(2,696 ครั้ง)
ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2556 และยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545 อ่านแล้วอย่าเพิ่งตกใจนะครับ ว่าวิชาชีพรังสีเทคนิค ไม่เป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตการประกอบโรคศิลปะแล้วหรือไร ไม่ใช่ครับ เนื้อหาที่ยกเลิกไป ถูกปรับเล็กน้อย แล้วยกไปไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2556 ฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆอีก 6 สาขา ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้แก่ สาขากิจกรรมบำบัด สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก สาขาจิตวิทยาคลินิก สาขากายอุปกรณ์ และสาขาการแพทย์แผนจีน
ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2556 และยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545 อ่านแล้วอย่าเพิ่งตกใจนะครับ ว่าวิชาชีพรังสีเทคนิค ไม่เป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตการประกอบโรคศิลปะแล้วหรือไร ไม่ใช่ครับ เนื้อหาที่ยกเลิกไป ถูกปรับเล็กน้อย แล้วยกไปไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2556 ฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆอีก 6 สาขา ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้แก่ สาขากิจกรรมบำบัด สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก สาขาจิตวิทยาคลินิก สาขากายอุปกรณ์ และสาขาการแพทย์แผนจีน
สาระสำคัญประการหนึ่งคือ
คณะกรรมการวิชาชีพ สาขารังสีเทคนิค ที่ยังคงให้มีอยู่ แต่มีการปรับเล็กน้อย
ทว่าอาจจะมีผลกระทบในวงกว้างในอนาคต
ก.ช.ให้คุณให้โทษต่อนักรังสีเทคนิคโดยตรง
มาทบทวนดูครับว่า
หน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพมีอะไรบ้าง ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 23 ของพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ
พ.ศ. 2542 คณะกรรมการวิชาชีพมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1)
รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ
(2)
เพิกถอนใบอนุญาตกรณีผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้นขาดคุณสมบัติ
(3)
เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อใช้อำนาจตามมาตรา 13(2)
(4) ใช้อำนาจตามมาตรา
44
ในกรณีที่ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้นประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
(5)
ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่สถานศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
(6)
แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารด้วยวิธีใด ๆ ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ประชาชนหลงเข้าใจผิด
ซึ่งอาจเป็นอันตรายเนื่องจากการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
(7) ส่งเสริม พัฒนา
และกำหนดมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
(8)
ออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น
(9)
พิจารณาและเสนอชื่อผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพในสาขานั้นเป็นกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
(10)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพเพื่อกระทำการใด ๆ
อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพในสาขานั้น
(11)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพในสาขานั้น
(12)
พิจาณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย
จากหน้าที่ของ
ก.ช. ที่ระบุไว้นี้ เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ให้คุณให้โทษต่อนักรังสีเทคนิคโดยตรง ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค
จนกระทั่งเข้าสู่การทำงานในสายวิชาชีพรังสีการแพทย์
ผู้ที่จะเป็นกรรมการวิชาชีพจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
ถึงบทบาทหน้าที่ของ ก.ช. เพื่อจะได้ทำหน้าที่ได้ถูกต้องเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสำคัญ
(patient focus)
องค์ประกอบของ ก.ช.ที่เปลี่ยนไป
พูดถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาชีพ
สาขารังสีเทคนิค ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2556 เปลี่ยนไปจากเดิมเล็กน้อย แต่สาระของมันอาจจะมองได้ว่าเปลี่ยนไปมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง ได้แก่
ประการแรก การเพิ่มผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเข้ามาอีก
1 คน ซึ่งเดิมมีเฉพาะผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ประการที่สอง ก.ช.ที่มาจากสถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิค เดิมกำหนดให้เฉพาะคณบดีคณะรังสีเทคนิคหรือหัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค
เท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวน
แต่ใน
พรบ.ใหม่กำหนดไว้กว้างมากแล้วให้เลือกกันเองเหลือ 3 คน
แม้ว่า
พรบ.ใหม่จะประกาศใช้แล้วก็ตาม ผมขอแสดงความคิดเห็นไว้สักเล็กน้อย
ก.ช.ที่มาจากสถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิค เปิดโอกาสให้ครอบคลุมถึงหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค
โดยที่หน่วยงานนั้นไม่ต้องมีชื่อเรียกว่า
คณะรังสีเทคนิคหรือภาควิชารังสีเทคนิคก็ได้ ขอเพียงรับผิดชอบจัดการศึกษารังสีเทคนิค
เมื่อ ก.ช.รับรอง สกอ.รับรอง และมีการรับนักศึกษาเข้าศึกษา ก็ใช้ได้แล้ว
แบบนี้ผมก็ว่ายุติธรรมดีครับ
แต่การกำหนดองค์ประกอบในส่วนนี้
สามารถมองได้หลายมุม เช่น มองว่า เป็นการใช้ข้อความ
ในเชิงที่สื่อความหมายไปในทางที่ไม่สนับสนุนให้มีการตั้งสถาบันที่ใช้ชื่อว่า
คณะรังสีเทคนิค หรือภาควิชารังสีเทคนิค จะเป็นสถาบันอะไรก็ได้ ชื่ออะไรก็ได้ ที่สามารถผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค
ถ้า ก.ช. รับรองสถาบันนั้นก็มีสิทธิ์ทั้งสิ้น ส่วนตัวผมไม่ได้รังเกียจสถาบันที่ว่านั้นนะครับ
ในทางตรงข้ามกับรู้สึกยินดีและชื่นชมด้วยซ้ำ ที่สถาบันที่มีความพร้อมเหล่านั้น ให้ความสนใจผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค
และอยากให้ทำให้ต่อเนื่องและยั่งยืน
ประเด็นการเลือกกันเองให้เหลือ
3 คน ไม่น่าจะเป็นไรครับ ถ้าผู้แทนสถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิค มาจากสถาบันที่ ก.ช.รับรอง สกอ.รับรอง
และมีการรับนักศึกษาเข้าศึกษา และถ้ามีการดำเนินการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ยิ่งดีครับ
ทีนี้ลองพิจารณาการเป็นคณะรังสีเทคนิคหรือภาควิชารังสีเทคนิค
ในทางปฏิบัตินั้นอาจทำได้ยาก ถ้าเป็นคณะได้ก็หมดปัญหาไป พอเป็นภาควิชารังสีเทคนิคมันจะไปอยู่ที่หน่วยงานใดล่ะ
แต่การเป็นคณะหรือภาควิชารังสีเทคนิค มีข้อดีที่หนักแน่นมากๆคือ การมีหน้าที่ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคโดยตรง
ความต่อเนื่องจึงมีจึงเกิด ไม่อาจจะทำๆหยุดๆได้ง่ายๆ
แต่การที่สถาบันการศึกษาหนึ่งๆซึ่งมีความพร้อม
ที่ไม่ใช่คณะหรือภาควิชารังสีเทคนิค สนใจจัดทำหลักสูตรเพื่อสอนรังสีเทคนิคนั้น ทำได้ง่ายกว่า
เมื่อ ก.ช. รับรองสถาบันฯ สกอ.รับรองหลักสูตร ก็ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคได้
ศักดิ์และสิทธิ์เท่ากันหมด ซึ่งก็ดีอยู่แล้ว แต่การที่สถาบันนั้นๆจะหยุดผลิตทำได้ง่ายมากเลย
เพราะสถาบันนั้นๆอาจคิดว่าการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคไม่ใช่ภารกิจหลัก ตรงนี้แหล่ะครับเป็นข้อด้อย
แต่หากมีกระบวนการหรือสิ่งยืนยันที่ทำให้ประจักษ์ได้ว่าจะเกิดความต่อเนื่องยั่งยืนได้ก็น่าจะดีครับ
ประการที่สาม องค์ประกอบกรรมการวิชาชีพที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง
คือ ส่วนที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 8 คน ล็อคไว้ที่ 8 คนเท่านั้น โดยเลือกจากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคที่สมัครและผู้มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนคือ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค เดิมอาจจะมีได้เกิน 8 คน ขึ้นกับจำนวนสถาบันผู้ผลิต
ตรงนี้แหล่ะครับที่ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคที่มีความสนใจเข้ามาทำงานในฐานะ
ก.ช. จะต้องลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคทั้งหมดเลือกเข้าไป ผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนสูงสุด
8 อันดับแรก
ก็เข้าไปเป็น ก.ช. วาระ 4 ปี เป็นติดต่อกันได้แค่ 2 วาระ (เดิม 3 ปี และเป็นกี่วาระก็ได้)
ย้ำอีกครั้งครับ
ก.ช. ทุกคนทุกประเภท คือผู้ที่ไปทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสำคัญ (patient focus)
Related Links:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น