(545ครั้ง)
ทุกวันนี้มนุษย์บอกว่ารักตัวเอง แต่ไม่อาจอยู่คนเดียวได้ ไม่อาจอยู่กับตัวเองได้ ต้องมีนู่น นี่ นั่น ให้มันเยอะแยะไปหมด แบบมีไว้เป็นเพื่อนกลัวเหงา ต้องมีสังคม มีสังคมออนไลน์ ต้องเข้าสังคม ต้องเข้าเฟสบุ๊กทุกวัน วันละหลายครั้ง ครั้งละนานๆ แรกเริ่มเดิมที ความขัดแย้งมันมีอยู่คู่กับมนุษย์มาตลอด เราขัดแย้งกับธรรมชาติ--->พายุ น้ำท่วม ร้อนจัด แล้ง หนาวจัด แผ่นดินไหว ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ หลายอย่างสุดบรรยาย เราขัดแย้งกับสิงสาลาสัตว์ที่มีลักษณะท่าทางนิสัยความดุร้ายแตกต่างจากมนุษย์และเมื่อเราอยู่รวมกันมากเข้าก็เกิดความขัดแย้งกันเองขึ้นได้ เอาแค่ตัวคนเดียวก็ยังขัดแย้งกับตัวเองเลย ยิ่งอยู่กันเป็นสังคมจะไปเหลือรึ ความขัดแย้งย่อมมีมากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น เข้าใจได้ยากขึ้น เสถียรภาพความมั่นคงของสังคมแบบนี้จะเป็นเช่นไร จึงชวนคิดเรื่องนี้ครับ 'เสถียรภาพในความขัดแย้ง'
มองลึกลงไปในสสารรวมทั้งตัวของเราด้วย ที่เป็นร่างกายของเรานี่แหล่ะ เรายอมรับกันว่า สสารทั้งหลายประกอบด้วยอะตอม ที่ใจกลางอะตอมมีนิวเคลียสทรงกลมขนาดเล็กมากๆ ภายนอกนิวเคลียสมีอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบๆ
ทุกวันนี้มนุษย์บอกว่ารักตัวเอง แต่ไม่อาจอยู่คนเดียวได้ ไม่อาจอยู่กับตัวเองได้ ต้องมีนู่น นี่ นั่น ให้มันเยอะแยะไปหมด แบบมีไว้เป็นเพื่อนกลัวเหงา ต้องมีสังคม มีสังคมออนไลน์ ต้องเข้าสังคม ต้องเข้าเฟสบุ๊กทุกวัน วันละหลายครั้ง ครั้งละนานๆ แรกเริ่มเดิมที ความขัดแย้งมันมีอยู่คู่กับมนุษย์มาตลอด เราขัดแย้งกับธรรมชาติ--->พายุ น้ำท่วม ร้อนจัด แล้ง หนาวจัด แผ่นดินไหว ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ หลายอย่างสุดบรรยาย เราขัดแย้งกับสิงสาลาสัตว์ที่มีลักษณะท่าทางนิสัยความดุร้ายแตกต่างจากมนุษย์และเมื่อเราอยู่รวมกันมากเข้าก็เกิดความขัดแย้งกันเองขึ้นได้ เอาแค่ตัวคนเดียวก็ยังขัดแย้งกับตัวเองเลย ยิ่งอยู่กันเป็นสังคมจะไปเหลือรึ ความขัดแย้งย่อมมีมากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น เข้าใจได้ยากขึ้น เสถียรภาพความมั่นคงของสังคมแบบนี้จะเป็นเช่นไร จึงชวนคิดเรื่องนี้ครับ 'เสถียรภาพในความขัดแย้ง'
มองลึกลงไปในสสารรวมทั้งตัวของเราด้วย ที่เป็นร่างกายของเรานี่แหล่ะ เรายอมรับกันว่า สสารทั้งหลายประกอบด้วยอะตอม ที่ใจกลางอะตอมมีนิวเคลียสทรงกลมขนาดเล็กมากๆ ภายนอกนิวเคลียสมีอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบๆ
ลึกเข้าไปในนิวเคลียส เรารู้ว่าในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน
(มีประจุไฟฟ้าบวก) และนิวตรอน (เป็นกลางทางไฟฟ้า) ทั้งคู่มีรูปร่างขนาดพอๆกัน มีจำนวนเท่าๆกันในนิวเคลียสที่ไม่โตมาก
แต่พอนิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดโตขึ้น คือมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนมากขึ้น ปรากฏว่า
จำนวนนิวตรอนกลับมากกว่าจำนวนโปรตอน เช่น Co-60 มีโปรตอน 27 ตัว แต่มีนิวตรอน 33 ตัว สัดส่วนของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน
มีผลต่อเสถียรภาพของนิวเคลียส หากไม่เสถียรแล้ว มันก็จะสลายตัวเปลี่ยนสภาพนิวเคลียสไป
ซึ่งอาจเปลี่ยนสภาพด้วยการปล่อยรังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
ถึงตอนนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมนิวตรอนต้องมากกว่าโปรตอน
เท่ากันไม่ได้หรือ
เราพบความจริงว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องของ "ธรรมชาติจัดสรร"
หมายความว่า
นิวเคลียสมันต้องการความมีเสถียรภาพ นิวเคลียสไม่ต้องการแตกสลายย่อยยับ เมื่อนิวเคลียสมีขนาดโตขึ้นเช่น
U-235 ที่มีโปรตอนมากถึง
92 ตัว ธรรมชาติจึงบรรจุนิวตรอนมากถึง 143 ตัวเข้าไปในนิวเคลียส
ซึ่งมากกว่าโปรตอนประมาณ 1.5 เท่า การที่มีนิวตรอนซึ่งเป็นกลางจำนวนมากในนิวเคลียส มันดีอย่างไร จะช่วยอะไรได้
มาลองดูครับ
มาดู U-235 เป็นกรณีศึกษาครับ
เนื่องจากโปรตอนมีประจุบวก
นิวตรอนเป็นกลาง ถ้าโปรตอนอยู่ใกล้โปรตอนมากๆ มันจะผลักกันด้วยแรงไฟฟ้าที่แรงมากๆ แรงนี้คือแรงคูลอมบ์ซึ่งเป็นแรงระหว่างประจุไฟฟ้าบวกของโปรตอนนั่นเอง
แรงนี้มีขนาดเป็นปฏิภาคผกผันกับกำลังสองของระยะระหว่างโปรตอน หรือโปรตอนกับโปรตอนมันขัดแย้งกันเอง ส่วนนิวตรอนที่เป็นกลางนั้น
ไม่มีผลทำให้เกิดแรงผลักไฟฟ้า สมกับคำว่าเป็นกลางจริงๆ
ในนิวเคลียสของ U-235 ซึ่งเป็นอาณาบริเวณแคบๆมีโปรตอนมากมายถึง 92
ตัว จึงไม่สงสัยเลยว่า
แรงผลักระหว่างโปรตอนด้วยกันเองจะมากขึ้นด้วย
โปรตอนกับโปรตอนในนิวเคลียสจึงไม่อาจอยู่ใกล้กันมากเกินไป มิฉะนั้น
มันจะผลักกันจนนิวเคลียสแตกย่อยยับ มิอาจจะรักษาเสถียรภาพไว้ได้
จำเป็นต้องหาวิธีที่ทำให้โปรตอนแต่ละตัวอยู่กันห่างๆไว้
อย่าให้มันอยู่ใกล้กัน อยู่ใกล้กันมากเดี๋ยวเกิดเรื่อง ธรรมชาติได้ใช้วิธีเติมความเป็นกลางคือนิวตรอนลงไป
ให้แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างโปรตอน ให้มีนิวตรอนมากเพียงพอที่จะเป็นกันชนระหว่างโปรตอนกับโปรตอน
จนทำให้สามารถรักษาเสถียรภาพของนิวเคลียสเอาไว้ได้อย่างยาวนาน ไม่แตกสลายย่อยยับไป
นี่แหล่ะครับ
เสถียรภาพของความแออัด ความขัดแย้ง เป็นความแออัดขัดแย้งในนิวเคลียส ความเป็นกลางช่วยได้ ช่วยให้เกิดเสถียรภาพได้
แต่ต้องมีความเป็นกลางจริงๆในจำนวนที่มากพอ
ดูๆไป ผมคิดว่า
เสถียรภาพในนิวเคลียสมันคล้ายคลึงกับเสถียรภาพของสังคม องค์กรหน่วยงานต่างๆ สังคมใด องค์กรใดหรือนิวเคลียสตัวใด
มีโปรตอนมากหรือมีลักษณะแบบโปรตอนมาก คือเจอกันไม่ได้ เมื่อเจอกันแล้วจะมีแรงผลักอย่างแรง จำเป็นต้องมีความเป็นกลางจำนวนมากพอเพื่อเป็นกันชนให้ได้
ให้เสถียรภาพเกิดขึ้นให้ได้ แต่เมื่อไรก็ตามที่มีความเป็นกลางในจำนวนที่ไม่เพียงพอ
ที่นั้น สังคมนั้น องค์กรนั้นหรือนิวเคลียสตัวนั้น ขาดเสถียรภาพแน่นอน และเกิดการสลายตัวแน่นอน
กลายสภาพเป็นสังคม องค์กรหรือนิวเคลียสชนิดอื่นไปในที่สุด สำหรับสังคม และองค์กรนั้นๆ ก็สุดแต่ว่าเราจะนิยามโปรตอนในสังคม ในองค์กรว่าเป็นอะไร มันจะเป็นอะไรก็ตาม ความหมายคือ เมื่อมันเจอกันแล้วมันเกิดปัญหาทุกครั้งก็แล้วกัน
Related Links:
แรงดูดแรงผลักทางความคิด
คุณนั่นแหล่ะผิด
Related Links:
แรงดูดแรงผลักทางความคิด
คุณนั่นแหล่ะผิด