(341 ครั้ง)
วันที่เผยแพร่บทความนี้คือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ทุกวันที่ 8 พฤศจิกายนเป็นวัน “World Radiography Day” จึงอดไม่ได้ที่จะเริ่มต้นด้วยเอกซเรย์ ประเด็นนี้จะเกี่ยวกับความขัดแย้งไหม?? เชิญตามผมมาครับ
วันที่เผยแพร่บทความนี้คือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ทุกวันที่ 8 พฤศจิกายนเป็นวัน “World Radiography Day” จึงอดไม่ได้ที่จะเริ่มต้นด้วยเอกซเรย์ ประเด็นนี้จะเกี่ยวกับความขัดแย้งไหม?? เชิญตามผมมาครับ
“เอกซเรย์ถูกค้นพบโดยศาสตราจารย์เรินท์เกน
(Wilhelm Conrad Roentgen) แห่งสถาบันฟิสิกส์
มหาวิทยาลัย Wurgburg ประเทศเยอรมัน เมื่อวันศุกร์ที่ 8
พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 เวลาบ่ายๆ”
ข้างบนนั้น เป็นข้อความที่ผมกล่าวถึงเสมอๆ
เมื่อเวลาที่สอนนักศึกษารังสีเทคนิค จนระยะหลังๆ เมื่อผมเริ่มพูดข้อความนี้
นักศึกษาทั้งห้องจะพูดต่อข้อความนี้ดังพร้อมกันและถูกตรง ทั้งที่ผมยังไม่เคยสอนพวกเขาเลย
ข้อความที่ว่านี้ เป็นข้อความเพื่อเตือนให้ชาวเราชาวรังสีระลึกเสมอว่า
มันเป็นช่วงเวลาที่เป็นจุดเริ่มต้นของศาสตร์ทางด้านรังสีวิทยา
เนื่องจากเรินท์เกนใช้เอกซเรย์ถ่ายภาพมือของ Bertha ซึ่งเป็นภรรยาของเขาเอง
ภาพเอกซเรย์ภาพแรกของโลกก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
และเป็นช่วงเวลาที่สังคมมีความหวาดระแวงขัดแย้งกับเอกซเรย์และผู้ใช้เอกซเรย์เพราะกลัวเอกซเรย์จะเปิดเผยความลับของปัจเจกบุคคลออกมา เวลาผ่านไป ความขัดแย้งนั้นหายไป มนุษย์เราเริ่มประจักษ์ถึงพลังอำนาจในเชิงสร้างสรรค์อย่างยิ่งยวด
เอกซเรย์แม้จะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
แต่เอกซเรย์ก็ได้ช่วยพยุงชีวิตของผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่มีการแยกชั้นวรรณะ
ไม่ว่าใคร เด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย จะยากดีมีจนขนาดไหน
จะเป็นคนดีหรือคนชั่ว หรือแม้แต่สัตว์ ก็ไม่สามารถต้านทานพลังอำนาจของเอกซเรย์ได้
เอกซเรย์ให้ความเสมอภาคกับสรรพสิ่ง ความลับทางรังสีเชิงกายวิภาคศาสตร์
ที่ฝังอยู่ภายในร่างกายเราถูกเปิดเผยออกมา
มิใช่เพื่อดูเล่นสนุกๆหรือล้วงความลับอะไร แต่เพื่อประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคและรักษาโรค
พลังอำนาจของเอกซเรย์เฉกเช่นนี้ มีมาช้านานแล้ว
อาจจะนับได้ตั้งแต่ยุคกำเนิดจักรวาล แต่มนุษย์เพิ่งรู้จักเอกซเรย์เมื่อประมาณ 119
ปีมานี้เอง
มาดูความขัดแย้งเรื่องอื่นต่อไปครับ
ชาวเราที่ขับรถบนท้องถนนทุกๆวัน
อาจรู้สึกหงุดหงิดหรือมีความขัดแย้งกับผู้คนอื่นๆที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ถ้าวันไหนผมเป็นผู้โดยสาร
เช่น นั่งแท็กซี่ เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าต้องลุ้นทุกครั้งกับนิสัยและการขับรถของโชว์เฟอร์แท็กซี่
เพราะบ่อยครั้งผมจะได้ยินเสียงของโชว์เฟอร์แท็กซี่บ่น ว่า ด่าทอ รถคันที่ขับไม่เข้าท่าตามความคิดของโชว์เฟอร์แท็กซี่ท่านนั้น
คนขับรถคันที่ถูกด่าไม่ได้ยินหรอกครับ
คนที่ได้ยินเต็มๆสองรูหูคือผมซึ่งเป็นผู้โดยสาร หลังจากนั้นโชว์เฟอร์แท็กซี่จะหงุดหงิด
ขับรถแรงขึ้นและขับแบบหวาดเสียวมาก ผมก็คิดในใจว่า “กรูจะรอดไหมเนี่ย??” ต้องนั่งหวาดเสียวและฟังเสียงบ่นด่าตลอดทาง
แต่บางครั้งนึกขอบคุณโชว์เฟอร์แท็กซี่เหมือนกันนะ
เพราะมันเหมือนเป็นแบบฝึกหัดให้ผมได้ทดสอบจิตใจว่าจะวางใจของผมอย่างไร? แต่อันตรายทางร่างกายที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุก็เสี่ยงกันไปหากจำเป็นต้องใช้บริการแท็กซี่
ทุกวันตอนเย็น
ถ้าใครที่ขับรถจากแยกอรุณอมรินทร์
ผ่านแยกศิริราช แล้ว มุ่งสู่กรมอู่ทหารเรือ วัดเครือวัลย์...ฯลฯ รถจะติดมากตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์
เมื่อผ่านแยกศิริราชแล้วก็ยังติดอยู่ดี เพราะมีรถจอดข้างทาง และมีรถวิ่งแซงสวนมา
...
ไอ้เจ้ารถที่วิ่งแซงขวาแล้วสวนมาเข้าทางของเรานี่แหล่ะครับ
น่ารำคาญที่สุดเลย เราวิ่งมาช่องทางเราดีๆแท้ๆ ยังต้องหลบซ้ายให้มัน ไม่รู้เหมือนกันว่ามันคิดอะไรอยู่
จริงๆเราไม่ต้องไปรู้ก็ได้ว่ามันคิดอะไร...
สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือ เราคิดอย่างไร?? ถ้าเราคิดว่า เรามาถูกทาง บีบแตรและเปิดไฟเตือนมัน
เรายึดมั่นเหนียวแน่นว่าเราถูก เพราะเราวิ่งมาบนช่องจราจรถูกต้องของเรา เราไม่ยอมหลบ
เราแน่ เราขับตรงเข้าหารถที่สวนมาในช่องจราจรของเรา แล้วถ้ารถที่สวนมาก็ไม่หลบอีก
ทีนี้ชนกันยับแน่ รถพังและเราหรือมันอาจบาดเจ็บหรือตาย ... คิดแล้วไม่คุ้ม หลบดีกว่า ละเลิกความยึดมั่นในบัดดล
จบไหม??.... “เสียศักดิ์ศรีก็เราถูกนี่ จะหลบทำไม???” ชาวเราบางคนอาจมีความคิดเช่นนี้ งั้นก็ไม่จบ ... ชนเลย
อาจารย์ของผมเคยเล่าให้ผมฟังว่า.....
มีนักมวยกลุ่มหนึ่งซ้อมวิ่งออกกำลังกายทุกๆวันตอนเช้ากับครูฝึก
เพื่อให้มีความแข็งแรง มีพละกำลังดีอยู่ตัว เช้าวันหนึ่ง กลุ่มนักมวยนั้นก็วิ่งไปตามทางตามปกติที่เคยวิ่ง
ระหว่างทางได้พบกับคนแต่งตัวใส่สูทดูดีมีสกุลยืนอยู่ข้างทาง พลันคนๆนั้นก็ตะโกนด่านักมวยที่วิ่งมา
ด่าแบบจริงจังไม่ใช่ด่าเล่นๆ โดยไม่เกรงกลัวว่านั่นนักมวยนะนั่น
"สัส .... วิ่งไมวะ เกะกะshipหาย..กรูรำคาญ
ไปวิ่งที่อื่นไป๊...สัส"
เท่านั้นแหละ นักมวยทั้งกลุ่มหยุดวิ่ง นักมวยคนหนึ่งชื่อไอ้ขามนอกจากจะหยุดวิ่งแล้ว ยังวิ่งตรงรี่เข้าหาชายคนนั้นด้วยความโกรธจัด
ตั้งท่าจะกระโดดเตะ ครูฝึกตะโกนเสียงดังว่า
"หยุดดดด ... มึงกลับมาวิ่งต่อไอ้ขาม ไม่ต้องไปสนใจ"
ไอ้ขามถอยกลับมาเข้ากลุ่มช้าๆ ครูฝึกพูดต่อว่า
“ถ้ามึงควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อย่าคิดว่ามึงจะชนะใครได้ จำไว้”
กลุ่มนักมวยวิ่งต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แต่ความจริงคือ นักมวยในกลุ่มคนอื่นๆก็มีอารมณ์โกรธด้วยเช่นกัน ดูได้จากสีหน้าและการสบถ
แต่ไอ้ขามโกรธพร้อมกับแสดงออกชัดเจนเป็นรูปธรรมมากกว่าเพื่อน และเมื่อครูฝึกห้ามไว้ไอ้ขามได้สติระงับใจได้แต่ก็ยังแบกอาการโกรธจัดไว้
วันนั้นทั้งวัน ไอ้ขามยังรักษาอารมณ์โกรธไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ยอมวางความโกรธลง
มีอาการเสมือนว่ารักความโกรธมาก ต้องยึด ต้องจับ ต้องแบกเอาไว้อย่างนั้น
พยายามเลี้ยงความโกรธไว้ ส่งผลให้หงุดหงิด ไม่มีสมาธิในการซ้อมมวย ไอ้ขามจมอยู่ในทะเลอารมณ์ที่พุ่งพล่านอย่างมึนเมา
คิดอย่างเดียวว่าถ้าพรุ่งนี้เจออีก และมันด่าอีก จะไม่ยอมมันแล้ว
ใครห้ามก็จะไม่ฟัง
เช้าวันรุ่งขึ้น กลุ่มนักมวยก็วิ่งตามปกติ ผ่านมาทางเดิมด้วยใจลุ้นระทึก
และไม่ผิดหวัง กลุ่มนักมวยที่มีไอ้ขามอยู่ด้วยก็เจอชายคนนั้นคนเดิมจริงๆซะด้วย
แต่คราวนี้ ชายคนนั้นมาในมาดใหม่ แตกต่างไปจากเมื่อวาน เขาแต่งตัวเป็นลิเกมีความงามตามแบบฉบับระยิบระยับ
และยืนร้องลิเกไม่สนใจกลุ่มนักมวยที่กำลังวิ่งผ่านเข้ามาเหมือนเมื่อวาน
“กล่าวฝ่ายพระมุนีฤาษีศีล ข้าวปลาไม่กิน กินแต่ไข่ไก่
เช้าตื่นขึ้นมาไม่ทำอะไร นั่งกินไข่ไก่ข้าวปลาไม่กิน
เอิงเอยยยยยย...”
กลุ่มนักมวยเมื่อเห็นและได้ยินดังนั้นต่างส่งเสียงหัวเราะเบาๆ สำหรับไอ้ขามรู้ทันทีว่าชายคนนั้นมันบ้า เมื่อคิดได้ดังนั้น พลันความโกรธของไอ้ขามเมื่อวานจนถึงเมื่อครู่นี้ก็หายไปเป็นปลิดทิ้งทันที
ไอ้ขามรำพึง.....
“กรูนี่ถ้าจะบ้า เกือบเตะคนบ้าซะแล้ว”
"..##@%$&^!!!~!...."
ในแวดวงรังสีก็ไม่ได้รับการยกเว้นในเรื่องธรรมชาติของความขัดแย้ง มีอยู่ให้เห็นทั้ง เรื่องเล็กๆและเรื่องใหญ่ๆ มีทั้งความขัดแย้งภายในกันเองที่แบ่งเป็นขั้วๆ มีทั้งความขัดแย้งภายนอกกับวิชาชีพอื่นที่มาก่อนหน้า หรือที่กำลังจะมา
"การฉีดหรือไม่ฉีด contrast media"
"การจัดฝึกอบรมบุคคลที่ขาดคุณสมบัติให้ทำหน้าที่นักรังสีเทคนิค"
"การใช้บุคคลขาดคุณสมบัตินักรังสีเทคนิคให้ทำหน้าที่แบบนักรังสีเทคนิค"
"การประเมินเพื่อรับรองสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิค"
"ตำแหน่งงาน...ทำงานมานานแต่ไม่บรรจุสักที"
"ความเข้าใจไม่ตรงกันของนักรังสีเทคนิคกับนักฟิสิกส์การแพทย์ที่กำลังดำเนินการให้มีใบประกอบโรคศิลปะ"
"...ฯลฯ..."
มันก็เป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นเรื่องธรรมดา
Related Links:
ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา (1)
ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา (2)
"..##@%$&^!!!~!...."
ในสังคมมนุษย์เรานั้นมีความขัดแย้งกันเอง มากบ้าง น้อยบ้าง มนุษย์เรามีความขัดแย้งกับสรรพสิ่งก็มีให้เห็น เช่นสถานการณ์ตอนนี้ เราขัดแย้งกับเชื้ออีโบลา มีผู้คนหลายประเทศติดเชื้อร่วมหมื่นคน เสียชีวิตแล้วกว่า 4,500 คน เป็นการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่น่าวิตกมาก เราพยายามเอาชนะ หยุดการแพร่ของมัน ป้องกันการติดเชื้อและรักษาผู้ติดเชื้อแล้วให้ได้
ในแวดวงรังสีก็ไม่ได้รับการยกเว้นในเรื่องธรรมชาติของความขัดแย้ง มีอยู่ให้เห็นทั้ง เรื่องเล็กๆและเรื่องใหญ่ๆ มีทั้งความขัดแย้งภายในกันเองที่แบ่งเป็นขั้วๆ มีทั้งความขัดแย้งภายนอกกับวิชาชีพอื่นที่มาก่อนหน้า หรือที่กำลังจะมา
"การฉีดหรือไม่ฉีด contrast media"
"การจัดฝึกอบรมบุคคลที่ขาดคุณสมบัติให้ทำหน้าที่นักรังสีเทคนิค"
"การใช้บุคคลขาดคุณสมบัตินักรังสีเทคนิคให้ทำหน้าที่แบบนักรังสีเทคนิค"
"การประเมินเพื่อรับรองสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิค"
"ตำแหน่งงาน...ทำงานมานานแต่ไม่บรรจุสักที"
"ความเข้าใจไม่ตรงกันของนักรังสีเทคนิคกับนักฟิสิกส์การแพทย์ที่กำลังดำเนินการให้มีใบประกอบโรคศิลปะ"
"...ฯลฯ..."
มันก็เป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นเรื่องธรรมดา
แม้แต่ในหมู่ผู้ทรงศีลก็มีความขัดแย้ง เช่น การเกิดสังฆเภทในสมัยพุทธกาล ระหว่างพระวินัยธรกับพระธรรมกถึก ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีลูกศิษย์ฝ่ายละประมาณ 500 รูป พระวินัยธรแม่นยำเรื่องกฎระเบียบและวินัย ส่วนพระธรรมกถึกรู้ข้อธรรมะดีและเทศนาเก่ง ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายเกิดขึ้นจากเรื่องเล็กนิดเดียวและไม่ควรเป็นเรื่องด่วยซ้ำ แต่บานปลายใหญ่โต ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกัน ชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาแต่ละฝ่ายก็ทะเลาะกัน แตกเป็นเสี่ยง จนพระพุทธเจ้าต้องเสด็จมาแสดงธรรมสอนสั่ง แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ฟังและจะทะเลาะกันต่อไป แถมยังพูดกับพระพุทธเจ้าว่า "ขอพระองค์ทรงขวนขวายน้อย" แปลว่าไม่ต้องมายุ่งนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงเสด็จบิณฑบาตรพระองค์เดียวไม่ยอมให้มีใครติดตามและเข้าป่า ชาวบ้านเริ่มทนดูไม่ได้ เพราะทั้งสองฝ่ายไม่ยอมเชื่อฟังพระพุทธเจ้า ชาวบ้านจึงรวมตัวกันประท้วงด้วยการไม่ใส่บาตร นานเข้า ทั้งสองฝ่ายทนหิวไม่ไหวก็คืนดีกัน แต่ชาวบ้านก็ยังไม่พอใจ ชาวบ้านต้องการให้ทั้งสองฝ่ายไปขอโทษพระพุทธเจ้า ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ใส่บาตรต่อไป ทั้งสองฝ่ายจึงต้องยอมไปขอโทษพระพุทธเจ้า ทำให้ความขัดแย้งยุติลง
แต่น่าเสียดายที่การคลี่คลายความขัดแย้งจนยุติลงในครั้งนั้น ไม่ได้เกิดเพราะการพิจารณาด้วยปัญญาของทั้งสองฝ่าย แต่เกิดจากความหิวเป็นปัจจัยสำคัญ
Related Links:
ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา (1)
ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา (2)