AACRT2013 เชียงใหม่ |
(เริ่มเผยแพร่ 18 ธค 2555 อ่าน 638 ครั้ง)
ผมได้มีโอกาสอ่านรายงานของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา เรื่อง รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง “ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านการส่งเสริมทางการแพทย์” ที่เสนอต่อประธานวุฒิสภา เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2553 ซึ่งได้เสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภาในเวลาต่อมา รายงานฉบับนี้มีความหนา 80 หน้า ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก มีรายละเอียดความเป็นมา ที่มาที่ไป ปัญหาและแนวทางแก้ไขครบถ้วนกระบวนความ จึงขอสรุปสาระสำคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับรังสีเทคนิคเอาไว้ เพื่อเป็นข้อมูลแบ่งปันกันให้ชาวเราได้ทราบทั่วๆกันซึ่งหลายท่านอาจทราบแล้ว แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่อาจจะยังไม่ทราบ
ที่มาที่ไป
พ.ศ. 2551 ที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่
8 (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อวันศุกร์ที่ 2
พฤษภาคม 2551 มีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสาธารณสุข ต่อมาได้มีการเลือกนายอนันต์ อริยะชัยพาณิชย์
เป็นประธานกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง
จำนวน 10 คน มี ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน
เป็นประธานอนุกรรมาธิการ หนึ่งในนั้นมี นส.อำไพ อุไรเวโรจนากร (กรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค) ร่วมเป็นอนุกรรมาธิการด้วย ขณะเดียวกัน
มีที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการอีกจำนวน 20 คน หนึ่งในนั้นมี
รศ.จิตต์ชัย สุริยะไชยากร (ประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคในขณะนั้น)
ร่วมเป็นที่ปรึกษาด้วย
คณะอนุกรรมาธิการมีหน้าที่ศึกษาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรด้านการส่งเสริมทางการแพทย์
โดยมีกรอบการพิจารณาการศึกษาวิจัย
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านการส่งเสริมทางการแพทย์ ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข
ได้แก่ วิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักรังสีการแพทย์
นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก/จิตวิทยา นักเวชศาสตร์สื่อความหมาย
นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
พ.ศ. 2552-2553 โดยหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
คณะอนุกรรมาธิการจึงทำการศึกษาวิจัย ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านการส่งเสริมทางการแพทย์
ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ตามกรอบที่กำหนด เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับได้ทราบสถานการณ์ปัจจุบัน
สภาพปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบาย
แนวทางในการบริหารจัดการบุคลากรด้านการส่งเสริมทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อเสนอต่อรัฐสภา และหน่วยงานที่รับผิดชอบ นอกจานี้ ยังได้มีการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้วย
ในรายงานที่เสนอต่อวุฒิสภา
จึงมีรายละเอียดของ ปัญหาและข้อเสนอแนะ
เพื่อแก้ปัญหาของวิชาชีพด้านส่งเสริมทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข
ครบทุกวิชาชีพที่กำหนดให้ศึกษา
เมื่อมองในส่วนของรังสีเทคนิค จากรายงานฉบับนี้ ได้กล่าวถึงเนื้อหาที่สะท้อนความเป็นจริงได้อย่างดีและน่าจะครบถ้วนตามสถานการณ์ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา
โดยสรุปดังนี้
ปัญหาและอุปสรรคของรังสีเทคนิค
กรอบตำแหน่งที่บรรจุและงบประมาณไม่สะท้อนกับความต้องการปริมาณนักรังสีการแพทย์ในระบบบริการสาธารณสุขและแรงจูงใจ
เช่น เงิน พตส. ยังไม่ได้รับความเท่าเทียมกันกับผู้ประกอบวิชาชีพทางสุขภาพในสาขาอื่นที่จบการศึกษาระดับเดียวกัน
การขาดแคลนตำแหน่งข้าราชการสำหรับบรรจุลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักรังสีการแพทย์
การปรับตำแหน่งจาก
เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ เป็นนักรังสีการแพทย์ มีขั้นตอนยุ่งยาก เสียขวัญกำลังใจ
มีการลดขั้น ยุบตำแหน่ง ลดเงินเดือน
เมื่อเปรียบเทียบกับวิชาชีพอื่นที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเหมือนกัน เช่น พยาบาล
การนับระยะเวลาเกื้อกูลที่ไม่พิจารณาระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์
ค่าตอบแทนต่างๆ
ที่ได้รับยังไม่เป็นธรรมกับภาระงาน หรือความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน เช่น พตส.
ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย รพช ค่าเบี้ยกันดาร ซึ่งไม่ได้เลยหรือไม่ทัดเทียมกับวิชาชีพสุขภาพอื่นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เดียวกัน
ตำแหน่งพนักงานราชการ
มีปัญหาในการปฏิบัติงานไม่เท่าเทียมข้าราชการสวัสดิการรักษาพยาบาลมีเพียงประกันสังคม
ขาดการส่งเสริมการเป็นเฉพาะทางและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของผู้ปฏิบัติการในวิชาชีพจากภาครัฐ
รวมถึงความก้าวหน้าในการเลื่อนระดับเท่าเทียมวิชาชีพอื่นๆ
หรือมีตำแหน่งระดับสูงน้อยเมื่อเทียบกับความยากของงาน
ขาดการส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคให้เพียงพอต่อความต้องการของระบบบริการสาธารณสุข
ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหารังสีเทคนิค
จัดให้มีกรอบตำแหน่งและงบประมาณที่สอดคล้องกับจำนวนนักรังสีการแพทย์ที่ต้องการในระบบบริการสาธารณสุข
สร้างแรงจูงใจทั้งด้านการเงิน
ความก้าวหน้าในวิชาชีพให้เท่าเทียมกับสาขาวิชาชีพอื่น เช่น พยาบาล
จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่ยั่งยืนด้านการส่งเสริมความเป็นเฉพาะทางในวิชาชีพรังสีเทคนิค
จัดทำแผนเพิ่มสถาบันผู้ผลิตเพื่อเพิ่มจำนวนการผลิต
โดยมีแผนการพัฒนาอาจารย์ควบคู่กันเพื่อควบคุมคุณภาพของบัณฑิต
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ชาวเราท่านใดสนใจรายละเอียดแบบเต็มๆ ลองหาอ่านดูครับ
ล่าสุด ในการประชุมนานาชาติ AACRT2013 ที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ผศ.ดร.บรรจง เขื่อนแก้ว ประธานกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค, นายสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย, และรองศาสตราจารย์มานัส มงคลสุข หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคมหิดล ได้ร่วมกันอภิปรายเรื่อง ความก้าวหน้าของสายงานรังสีการแพทย์ของไทย
ซึ่งมีการพูดถึงข่าวดีเรื่องการจัดสรรตำแหน่งในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข โดยรวมตำแหน่งนักรังสีการแพทย์เข้าไปด้วย และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิคแล้วสามารถปรับเป็นตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ได้เลยโดยไม่ต้องยุบรวมตำแหน่ง
พูดถึงข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างตำแหน่งราชการกับพนักงานกระทรวงสาธารณสุขซึ่งคาดว่าเงินเดือนเป็น 1.2 เท่าของข้าราชการ ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ไม่ได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไม่มีบำเหน็จบำนาญ ได้เงิน พตส. มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีประกันสังคม ฯลฯ ร่างระเบียบเสร็จแล้วน่าจะเริ่มใช้ได้เร็วๆนี้
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวอภิปรายตอนหนึ่งว่า ผลลัพธ์เกี่ยวกับตำแหน่งที่ออกมาเช่นนี้ เป็นไปตามเหตุและผล ไม่ใช้เกิดจากการกดดันของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งสิ้น
ล่าสุด ในการประชุมนานาชาติ AACRT2013 ที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ผศ.ดร.บรรจง เขื่อนแก้ว ประธานกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค, นายสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย, และรองศาสตราจารย์มานัส มงคลสุข หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคมหิดล ได้ร่วมกันอภิปรายเรื่อง ความก้าวหน้าของสายงานรังสีการแพทย์ของไทย
ซึ่งมีการพูดถึงข่าวดีเรื่องการจัดสรรตำแหน่งในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข โดยรวมตำแหน่งนักรังสีการแพทย์เข้าไปด้วย และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิคแล้วสามารถปรับเป็นตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ได้เลยโดยไม่ต้องยุบรวมตำแหน่ง
พูดถึงข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างตำแหน่งราชการกับพนักงานกระทรวงสาธารณสุขซึ่งคาดว่าเงินเดือนเป็น 1.2 เท่าของข้าราชการ ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ไม่ได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไม่มีบำเหน็จบำนาญ ได้เงิน พตส. มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีประกันสังคม ฯลฯ ร่างระเบียบเสร็จแล้วน่าจะเริ่มใช้ได้เร็วๆนี้
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวอภิปรายตอนหนึ่งว่า ผลลัพธ์เกี่ยวกับตำแหน่งที่ออกมาเช่นนี้ เป็นไปตามเหตุและผล ไม่ใช้เกิดจากการกดดันของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งสิ้น
ในที่สุดแล้ว เรื่องปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ของรังสีเทคนิคไทย ที่ได้ทำการศึกษากันมา และได้เสนอต่อวุฒิสภาและหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลในส่วนอื่นๆที่ชาวเราช่วยกันทำ ช่วยกันส่งต่อข้อมูลให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบ กำลังส่งผลลัพธ์ไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นเพราะชาวเราหลายคนมิใช่คนใดคนหนึ่ง ที่ช่วยกัน ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำงานอย่างต่อเนื่อง บนหลักการที่ถูกต้องชอบธรรมสง่างาม ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่กระจัดกระจาย ไม่รู้เหน็ดเหนื่อย จริงไหมครับ และขอให้กำลังใจทุกคนร่วมกันเดินหน้าไปในแนวทางเดียวกันตลอดไป
Related Links:
บุก สธ.ขอปรับตำแหน่งเป็น “นักรังสีการแพทย์”