วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

แนะนำรังสีเทคนิค


        (35,169 ครั้ง)
     ผู้คนทั่วไป ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับรังสีเทคนิคอยู่มาก เท่าที่พบในอินเตอร์เน็ท มักมีการโพสต์ถามปัญหากันและคนตอบก็ไม่ทราบว่ารู้จริงหรือไม่ ก็ว่ากันไป  จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง
นอกจากอินเตอร์เน็ทแล้ว ที่พบหน้าพบตาพูดคุยกันเลยอันนี้เด็ดกว่า คือผมได้มีโอกาสพบปะผู้ปกครองของนักเรียนที่เลือกเรียนสาขารังสีเทคนิค วันที่สอบสัมภาษณ์ ด้วยความรักลูก ห่วงลูก ผู้ปกครองที่พบกับผมจะมีคำถามยอดฮิตชนิดที่ผมเองคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาสำหรับผู้ปกครอง คือ

เรียนรังสีเทคนิคจะทำให้เป็นหมันไหม ?
      เรียนรังสีเทคนิคอันตรายไหม?
      เรียนอะไรบ้าง?
      ค่าเล่าเรียนแพงไหม?
จบแล้วทำงานรังสีเทคนิคได้เลยหรือไม่?
จะตกงานไหม?
เงินเดือนเท่าไร ความก้าวหน้าล่ะดีไหม?
เรียนต่ออะไรได้บ้าง?
      เปิดสอนที่ไหนบ้าง?
ฯลฯ..................................


ในฐานะที่ผมได้ทำงานทางด้านการศึกษารังสีเทคนิคมามากกว่า 30 ปี เป็นอาจารย์สอนรังสีเทคนิค  เป็นผู้บริหาร และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค  จึงขอใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานเรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับรังสีเทคนิค ทั้งการเรียนและการเข้าสู่ระบบงาน เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียน อาจารย์แนะแนว นักเรียนที่กำลังตัดสินใจเลือกเรียนสายวิชาชีพรังสีเทคนิค มีความเข้าใจที่ถูกต้อง 


คณบดีคณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต พูดคุยเกี่ยวกับหลักสูตรรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต 
ทางโทรทัศน์ดาวเทียมรายการ Wisdom Station (1 มิย 2559)

รังสีเทคนิคคืออะไร?
ว่ากันตามภาษากฎหมายเลยครับ อ่านแล้วไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
รังสีเทคนิค หมายถึง การกระทำใดๆต่อมนุษย์โดยใช้รังสีหรือสารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค การบำบัดโรคหรือการวิจัย ด้วยวิธีการทางรังสีวิทยา หรือการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางรังสีวิทยา เช่น เครื่องเอกซเรย์ธรรมดา เครื่องเอกซเรย์แบบดิจิทัล เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องอัลตราซาวนด์ เครื่องเอ็มอาร์ไอ เครื่อง SPECT เครื่อง PET เครื่องโคบอลต์-60 เป็นต้น

รังสีเทคนิคมีมาตั้งแต่เมื่อไร?
ความต้องการนักรังสีเทคนิค
วิชาชีพรังสีเทคนิค กำเนิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศักราช  2508 โดยภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่มีหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขารังสีเทคนิค ซึ่งผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคออกไปรับใช้สังคมแล้วจนถึงปัจจุบัน ร่วม 2,000 คนแล้ว สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน "ประวัติการสร้างวิชาชีพรังสีเทคนิคครั้งในประเทศไทย" 
บัณฑิตรังสีเทคนิคจากทุกสถาบันที่จะประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค เป็นนักรังสีเทคนิค ต้องสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค ปัจจุบันมีสถาบันที่ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล เชียงใหม่ นเรศวร ขอนแก่น สงขลานครินทร์ จุฬาฯ ม.รังสิต และรามคำแหง รวมนักรังสีเทคนิคที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั่วประเทศไทยประมาณ 4,000 คน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ยังอยู่ในสภาวะขาดแคลน

การสอบข้อเขียนเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
สาขารังสีเทคนิค ครั้งแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2547

สาขารังสีเทคนิคเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?
ก่อนอื่นนักเรียนต้องจบการศึกษาชั้นมัธยมปลายเสียก่อน และสอบเข้าเรียนสาขารังสีเทคนิคให้ได้ 
      การเรียนการสอนในสาขารังสีเทคนิคนั้น มุ่งที่จะสร้างบัณฑิตในระดับปริญญาตรีเข้าสู่วิชาชีพรังสีเทคนิค ซึ่งเป็นการใช้รังสีทางการแพทย์ ใช้รังสีกับมนุษย์ กับผู้ป่วย ทั้งในด้านการวินิจฉัย รักษาโรค และการวิจัย นักศึกษาจะต้องเรียนรู้และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในด้านรังสีวินิจฉัย ด้านรังสีรักษา และด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์

หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค ม.มหิดล (พ.ศ.2551)


      สาขารังสีวินิจฉัย
      ในด้านรังสีวินิจฉัยเป็นการใช้รังสีในการวินิจฉัยโรค ตัวอย่างคือ การถ่ายภาพเอกซเรย์แบบธรรมดา (Conventional X-ray) แบบแอนาล็อกหรือแบบดิจิทัล การเอกซเรย์แบบที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายภาพ 3 มิติของอวัยวะต่างๆ หรือ Computed Tomography (CT) Magnetic Resonance Imaging (MRI)Ultrasound Mammogram เป็นต้น
     
      สาขารังสีรักษา
      ด้านรังสีรักษา เรียนการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อรักษาโรค เช่น โรคมะเร็ง เครื่องมือทางรังสีได้แก่ เครื่องเร่งอนุภาคฉายรังสี เครื่องรังสีรักษาชนิดสัมผัสอวัยวะภายใน เครื่องจำลองการฉายรังสีโดยใช้ X-ray,CT,MRI เป็นต้น
 สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
      ส่วนด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์เรียนการให้สารรังสีเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อถ่ายภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายรวมถึงการรักษาโรค เช่น Single Photon Emission Computed Tomography (SPECT) Bone Densitometer (BD) Positron Emission Tomography (PET) เป็นต้น
      เรียนจบแล้วประกอบอาชีพอะไร?
      ประกอบอาชีพเป็นนักรังสีเทคนิคหรือนักรังสีการแพทย์ ซึ่งทำงานในโรงพยาบาล มีหน้าที่หลักคือถ่ายภาพรังสีเพื่อตรวจอวัยวะภายในร่างกายผู้ป่วย การใช้รังสีเพื่อการรักษาผู้ป่วยด้วยรังสี โดยทำงานเป็นทีมร่วมกับรังสีแพทย์ พยาบาล และนักฟิสิกส์การแพทย์ เนื่องจากเครื่องมือทางด้านรังสีทางการแพทย์มีราคาสูงมาก จึงกล่าวได้ว่า นักรังสีเทคนิคเป็นผู้ที่ใช้เครื่องมือราคาแพงที่สุดในโรงพยาบาลเพื่อให้บริการผู้ป่วย
     เปิดคลินิกรังสีเทคนิค ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายอนุญาตให้นักรังสีเทคนิคที่มีใบประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค สามารถขอเปิดคลินิกรังสีเทคนิคได้แล้ว
หากไม่ชอบทำงานในโรงพยาบาล อยากเป็นนักธุรกิจล่ะ ก็สามารถทำงานเป็นนักธุรกิจ เป็นพนักงานขายเครื่องมือแพทย์ เครื่องมือรังสี ซึ่งมีราคาสูงมาก เครื่องมือบางชนิดราคามากกว่า 100 ล้านบาท เป็นต้น หากทำงานในโรงพยาบาลจึงกล่าวกันว่า นักรังสีเทคนิคเป็นผู้ที่รับผิดชอบการใช้เครื่องมือรังสีวิทยาทางการแพทย์ที่มีราคาแพงที่สุดในโรงพยาบาล

ถ้าเรียนสาขารังสีเทคนิค ระหว่างเรียนและทำงาน รังสีจะมีผลกระทบต่อสุขภาพตนเองมากน้อยแค่ไหน จะเป็นหมันไหม?

การเรียนจนกระทั่งประกอบวิชาชีพในทุกสาขาวิชาชีพมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ วิศวกร นักบิน เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ ฯลฯ มันมีความเสี่ยงกันคนละแบบ และแต่ละวิชาชีพก็จะมีวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงเหล่านั้น จนปลอดภัยมากๆ จนลืมเรื่องอันตรายไปเลย
ในระหว่างการเรียนสาขารังสีเทคนิคนั้น นักศึกษาจะได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีพื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ กายวิภาค การจัดท่าผู้ป่วย การคำนวณปริมาณรังสี ฯลฯ และที่สำคัญและขาดไม่ได้ คือ การป้องกันอันตรายจากรังสี     สำหรับบางมหาวิทยาลัย ได้จัดให้นักศึกษาเรียนจากเครื่องเอกซเรย์จำลองซึ่งไม่ใช้เอกซเรย์ จนมีความรู้และเข้าใจ มีทักษะในการปฏิบัติงานเพียงพอระดับหนึ่ง  จึงจะได้เรียนการใช้เครื่องเอกซเรย์จริงๆ ซึ่งช่วงเวลานี้นักศึกษาจะต้องมีอุปกรณ์ในการวัดรังสีประจำตัวติดกับตัวอยู่ตลอดเวลาที่เรียนในภาคปฏิบัติและฝึกงาน เป็นไปตามมาตรฐานด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี
ดังนั้นความเสี่ยงในเรื่องผลกระทบจากรังสีจึงน้อยมากหรือไม่มีเลย นอกจากนี้ ยังมีความรู้พื้นฐานด้านการแพทย์เพียงพอที่จะเป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับบุคคลใกล้ชิดและคนรอบข้างได้ด้วย

จะตกงานไหม?
มีการพูดกันในเวทีประชุมวิชาการหลายๆเวทีว่า "รังสีเทคนิคขาดแคลน ค่าตอบแทนสูง" บัณฑิตรังสีเทคนิคหางานง่าย รายได้ดีค่าตอบแทนสูง เป็นที่ต้องการของโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน จะเห็นได้จากระหว่างเรียนในชั้นปีที่ 4 ชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตร มีฝ่ายบุคคลของโรงพยาบาลต่างๆมารับสมัครล่วงหน้าก่อนที่นักศึกษาจะจบการศึกษา เรียกว่าจองตัวกันเลยครับ และมีข้อเสนอในการว่าจ้างที่ดึงดูดด้วย
      บัณฑิตรังสีเทคนิคเมื่อสอบใบประกอบโรคศิลปะฯจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคผ่านแล้ว สามารถทำงานด้านรังสีการแพทย์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย ตามบทบาทหน้าที่ของนักรังสีเทคนิคอย่างสมภาคภูมิ โดยไม่ต้องมีใครมากำกับการทำงาน และในการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีค่าตอบแทนในส่วนของใบประกอบโรคศิลปะให้ด้วย

เรียนต่ออะไรได้บ้าง?
เมื่อทำงานในโรงพยาบาล นักรังสีเทคนิค สามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้มีความสามารถโดดเด่นเฉพาะทางได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือค่าตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้น
     การศึกษาในระดับสูงขึ้นที่เกี่ยวข้องกับรังสีเทคนิค หลังจากจบปริญญาตรีด้านรังสีเทคนิคแล้ว หากยังไม่ประสงค์จะทำงาน ก็สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่มักมุ่งเป้าที่เมื่อจบแล้วจะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เช่น รังสีเทคนิค ฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาศาสตร์รังสี ฉายาเวชศาสตร์ นิวเคลียร์เทคโนโลยี วิศวกรรมชีวการแพทย์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ฯลฯ
      หรือจะศึกษาต่อในสาขาอื่นๆอีกก็ได้แล้วแต่ความชอบ เช่น การบริหาร ฟิสิกส์ ฯลฯ

      เปิดสอนที่ไหนบ้าง?
     ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขารังสีเทคนิค คือเรียน 4 ปีจบแล้วได้รับปริญญาตรี วท.บ. สาขารังสีเทคนิค ดังรูป


      ค่าเล่าเรียนแพงไหม
การเรียนเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่มีมูลค่าเพิ่มตลอดเวลา เราเสียเงินเพื่อเรียนในวันนี้เพียงครั้งเดียว จากนั้นเราใช้ความรู้ที่ได้ไปเพื่อประกอบอาชีพหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ตลอดชีวิต จึงควรเลือกเรียนสาขาที่เหมาะกับเรา หมายความว่า เราต้องสอบข้อเขียน/สัมภาษณ์ให้ได้ เราเรียนได้ เราพอจ่ายค่าเรียนได้ เป็นต้น ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ส่วนใหญ่ค่าเรียนอาจจะดูไม่สูงมากในความคุ้นชินของคนทั่วไป แต่บางแห่งก็อาจสูง 
ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน สาขารังสีเทคนิคมีเปิดสอนที่เดียวคือ คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต ค่าเรียนย่อมสูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐเป็นธรรมดา เพราะมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐเหมือนมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในด้านคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาจะไม่แตกต่างกัน เพราะ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค
ถ้าถามว่าค่าเรียนแพงไหม มีผู้รวบรวมไว้รายละเอียดตามลิงค์ ขึ้นกับสาขาที่เรียนไม่เท่ากัน แพงหรือไม่ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ขึ้นกับว่าจะเทียบกับอะไร ขึ้นกับความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง แล้วยังขึ้นอยู่กับว่า เป็นสาขาที่ขาดแคลนไหม เรียนจบแล้วมีงานทำหรือไม่ ค่าตอบแทนเป็นอย่างไร ฯลฯ จึงไม่สามารถฟันธงได้ว่าแพงหรือไม่ 
จากประสบการณ์ขณะที่นักศึกษาเรียนรังสีเทคนิคในชั้นปีที่ 3 ก็จะมีโรงพยาบาลชั้นนำมาเปิดรับสมัครเข้าทำงานและมีข้อเสนอที่ดีๆให้แล้ว และจากข้อมูลการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า เมื่อเรียนสาขารังสีเทคนิคจบแล้วมีงานทำแน่นอน 100% ภายใน 3 เดือน

     เหล่านี้เป็นคำถามที่ผมถูกถามบ่อย ตั้งแต่สมัยที่เป็นอาจารย์และผู้บริหารที่ภาควิชารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยมหิดล จนขณะนี้มาเป็นคณบดีคณะรังสีเทคนิคที่มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ยังได้รับคำถามเหล่านี้อยู่บ่อยๆ หากท่านผู้ปกครองนักเรียน อาจารย์แนะแนว หรือผู้สนใจ มีข้อสงสัยในประเด็นอื่นๆอีกก็สามารถสอบถามมาได้ครับ ยินดีให้ความกระจ่างกับทุกท่านเสมอ


     คะแนน Admission

Related Links:
     1)แนวทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรังสีเทคนิค

140 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 มีนาคม 2556 เวลา 20:54

    จบป.ตรี วิศวกรรมชีวการแพทย์ สนใจเรียนต่อป.โท http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/curriculum/view.php?lang=th

    มีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพหรือไม่ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้อง...เป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขารังสีเทคนิคจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิครับรอง...ครับ

      กรณีจบป.ตรีวิศวกรรมชีวการแพทย์และกรรมการวิชาชีพฯยังไม่รับรอง..ไม่มีสิทธิ์สอบครับ

      ลบ
  2. นักฟิสิกส์รังสี
    นักฟิสิกส์การแพทย์
    นักรังสีการแพทย์
    เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค

    อยากทราบถึงข้อแตกต่างทั้งด้านสายงาน และวุฒิที่จบมาว่ามีความแตกกต่างกันอย่างไรบ้างครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ10 ตุลาคม 2556 เวลา 10:39

    ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี และ จป. รังสี (RSO) จะได้ค่าตอบแทนเพิ่มจากเงินเดือน เมื่อปฏิบัติงานด้านรังสีไหมครับ (กรณีใช้รังสีในการถ่ายภาพ RT)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นักรังสีเทคนิค จบ วท.บ.สาขารังสีเทคนิค มีใบประกอบโรคศิลปะซึ่งสอบขอขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค รับราชการตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ จะมีเงิน top-up ให้ สำหรับเอกชน เงิน top-up จะขึ้นกับแต่ละที่

      เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค จบ ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค ไม่สามารถสอบขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทีนิคได้ จริงๆแล้วตามกฎหมายไทยไม่อนุญาตให้ทำงานด้านรังสีเทคนิค

      นักฟิสิกส์รังสี จบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศสตร์ รังสีเทคนิค วิศวกรรม เทคนิคการแพทย์ ฯลฯ ลักษณะงานไม่ได้ใช้รังสีกับมนุษย์

      นักฟิสิกส์การแพทย์ จบ ป.โท ฟิสิกส์การแพทย์

      ส่วน RSO ขณะนี้ไม่มีเงิน top-up

      ลบ
  4. ถ้าอยากเปลี่ยนจากนักรังสีเทคนิคที่ทำงานในโรงพยาบาล มาเปนนักธุรกิจขายเครื่องมือการแพทย์ จะต้องทำอย่างไรคะ ต้องเรียนต่อป.โท หรือเปล่า? ...

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อยากเป็นนักธุรกิจขายเครื่องมือแพทย์ เป็นได้เลยถ้ามี:........
      เงินทุนตั้งต้น อดทน มองไกล ใจกว้าง วางได้ มีเครือข่าย มีทีมงานพร้อมลุย มีที่ปรึกษาเป็นมันสมอง ส่วนเรื่องการเรียนต่อก็ดูตามความเหมาะสมครับ

      ลบ
  5. พี่ครับ. อยากทราบว่าปีนึงตอนสอบเค้ารับเข้าราชการกี่คนอ่าครับ. หรือตั้งเกณฑ์คะแนนไ

    ตอบลบ
  6. อีกอย่างคือเงินเดือนเริ่มต้นของนักรังสีเทคนิคอยู่ประมานช่วงเท่าไหร่อ่าครับ. ขอบคุณมากๆครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปีหนึ่งๆ หน่วยงานของราชการจะรับรังสีเทคนิคที่มีใบประกอบโรคศิลปะฯกี่คนไม่สามารถประเมินได้ครับ แต่มีทุกปี และแย่งตัวกันทุกปี ... เมื่อรวมความต้องการภาคราชการและเอกชนยังสูงมาก ขณะที่จำนวนนักรังสีเทคนิคที่จบใหม่ไม่เพียงพออย่างมากครับ

      เงินเดือนค่าตอบแทนจัดว่าสูงผู้จบใหม่มีค่าเฉลี่ยเริ่มที่ 21,000 บ/ด ทำไปสัก 3-5 ปีค่าตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 37,000 บ/ด สูงกว่าเภสัชกร กายภาพฯ และเทคนิคการแพทย์ (จากการสำรวจของ กพ. และ สนง.สถิติแห่งชาติ ปี 2556)

      ลบ
  7. อยากทราบว่า รามคำปหงเปิดรับตอนไหนครับ แบบ 4ปั

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปีการศึกษา 2558 สถาบันที่เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนหลักสูตร วท.บ.(สาขารังสีเทคนิค) เพิ่มเติมจาก มหิดล เชียงใหม่ และนเรศวร คือ สงขลานครินทร์ รามคำแหง ครับ ส่วนรับตอนไหนต้องติดต่อที่มหาวิทยาลัยนั้นๆโดยตรง

      ลบ
  8. ไม่ทราบว่า จบ ป.ตรี วิทยาสาสตรื ชีววิทยา มาจะสมัครงเรียนได้มั้ยค่ะ ต้องทำยังไงบ้างค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ได้ครับ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของแต่ละสถาบัน

      ลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2558 เวลา 13:41

    อยากทราบว่าแต่ละปีการศึกษารับคนเยอะมั้ยค่ะ ......อยากเรียนมากผู้ปกครองก้อสนับสนุนค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มหิดลรับปีละ 60 คน รับแบบโควต้า 30 และแอดมิชชั่น 30 ครับ ส่วนเชียงใหม่และนเรศวรรับใกล้เคียงกับมหิดลครับ

      ลบ
    2. ตอนนี้มีเพิ่มเติมคือ จุฬาฯ 30 สงขลานครินทร์ 30 ม.รังสิต 50 (เฉพาะม.รังสิตเริ่มปีการศึกษา 2559)

      ลบ
    3. เกรด เฉลี่ย รับที่ เท่าไหร่ครับ GPA

      ลบ
    4. ผมจบ ม.ปลาย + เที่ยบเท่าประกาศณียบัตริ มา สายวิท - คณิตย์ ครับ เกรดเฉลี่ย 2.70 ครับ

      ลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ9 พฤษภาคม 2558 เวลา 15:05

    ตาบอดสีสามารถขอสอบใบประกอบโรคศิลป์ได้ไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สำหรับตาบอดสี ยังไม่มีข้อห้ามในการขอสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคครับ

      ลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ13 พฤษภาคม 2558 เวลา 12:59

    แล้วในอิกสี่ปีข้างหน้า เขายังต้องการอิกไหมคะ
    หนูลงแอดของมอ. ซึ่งปีนี้เขาเปิเเปนปีแรกคะ โอกาสจบมามีงานทำไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลองอ่านบทความนี้ก่อนครับ http://rt-spark.blogspot.com/2012/10/blog-post_29.html แล้วมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็ถามได้ครับ

      ลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ28 พฤษภาคม 2558 เวลา 06:47

    แล้วถ้าอยากเรียนรังสี แต่ไม่ชอบคณิตศาสตร์กับฟิสิกส์สักเท่าไหร่ ลำบากไหมคะ? เวลาเรียนใช้2วิชานี้มากรึเปล่า
    ปล.ชอบชีวะ ชอบจำค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เรียนรังสีเทคนิคใช้ศาสตร์หลายด้านครับ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ สังคม ฯลฯ น้ำหนักต่างกันไป ไม่ชอบคณิตศาสตร์กับฟิสิกส์ในตอนนี้อาจเพราะเรียนมาแบบไม่รู้จะเอาไปใช้อะไร เมื่อเรียนแบบนำมาประยุกต์ใช้งานจริงอาจรักมันก็ได้ครับ .... ความตั้งใจ มีวิริยะอุตสาหะ ช่วยได้เยอะครับทุกเรื่องเลย

      ลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ28 พฤษภาคม 2558 เวลา 15:51

    เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีวภาพรังสีมาสามารถต่อป.โทรังสีเทคนิคได้ไหม

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ28 พฤษภาคม 2558 เวลา 21:11

    ถ้าจบชีวะภาพรังสีปริญญาตรีมาสามารถต่อรังสีเทคนิคในปริญญาโทได้ไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จบชีวะภาพรังสีปริญญาตรี เรีนต่อโทรังสีเทคนิคได้ครับ

      ลบ
  15. จบชีวภาพรังสีป.ตรี ม.เกษตร แล้วต่อป.โทรังสีเทคนิค จะได้ทำงานเป็นนักรังสีเทคนิคเหมือนกับผู้ที่จบป.ตรีรังสีเทคนิคโดยตรงไหม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่สามารถทำได้ครับ เพราะ ผู้ที่มีคุณสมบัติสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคต้องจบ ป.ตรีสาขารังสีเทคนิคครับ

      ลบ
  16. วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ม.มหิดล หลักสูตรนานาชาติเรียนเป็นภาษาอังกฤษหมดเลยหรือเปล่า แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง แล้วต้องใช้ไอเอล โทเฟล หรือเปล่า

    ตอบลบ
  17. แล้วถ้าเปิดอาเซียนให้คนในต่างประเทศมาทำงานได้อย่างอิสระ เป็นไปได้มั้ยคะว่า แต่ละประเทศจะปรับเงินเดือนขึ้นแข่งกัน เพื่อชักจูงคน คือหนูคิดว่าไทยคงมีความต้องการลดลงค่ะ เพราะมีมหาลัยที่เปิดเพิ่มอีก 2แห่ง แล้วตอนนี้หนูเพิ่งติด ม นเรศวร จบมาจะมีผลกับค่าตอบแทนมั้ยคะ เช่น คนเก่งๆในสถาบันดังๆจะรายได้ดีกว่า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แต่ละประเทศจะปรับเงินเดือนหรือไม่คงมีปัจจัยอื่นๆอีก AEC เป็นแค่ปัจจัยหนึ่งเท่านั้นครับ...ส่วนความต้องการนักรังสีเทคนิคยังต้องการอีกจำนวนมาก กำลังผลิตของมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศตอนนี้ 5 แห่งรวม 180 คนในช่วงเวลา 3 ปีจากนี้) และจะเป็น 240 คนในอีก 4 ปีข้างหน้า ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศครับ...ค่าตอบแทนไม่ได้ดูว่าจบจากที่ไหน เพราะทุกสถาบันมีมาตรฐานเดียวกันคือถูกกำหนดและประเมินด้วยคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเหมือนกันหมด ไม่ต้องห่วงครับ ตั้งใจเรียนให้ดี

      ลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ15 กรกฎาคม 2558 เวลา 16:20

    ตอนนี้มีสถาบันไหนเปิดหลักสูตรรังสีเทคนิคบ้างครับ จะแอดปี59ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สถาบันที่เปิดสอนรังสีเทคนิคและคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคให้การรับรองแล้ว ได้แก่ มหาวิทยาลัย
      1) มหิดล
      2) เชียงใหม่
      3) นเรศวร
      4) สงขลานครินทร์
      5) จุฬาฯ

      ลบ
  19. ถาม.......
    จบเทคนิครังสีจากอังกฤษทำงานมาแล้วประมาณเกือบ6ปี ตอนนี้อยากกลับไปทำงานที่ไทย พอจะเป็นไปได้ไหม ข้อคำแนะนำการสอบใบประกอบโรคศิลปะ สอบอย่างไร เมื่อไหร่ ขอบคุณมากๆค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตามกฎหมายบอกว่า .... ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขารังสีเทคนิคจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิครับรอง และต้องสอบความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคกำหนด สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

      ตีความตามกฎหมาย สอบได้ครับ แต่ตามเงื่อนไขเล่านี้เป็นอย่างน้อย
      1)คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคต้องให้การรับรองสถาบันฯนั้นก่อน
      2)จบปริญญาหรือเทียบเท่าสาขารังสีเทคนิคจากสถาบันนั้น
      3)ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคในประเทศนั้น
      4)สมัครสอบเพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคของไทย ซึ่งจะสอบปีละ 2 ครั้ง มิย. และ พย.

      ดังนั้น หากจะเข้าสอบเดือน พย. ต้องรีบส่งรายละเอียดถึงประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ประกอบด้วย หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาที่จบ รายละเอียดหลักสูตรที่ศึกษาของสถาบันที่จบ ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค หนังสือรับรองการทำงานและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้คณะกรรมการวิชาชีพพิจารณาคุณสมบัติว่าสามารถสมัครสอบเพื่อขอใบอนุญาตฯได้หรือไม่ครับ...ทั้งหมดนี้ขึ้นกับการพิจารณาของคณะกรรมการวิชาชีพฯ

      ลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ21 กรกฎาคม 2558 เวลา 19:52

    สวัสดีค่ะ เป็นเด็กวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ค่ะ ^^ อยากทราบว่าในหน่วยรัฐและเอกชนที่ใดบ้างที่เปิดรับสมัครตำแหน่งนักฟิสิกส์รังสี ตำแหน่งนักฟิสิกส์รังสีมีความต้องการมากน้อยเพียงใด นักฟิสิกส์รังสีสามารถต่อยอดในด้านการศึกษาและความก้าวหน้าในตำแหน่งงานอย่างไรบ้างคะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นักฟิสิกส์รังสีสามารถทำงานที่ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ ส่วนเรื่องอื่นไม่มีข้อมูลครับ

      ลบ
  21. อยากทราบว่า. เทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิครังสี ต้องใช้ส่วนสูงเป็นเกณฑ์ในการรับสมัครหรือมีผลต่อการสัมภาษณ์เข้าศึกษาต่อไหมค่ะ

    ตอบลบ
  22. จบมาใหม่ๆ เริ่มต้นเงินเดือนเท่าไหร่คะ เเล้วรังสีเทคนิคกับเทคนิคการเเพทย์ต่างกันยังไง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สั้นๆครับ เป็นวิชาชีพขาดแคลน ค่าตอบแทนสูง

      ลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ7 กันยายน 2558 เวลา 09:31

    จบรังสีเทคนิคในไทย มีใบประกอบโรคศิลปะแล้ว ถ้าต้องการไปทำงานรังสีเทคนิคในต่างประเทศ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ประเทศไหนก็ขึ้นกฎเกณฑ์ของประเทศนั้นครับ

      ลบ
  24. อยากทราบว่า รังสีเทคนิค ของม.ราม ได้รับการรับรองหลักสูตรรึยังครับ

    ตอบลบ
  25. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ลำบากครับ มีใจรักโอเคเลย

      ลบ
    2. อาจารย์คับ เขาบอก เงินเดือนสูง แต่อายุสั้น

      ลบ
    3. อายุสั้นน่าจะมีเหตุจากอย่างอื่น แต่ไม่ใช่เหตุที่มาจากการเรียนรังสีเทคนิคและประกอบอาชีพเป็นนักรังสีเทคนิค เป็นแค่วาทะกรรมที่พูดกันลอยๆที่ไม่ยืนบนพื้นฐานของความจริงครับ อย่าได้ใส่ใจ

      ลบ
  26. รังสีเทคนิค มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพไหมครับ?

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทุกวิชาชีพมีความก้าวหน้าในสายงานของเขาอยู่แล้วครับ รังสีเทคนิคก็เช่นกัน

      ลบ
  27. ขาดแคลนแต่รับadmission น้อยจังคะT_T

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นอกจากนักรังสีเทคนิคขาดแคลนแล้ว อาจารย์รังสีเทคนิคก็ขาดแคลนอยากหนักอีกด้วย หากรับเข้าเรียนเยอะ สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมากไป หมายความว่า อาจารย์น้อยแต่มีนักศึกษามาก อันนี้จะกระทบคุณภาพการจัดการศึกษาครับ ถ้าจะรับนักศึกษาให้มากขึ้นต้องหาอาจารย์ให้มากขึ้นสอดรับกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในตอนนี้

      ลบ
  28. อยากเรียนมากมีทุนรึเปล่าคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทุกมหาวิทยาลัยมีทุนเล็กน้อยให้ ซึ่งไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมดครับ ทุนเรียนฟรีเลยยังไม่เห็นมีที่ไหน แต่อนาคตไม่แน่ครับ

      ลบ
  29. ฟิสิกส์ที่ใช้เรียนเหมือนฟิสิกส์ในม.ปลายไหมคะ หรือเป็นฟิกสิกส์แนวประยุกต์ แล้วต่องมีพ.ฐฟิสิกส์ม.ปลายในเรื่องไหนบ้างคะ สนใจที่จะเรียนนะคะ ตอนม.ปลายเรียนเข้าใจนะคะ แต่ทำข้อสอบวิชาฟิสิกส์ไม่ค่อยได้อ่าค่ะ เลยกลัวว่าจะตีดสินใจเลือกเรียนผิดอ่ะค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เรียนได้ครับ ไม่ควรกังวลว่าจะเรียนฟิสิกส์แนวไหน ฟิสิกส์ที่เรียนกันนั้นไม่ยากอย่างที่กังวลครับ

      ลบ
  30. ไม่ระบุชื่อ18 มีนาคม 2559 เวลา 17:46

    นักรังสีเทคนิค ทำงานเอ็กซเรย์ ประมาณกี่ครั้งต่อวันคับ
    แล้ว1วัน นักรังสีเทคนิค ได้รับปริมาณรังสีมากน้อยแค่ไหนคับ
    แล้วรังสีมีการสะสมในร่างกายไหมคับ ได้รับรังสีเท่าไหร่คับถึงไม่อันตราย(/วัน)และ(/ปี)

    ตอบลบ
  31. ถ้าทำงานรังสีเทคนิคไปนานๆจะมีการสะสมทำให้เกิดอันตรายมั้ยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ24 มีนาคม 2559 เวลา 10:45

      จะมีเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลที่เรียกว่า OSL (Optical Stimulated Luminescent Dosimeter)ติดตัวกับนักรังสีเทคนิค ซึ่งเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลนั้นมีหลายชนิด แต่ ส่วนใหญ่ในรพ.จะใช้ OSL ซึ่งตามหลักสากลจะมีค่าปริมาณรังสีที่เป็นมาตรฐานกำหนดครับ ซึ้งในส่วนของงานบริการรังสีนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่สูงเกินเกณฑ์ครับ และน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นอย่างมาก
      ส่วนในเรื่องอันตรายจากรังสีต่อมนุษย์นั้น ตอกบอกว่ามีครับ แต่ต้องบอกว่าการนำรังมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้นต้องพิจารณาว่าประโยชน์มากกว่าโทษที่จะได้รับ หรือไม่
      ซึ่งจากวงการของวิชาชีพ บุคคลการก็มีบุตรได้ตามปกติ ดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และยังไม่มีอุบัติการณ์ที่เป็นผลกระทบจากรังสีต่อบุคคลากรทางด้านรังสีครับ
      โดยการทำงานต่างๆเราต้องเรียนรู้ว่าอันตราย หรือความเสี่ยงจากงานนั้นๆคืออะไร และเราจะป้องกัน และลดความเสี่ยงนั้นอย่างไร เช่น การติดเชื้อ การพลัดตกจากที่สูง วัตถุสิ่งของหล่นใส่ เป็นต้น
      งานทางบริการด้านรังสีก็เช่นกันครับ เราต้องรู้หลักกำเนิดรังสี รังสีกำเนิดอย่างไร ชนิดของรังสี และหลักการป้องกันรังสีอย่างไร เหล่านี้จะอยู่ในหลักสูตรรังสีเทคนิค ทุกมหาวิทยาลัยครับ

      ลบ
  32. ไม่ระบุชื่อ16 เมษายน 2559 เวลา 13:04

    ตอนนี้กำลังจะขึ้นม.5ค่ะ น่าจะแอดปี61ถ้าจบออกมาในช่วงปี65 นักรังสีเทคนิคจะยังเป็นที่ต้องการอยู่มั้ยคะ อยากทราบเรื่องเงินเดือนด้วยอ่ะค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นักรังสีเทคนิคขาดแคลนมากครับ และค่าตอบแทนค่อนข้างสูงแม้ปี 65

      ลบ
  33. ไม่ระบุชื่อ24 เมษายน 2559 เวลา 16:43

    ที่บอกว่า " มีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไม่น้อยใช้ผู้ที่ไม่ใช่นักรังสีเทคนิค แพทย์หรือทันตแพทย์ มาปฏิบัติหน้าที่เสมือนหนึ่งว่าเป็นนักรังสีเทคนิค มันจึงมองได้ว่าภาพรวมไม่ขาดแคลน " อย่างนี้เขาก็ไม่จ้างนักรังสีเทคนิคมาทำงานน่ะซิ นักรังสีก็ตกงานเหรอค่ะ

    ตอบลบ
  34. อยากรับสมัครนักเทคนิครังสีเข้ามาทำงานที่โรงพยาบาล สามารถสรรหาได้จากช่องทางใดค่ะ

    ตอบลบ
  35. พอดีเรียนจบ วท.บ.ฟิสิกส์ แล้วจะเรียนต่อป.โท ฟิสิกส์การแพทย์อยากทราบว่าสาขานี้จบแล้วมีงานทำไหมค่ะ(โดยที่ไม่ใช่งานเซลล์ขายเครื่องมือการแพทย์) จะตกงานไหมค่ะ

    ตอบลบ
  36. การเรียนเทคนิกรังสีต้องใช่ภาษาอังกฤษมากน้อยแค่ไหนค่ะ ถ้าคนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษเลยไปเรียนจะลำบากมากไหมค่ะ จะสามารถเรียนจบรึป่าว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่มีอะไรยากหรือง่ายครับ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจที่อิสระจากความกังวลและความกลัว และใจที่มีความรัก ศรัทธา มุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้นและเป็นสิ่งนั้น... เรียนทุกสาขาย่อมใช้ภาษาอังกฤษบ้าง ไม่ใช่หลักสูตร Inter ครับ

      ลบ
  37. จบจากเทคนิกรังสีจะมีคำนำหน้าว่าแพทย์ไมค่ะ(อยากรู้นะค่ะ)เห็นเทตนิกการแพทย์มีคำนำหน้าว่า ทพ. ประมาณนี้นะค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จบรังสีเทคนิค เมื่อสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคกับคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคแล้ว จะได้ใบประกอบโรคศิลปะที่มีเลขประจำตัวเป็น รสxxxx แต่ขณะนี้กฎหมายยังไม่กำหนดให้มีคำนำหน้าครับ

      ลบ
  38. จบสาขาเทคนิครังสีในประเทศไทยสามารถไปทำงานต่างประเทศได้อย่างไร

    ตอบลบ
  39. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2559 เวลา 23:19

    อยากรู้ว่า รังสีเทคนิค ม.ราม ปี59 นี้ผ่านการรับรองหลักสูตรยังครับ

    ตอบลบ
  40. รังสีเทคนิค ม.รังสิต ที่เพิ่งเปิดปี59 ทำเรื่องการรับรองหลักสูตร คาดว่าจะผ่านปีไหนคะ...

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผ่านการรับรองแล้วตั้งแต่วันที่ 27 มถุนายน 2559 ครับ แปลว่า ผู้เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถขอสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค กระทรวงสาธารณสุข ได้อย่างสมภาคภูมิ

      ลบ
  41. รังสีเทคนิคสามารถต่อเป็นแพทย์ได้ป่าวคับ........ถ้ามี ที่ไหนต่อยอดให้บ้าง

    ตอบลบ
  42. รังสีเทคนิคสามารถต่อยอดเป็นแพทย์ได้หรือไม่คับ

    ตอบลบ
  43. รังสีเทคนิคเรียนเคมียากรึเปล่าคะ คือไม่ค่อยชอบวิชาเคมีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อะไรก็ตามถ้าเข้าใจไม่ยากครับ
      การเรียนรังสีเทคนิคในปี 1 จะเรียน basic sciences ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ระดับมหาวิทยาลัยครับ เรียนคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิชาการศึกษาทั่วไป พอขึ้นปี 2 ก็จะเริ่มเรียนพื้นฐานวิชาชีพบ้าง และจะเรียนวิชาชีพหนักเลยก็ตอนขึ้นปี 3 ปี 4 .. เคมีจะหนักก็ตอนปี 1 ครับ หลังจากนั้นไปหนักรายวิชาชีพซึ่งก็ไม่มีเคมีหนักๆแล้ว และมีฟิสิกส์เกี่ยวกับรังสีมากขึ้น ตั้งใจเรียนเมื่อเข้าใจแล้วจะไม่ยากเลยครับ

      ลบ
  44. ถ้าเรียนจบแล้ว อยากทำงานเอกเรย์ในโรงพยาบาล แล้วคนไข้จะเรียกเราว่าหมอไหมค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ส่วนมากคนไข้ชอบที่จะเรียกเราว่าหมออยู่แล้ว เพราะคนไข้ไม่รู้ว่าเราไม่ใช่หมอ แต่เรารู้ว่าเราคือนักรังสีเทคนิคครับ

      ลบ
  45. เรียนจบ วท.บ.วิทย์ ชีววิทยา แต่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ห้องเอกซเรย์และให้บริการคนไข้เหมือนนักรังสี อยากทราบว่าสามารถสอบเข้าเรียน รังสีเทคนิค ป.ตรี โดยใช้คุณสมบัติผู้มีประสบการณ์ทำงานได้ไหมคะ? ถ้าได้ จะมีวิธีสอบเข้าเรียนได้ยังไงบ้าง?

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนรังสีเทคนิคจะรับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์ และมักจะกำหนด GPA เฉลี่ยสะสมขั้นต่ำที่สามารถสมัครเข้าเรียนได้ไว้ด้วยระหว่าง 2.5-2.75 ร่วมกับ

      บางมหาวิทยาลัยใช้คะแนนสอบข้อเขียนเป็นตัวตัดสิน เช่น มหิดล เชียงใหม่ นเรศวร จุฬา สงขลา เป็นต้น แล้วบางมหาวิทยาลัยจะแบ่งกลุ่มคัดเลือกในระบบโควต้าเป็นส่วนของผู้มีประสบการณ์ ถ้าจะเข้าช่องนี้ก็น่าจะได้

      บางมหาวิทยาลัยใช้คะแนนสอบสัมภาษณ์เป็นตัวตัดสินอย่างเดียวเลย เช่น มหาวิทยาลัยรังสิต จะเข้าช่องนี้ก็ได้แต่ต้องมีผลการเรียนในระดับ ม.ปลาย ไปแสดงให้เค้าดูว่า GPA ถึงไหมจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์

      ลบ
  46. เรียนจบ วท.บ.วิทย์ ชีววิทยา แต่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ห้องเอกซเรย์และให้บริการคนไข้เหมือนนักรังสี อยากทราบว่าสามารถสอบเข้าเรียน รังสีเทคนิค ป.ตรี โดยใช้คุณสมบัติผู้มีประสบการณ์ทำงานได้ไหมคะ? ถ้าได้ จะมีวิธีสอบเข้าเรียนได้ยังไงบ้าง?

    ตอบลบ
  47. ขอบคุณสำหรับคำตอบมากๆ ค่ะอาจารย์

    ตอบลบ
  48. ค่าเทอมของ มช สาขารังสีเทคนิค เท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คงต้องรบกวนทาง มช. ให้ข้อมูลครับ เกรงว่าถ้าผมให้ข้อมูลไปอาจจะผิดพลาดได้

      ลบ
    2. สอบถามไปที่หน.ภาควิชารังสีเทคนิค ท่านได้กรุณาให้ข้อมูลดังนี้ครับ

      ค่าเทอมเหมาจ่ายเทอมละ 20,000 บาท

      ขอขอบคุณภาควิชารังสีเทคนิค มช. ที่กรุณาให้ข้อมูลครับ

      ลบ
  49. ค่าเทอมของ มช สาขารังสีเทคนิค ตอนนี้เท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
  50. อยากถามว่านักรังสีเทคนิคทำงานวันหนึ่งกี่ชั่วโมงและสัปดาห์หนึ่งทำประมาณกี่วันครับ เอาเฉลี่ยก็ได้ครับจากทั้งของรัฐบาลและเอกชน

    ตอบลบ
  51. แล้ววันหนึ่งทำงานกี่ชั่วโมงอะครับ แล้วสัปดาห์หนึ่งทำกี่วันครับ เอาเฉลี่ยก็ได้ครับถ้าต่างกัน ขอจากทั้งรัฐบาลและเอกชนนะครับ

    ตอบลบ
  52. คณะเทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค ค่าเทอมเป็นแบบเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท ครับ

    ตอบลบ
  53. มีปริญญาตรีสาขาเคมีจากไทย และมี A.A.S (อนุปริญญา?) สาขา Radiational Therapy จากอเมริกา สามารถทำงานเป็นนักรังสีเทคนิคที่ไทยได้มั๊ยคะ

    ตอบลบ
  54. เรียนฟิสิกส์แล้วสอบตกตลอดเลย พอจะเรียนไหวไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่เกินความพยายามจองเราครับ ทุ่งอย่างสำเร็จได้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ อย่าท้อถอยครับ

      ลบ
  55. ตาเสียหนึ่งข้างสามารถเรียนนักรังสีเทคนิคได้มั้ยค่ะถ้าไม่ได้แล้วพวกกายภาพบำบัดได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่มีข้อกำหนดไว้ แต่ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการทำงานในวิชาชีพครับ

      ลบ
  56. ตาเสียข้างนึงเรียนรังสีเทคนิคได้มั้ยถ้าไม่ได้แล้วพวกกายภาพเรียนได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
  57. ชีวะเรียนยากไหมคะ คือชอบฟิสิกส์แต่ไม่ชอบชีวะ

    ตอบลบ
  58. คือเรียนฟิสิกส์เคมีไม่รู้เรื่องเลย ถ้าสอบเข้าไปได้ จะเรียนทันเพื่อนไมค่ะ แล้วเคยมีรุ่นไหนเข้าไปเรียนแล้วเรียนไม่ไหวก็ซิ่วออกบ้างไมค่ะ อยากเรียนแต่กลัวไปไม่รอดมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดูที่ตัวเราดีกว่าครับ
      ถ้าอยากเรียนจริงๆ จะรอดแน่นอน ความอยาก (passion) ทำให้เรื่องที่คิดว่ายากเป็นเรื่องง่ายไปเลย
      แต่ถ้าลังเล ไม่ว่าจะไปเรียนอะไรก็ไม่รอดครับ

      ลบ
  59. คือเรียนฟิสิกส์เคมีไม่รู้เรื่องเลยค่ะ กลัวสอบเข้าไปแล้วเรียนไม่รู้เรื่องไม่ทันเพื่อน แล้วมันยากมากไมค่ะ เคยมีคนเรียนไม่ไหวจนต้องซิ่วออกไม่ค่ะ อยากเรียนสาขานี้มากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  60. ถ้าเกิดเรียนอยู่ปี4 ในม.ต่างๆ โรงพยาบาลจะจองตัวไว้ไหมคะ ถ้าไม่ได้เรียนของมหิดล

    ตอบลบ
  61. ถ้าเกิดเรียนอยู่ปี4 ในม.ต่างๆ โรงพยาบาลจะจองตัวไว้ไหมคะ ถ้าไม่ได้เรียนของมหิดล

    ตอบลบ
  62. ถ้าเกิดเรียนอยู่ปี4 ในม.ต่างๆ โรงพยาบาลจะจองตัวไว้ไหมคะ ถ้าไม่ได้เรียนของมหิดล

    ตอบลบ
  63. คืออยากเรียนรังสีมากค่ะ แต่ไม่ได้เก่งฟิสิกส์มากมาย พยายามศึกษาค้นข้อมูลรายละเอียดหลายๆเว็ปแล้วมาเจอเว็ปนี้ทำให้เข้าใจมากค่ะ. และอยากจะถามว่าถ้าเกิดเรียนอยู่ปี4 ในม.ต่างๆ โรงพยาบาลจะจองตัวไว้ไหมคะ ถ้าไม่ได้เรียนของมหิดล

    ตอบลบ
  64. ในปี 67 นักรังสีเทคนิคยังเป็นที่ต้องการอยู่ไหมคับ

    ตอบลบ
  65. จบสาขารังสีเทคนิคที่ประเทศไทย สามารถไปทำงานที่ต่างประเทศได้ยังไงคะ? ไม่ว่าจะเป็นในอาเซียน หรือทั้งในยุโรปค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ในแต่ละประเทศจะมีข้อกำหนดและเงื่อนไขแตกต่างกัน ถ้าไม่ขัดแย้งก็ควรทำงานได้ ทำนองเดียวกัน นักรังสีเทคนิคต่างประเทศจะมาทำงานในไทย ก็ต้องมาสอบ licence ของไทยก่อนครับ

      ลบ
  66. จบสาขารังสีเทคนิคประเทศไทย ไปทำงานที่ต่างประเทศยังไงคะ? ในประเทศอาเซียนรวมทั้งยุโรปค่ะ

    ตอบลบ
  67. เรียนจบมีเดียแพทย์และวิทยาศาสตร์ มจธ.ป.ตรี
    สนใจสอบเข้า รังสีเทคนิค ป.โท จบมาจะสามารถนำวุฒป.โทสมัครเป็นเป็นนักรังสีในโรงพยาบาลได้ไหมคะ
    แล้วสอบใบประกอบโรคศิลป์ทำได้ไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ได้ครับ ต้องใช้วุฒิป.ตรีรังสีเทคนิคเพื่อสมัครสอบ licence

      ลบ
  68. ถ้าได้รับทุนของโรงพยาบาลต้องสอบเข้าไหมครับ หรือไปเรียนได้เลยในระบบโคต้า เรียนที่รามคำแหงครับ

    ตอบลบ
  69. รังสีเทคนิคมีแพลนจะเข้าร่วมกับ กสพท. ไหมครับ
    จบ ป.ตรี แล้ว แต่อยากเข้าเรียนสาขานี้มาก
    ตอนแรก ๆ ตั้งใจไว้ว่าจบ ป.ตรี แล้วอยากจะต่อหมอ แต่กลัวว่าจะไม่ใช่ทาง เลยอยากลองเข้าสายนี้ดู

    ตอบลบ
  70. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  71. สอบถามหน่อยค่า อยากจะแอดเข้ารอบสี่ ถ้าหนูจบรังสีเทคนิคออกมาจาก มหิดลหรือจุฬา จะได้เงินเดือนประมานเท่าไหร่คะ มหาลัยมีส่วนเกี่ยวกับการรับเข้าทำงานมั้ยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เงินเดือนค่าตอบแทนบอกไม่ได้ว่าเท่าไร บอกได้ว่า ค่าตอบแทนสูงครับ

      ลบ
  72. เงินเดือนของเด็กที่จะเข้าเรียนปีนี้คิดว่าเท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
  73. รังสีเทคนิคจุฬาหรือมหิดลดีคะ เงินเดือนทั้งสองที่เปนยังไง

    ตอบลบ
  74. ที่มหิดลมีให้ฝึกงานไหมคะ ถ้ามึฝึกปีไหนคะ ได้ฝึกทุกคนหรือเปล่า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การฝึกงานเป็นข้อกำหนดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคครับ ดังนั้น ทุกมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนรังสีเทคนิค ต้องให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนฝึกงานในโรงพยาบาลในสถานการจริงกับผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการทางการแพทย์

      ลบ
  75. รังสีวินิจฉัย รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อันไหนเงินเดือนดีกว่ากันคะ

    ตอบลบ
  76. ถ้าอยากเป็นIntervention Radiologic Technologist ต้องเรียนต่ออะไรหรอคะ แล้วนักรังสีมีโอกาสทำงานต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน

    ตอบลบ
  77. สวัสดีค่ะ อยากสอยถามค่ะ ตอนนี้เรียน x-ray technician อยู่ที่อเมริกานะคะ กำลังจะจบการศึกษา หลักสูตรที่นี่โปรแกรมจะเรัยนแค่สองปีเท่านั้น และได้ Associated Degree หรือเทียบเท่าอนุปริญญาที่นี่ คิดว่าเรียนจบ จะสอบ license ที่อเมริกา ถ้าสอบผ่านได้ license ที่นี่อเมริกาแล้ว อยากกลับเมืองไทยไปทำงาน จะต้องสอบ license ที่ไทยใหม่ไหมคะ หรือสามารถใช้ license ของอเมริกาเทียบได้เลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้ขอสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค หรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค จากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพให้การรับรอง ดังนั้น กรณีที่ถามนี่้ น่าจะต้องให้คณะกรรมการวิชาชีพวินิจฉัย เพราะมีประเด็น 2 ประเด้นที่ต้องวิเคราะห์ คือ
      1-Associated Degree นั้นเป็นประกาศนียบัตรเทียบเท่า ป.ตรีรังสีเทคนิคของไทยไหม
      2-การรับรองสถาบันในต่างประเทศจะทำอย่างไร

      ลบ
  78. เรียนป.ตรี รังสีเทคนิคจบแล้วเรียนต่อป.โทในสาขาของคณะแพทย์ ถ้าเรียนป.โทจบแล้ว จะได้คำนำหน้าอะไรมั้ยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดให้ใช้คำนำหน้าว่าอย่างไรครับ

      ลบ
  79. ตาบอดสีจะสอบเข้ารังสีเทคนิคของมหิดลได้ไหมค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มหาวิทยาลัยที่สอนรังสีเทคนิค ขณะนี้ไม่ได้กำหนดข้อห้ามเรื่องตาบอดสีครับ

      ลบ
  80. เรียนรังสีเทคนิคที่นวมินทร์ แตกต่างขากม.อื่นไหมคะ
    ขึ้นปี4แลเวมีคนมาจองแบบม.อื่นไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. "ขึ้นปี4แลเวมีคนมาจองแบบม.อื่นไหมคะ"
      คำถามส่วนนี้ตอบไม่ได้ครับ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง

      ลบ
  81. เรียนรังสีเทคนิคนวมินทร์.แตกต่างจากที่อื่นไหมคะ
    ขึ้นปี4แล้วมีคนจองไหม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เป็นสถาบันที่ได้รับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค เช่นเดียวกับสถาบันอื่นครับ

      ลบ
  82. ในปี70 ยังคงต้องการนักรังสีเทคนิคอยู่อีกไหมคะ

    ตอบลบ
  83. ไม่รู้ว่าอาจารย์จะเห็นไหมนะคะ แต่อยากทราบว่าการเป็นนักรังสีเทคนิค ในแต่ละม. กำหนดน้ำหนักของผู้เข้าเรียนไหมคะ

    ตอบลบ