2
ตราอันทรงเกียรติของหัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค