วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คะแนนแอดมิชชันรังสีเทคนิค 2551-2554

สถิติการรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
สาขารังสีเทคนิค ในระบบ Admission


พ.ศ. 2551
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
6660.05
6197.3
185
30
เชียงใหม่
6793.2
6040.5
239
35
นเรศวร
5970.05
5434.2
3088
31

พ.ศ. 2552
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
6,556.20
6,231.30
247
30
เชียงใหม่
6394.2
5,923.25
205
42
นเรศวร
6,306.75
5,589.95
523
36

พ.ศ. 2553                     
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
19491.05
18061.5
140
30
เชียงใหม่
19590.65
17731.6
178
40
นเรศวร
17963.25
17260.15
383
27

พ.ศ. 2554
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
20877.5
19154.1
306
30
เชียงใหม่
20297.5
18432.5
306
45
นเรศวร
19450
17788.9
302
31




สำหรับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่ในระหว่างการเตรียมการจัดทำหลักสูตรรังสีเทคนิค ซึ่งจะมีความพร้อมในการเปิดรับในปีต่อๆไป

Related Topics:
ปัจจัยที่กระทบการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค พ.ศ. 2555-2559
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค มคอ 1
รังสีเทคนิคคืออะไร?
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับรังสีเทคนิค
จุดเด่น วท.บ. รังสีเทคนิค มหิดล

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ยอมรับว่าองค์กรดีแล้ว...อันตราย


คราวนี้ขอแชร์เรื่ององค์กร ตามทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ บวกกับประสบการณ์ของตัวเองบ้างเล็กน้อยครับ

เมื่อพูดถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่เราทำงาน บางคนอาจใช้เวลาอยู่ที่ทำงานที่มีสถานที่เป็นหลักแหล่งนับเวลาได้ 8-10 ชั่วโมง ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จัดว่าขยันมาก เป็นประเภท Workaholic หรือบ้างานแบบเม็กซิโกและญี่ปุ่น (ไม่ใช่บ้าออกงานรื่นเริงนะครับ) ซึ่งคนของเขาบ้าทำงานเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลกตามลำดับ บางคนใช้เวลาทำงานนานกว่านั้นอีก จนคนที่บ้านเคืองเพราะอยู่ที่ไหนก็ทำงาน ไม่เป็นที่เป็นทาง

หลายคนอาจตั้งคำถามว่า................
องค์กรของเราดีไหม?”
องค์กรของเราเป็นพิษไหม?”
องค์กรของเรายิ่งใหญ่ไหม?”

เราทำงานมาระยะหนึ่ง หรืออยู่มานานพอควร ก็ยังตั้งข้อสงสัยเป็นระยะ คนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำงานก็ตั้งข้อสงสัย แต่เดี๋ยวนี้ไม่แน่เหมือนกัน หลายคนที่เริ่มทำงานใหม่หรือเหล่าบัณฑิตจบใหม่ มีแนวโน้มให้ความสนใจกับค่าจ้าง ค่าตอบแทนต้องสูงไว้ก่อน จนลืมดูเรื่องอื่นๆไป แล้วก็ย้ายงานกันเป็นว่าเล่น จริงหรือไม่จริงลองช่วยกันดู

ว่าด้วยองค์กรที่ดี
องค์กรที่ดีมีลักษณะอย่างไร ในทัศนะของนักวิชาการบอกว่า องค์กรที่ดีมีคุณลักษณะ 9 ประการ ดังต่อไปนี้ 
1.เป้าหมายขององค์กรชัดเจน (Clear organization goals)
2.สายงานบังคับบัญชาสั้นพร้อมงานบังคับบัญชาที่หลากหลาย (Flat organization with increased span of supervision)
3.มีฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารงาน (Data-based self management system)
4.มีระบบการจัดการที่ดีด้วยคนที่ไม่มาก (Good management system with small management staff)
5.เน้นการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ (Emphasis on improved operation reliability)
6.มีการตลาดและประชาสัมพันธ์ (Marketing and advertising)
7.ร่วมมือร่วมใจ และทำงานเป็นทีมอย่างดียิ่ง (More collaboration and teamwork)
8.เน้นมูลค่าในการทำงานในแต่ละตำแหน่งและดำเนินตามนโยบายอย่างแน่วแน่ (Emphasis upon value added aspects of each position or policy)
9.เพื่อองค์กร (For my organization)
พิจารณาแล้วเป็นเรื่องของหลักการที่ดีครับ ทุกองค์กรต้องดีไม่เช่นนั้นอยู่ไม่รอด คือมีลักษณะต่างๆครบถ้วน แต่จะให้น้ำหนักไปด้านใด ก็แตกต่างกันไป เดี๋ยวนี้การประเมินการดำเนินงานขององค์กรเข้มขึ้น และจะยิ่งเข้มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากภาวะการณ์แข่งขันรุนแรง บุคลากรต้องมีลักษณะปรับตัวง่าย ไม่แข็งทื่อ เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสาระสำคัญของการประเมินด้วย

ว่าด้วยองค์กรที่เป็นพิษ (Toxicity)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเรา มันเข้าไปทำลายระบบต่างๆที่สำคัญของร่างกาย จนทำให้เราตายได้ สำหรับองค์กรที่เป็นพิษนั้น ความเป็นพิษของมันจะเข้าโจมตีที่จิตใจ ขวัญ และกำลังใจในการทำงานของเรา (Toxic Emotions) ทำให้เราเกิดอาการตายด้าน ขาดความภักดีต่อองค์กร ในที่สุดองค์กรก็จะได้รับผลกระทบในทางเลวร้ายไปด้วย

องค์กรที่เป็นพิษ มีสาเหตุมาจากหลายอย่าง หากมองต้นเหตุที่คน ตัวอย่างเช่น 
     # ผู้บริหารเป็นพิษ 
     # บุคลากรเป็นพิษ
       เป็นต้น

     องค์กรไหนที่อุดมไปด้วยพิษที่เกิดจากคน ทั้งผู้บริหารและบุคลากร องค์กรนั้นก็ต้องตายไป ตายเร็วหน่อยเพราะพิษมีระดับสูงมากเกินไป องค์กรไหนที่ผู้บริหารเป็นพิษแต่บุคลากรไม่เป็นพิษ หรือผู้บริหารไม่เป็นพิษแต่บุคลากรเป็นพิษ คือเป็นอาการที่องค์กรได้รับพิษในระดับสูง องค์กรนั้นๆก็รอวันตาย ตายอย่างช้าๆโดยอาจไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำไป
พูดแบบไม่ลำเอียงครับ มีผลการวิจัยยืนยันว่า ความเป็นพิษขององค์กรมักเกิดจากผู้บริหารเป็นพิษ ตามความเห็นของผมก็น่าจะเป็นเพราะ ผู้บริหารมีอำนาจ ความเป็นพิษของผู้บริหารจึงส่งผลต่อองค์กรเร็วและร้ายแรง ส่วนความเป็นพิษที่เกิดจากบุคลากรอาจต้องเป็นพิษกันหลายคนหน่อย คือช่วยๆกันเติมพิษลงไปในองค์กร ก็จะยกระดับความเป็นพิษให้กับองค์กรได้ และรอวันดับ

อาการอย่างไรที่เรียกว่า ผู้บริหารเป็นพิษ เอาแบบใจความสั้นๆที่สุดคือ ผู้บริหารหรือเจ้านายที่มีทัศนะคติเป็นลบกับลูกน้อง มองแต่ข้อไม่ดีของลูกน้อง (มองเห็นแต่จุดดำ(ไม่ดี)ในภาพพื้นขาว(ดี)) ชอบทำร้ายลูกน้อง ค่อนขอด เหน็บ กัด ทำให้ลูกน้องอายหรือดูโง่ต่อหน้าผู้อื่น จองล้างจองผลาญ โจมตีทุกคนไม่เลือกหน้า ไม่เลือกเวลาสถานที่ โดยมีความเชื่อว่า การกระทำเยี่ยงนี้เป็นการกระตุ้นและจูงใจลูกน้องให้ทำผลงานออกมาดี
ภาพจุดดำเล็กๆวางบนพื้นขาว คนส่วนใหญ่เมื่อมองภาพจะเห็นแต่จุดดำ
โดยลืมว่า ในภาพก็มีสีขาวและมีเยอะซะด้วย

     อาการอย่างไรที่เรียกว่า "บุคลากรเป็นพิษ" ก็ง่ายๆ คือ บุคลากรที่มีความเห็นแก่ตัวอย่างรุนแรง ไม่รู้จักการให้ มีทัศนะคติเป็นลบอย่างพร่ำเพรื่อ กับใครหรืออะไรก็ได้ จนเป็นพฤติกรรมประจำตัว เช่น มีทัศนะคติที่เป็นลบกับ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน กับองค์กร กับวัฒนธรรมขององค์กรที่หล่อหลอมกันมา ฯลฯ มีการตั้งป้อมค่ายคูเมืองเหมือนจะทำสงครามกับผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน 
(อ่านเรื่องเกี่ยวข้อง..แรงดูดทางความคิดoutcome of life)

ตามความเห็นของผม หากจะดูความเป็นพิษขององค์กร ให้ดูที่ผู้บริหารหรือเจ้านายเป็นอันดับแรก ถัดไปดูที่บุคลากร ถ้าจะหายาถอนพิษ ไม่ต้องไปหาที่ไหนให้ไกลตัวครับ ยาถอนพิษมันก็อยู่ในองค์กรนั่นแหล่ะ อยู่ที่ว่าจะช่วยกันถอนพิษหรือเปล่า หรือจะช่วยกันเติมพิษลงไปเพื่อเร่งให้องค์กรพินาศเร็วๆ

ว่าด้วยองค์กรที่ยิ่งใหญ่ หรือ Great organization
โรตีร้านนี้โดดเด่นมาก อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ต้องเข้าคิวซื้อ 

องค์กรที่ยิ่งใหญ่ หมายความว่า  
เป็นองค์กรที่ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตแต่เป็นองค์กรที่สร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น โดนใจ เป็นที่ต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอและยาวนาน
เป็นความหมายตามที่ปรากฏในหนังสือ “Good to Great” เขียนโดย Jim Collins เป็นหนังสือที่ขายดีมากกว่าสองล้านเล่มนับแต่ปี ค.ศ. 2001 ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากมักจะอ้างถึงหนังสือเล่มนี้
ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมสำรวจคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะผู้เยี่ยมสำรวจ (surveyor) 3 ครั้ง ปีละครั้งไม่ต่อเนื่องกัน เป็นการเยี่ยมสำรวจตามกระบวนการประกันคุณภาพตามระบบคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล (MUQD) ครั้งแรกที่ไปเยี่ยมสำรวจขณะนั้น ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นคณบดี ปัจจุบันท่านเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และครั้งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ธีรวัฒน์   กุลทนันทน์ เป็นคณบดี ทุกครั้งที่ไปเยี่ยมสำรวจ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมสำรวจภาควิชาต่างๆของคณะแพทย์ศาสตรศิริราชพยาบาลมากกว่า 10 ภาควิชา
ผมรู้สึกได้ถึงความเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ ไม่เฉพาะกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเท่านั้น ในระดับภาควิชาก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่เช่นกัน  คือเป็นองค์กรที่มีผลงานโดดเด่นมากๆ และไม่ใช่มีผลงานโดดเด่นครั้งสองครั้งแล้วหายไป แต่เป็นผลงานที่เป็นความต้องการของสังคม มีออกมาอย่างสม่ำเสมอ และมีมาอย่างยาวนาน น่าทึ่งมากว่าทำได้อย่างไร
องค์กรที่ดีไม่ใช่องค์กรที่ยิ่งใหญ่ องค์กรที่ดีจะเคลื่อนตัวเข้าสู่องค์กรที่ยิ่งใหญ่ได้ จะต้องมีกระบวนการสำคัญบางอย่างที่สามารถยกระดับองค์กรที่ดีขึ้นสู่องค์กรที่ยิ่งใหญ่ได้ ซึ่ง Jim Collins ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “Good to Great” ถึงกระบวนการเล่านี้ไว้อย่างละเอียดและน่าติดตามอย่างยิ่ง

1.บุคลากรต้องมีวินัย (Disciplined People) ประกอบด้วย
ผู้นำระดับ 5 หมายความว่า มีความเป็นผู้นำที่มีความทะเยอทะยานสูง มีความมุ่งมั่นเพื่อองค์กร เพื่องานอย่างแรงกล้า รวมถึงการเผชิญปัญหา แต่ว่าสิ่งที่ทุ่มเทลงไปนั้นต้องไม่ทำเพื่อตนเอง มีอุปนิสัยสองด้านคือถ่อมตน (personal humility) แต่มีความตั้งใจสูงในวิชาชีพ (personal will)
เอาใครก่อนแล้วค่อยเอาไง (First Who-Then What) หมายความว่า ต้องมั่นใจว่าเลือกคนได้ถูกต้อง คนนี้แบบนี้ใช่เลย อะไรทำนองนี้ ชวนขึ้นรถ ใช้หลักการ เลือกถูกคน นั่งถูกที่ ทิ้งคนที่ไม่เหมาะสมลงไปจากรถ จากนั้นชวนกันขับรถไปในทิศทางและเป้าหมายที่เราต้องการไปร่วมกัน
2. วินัยทางความคิด (Disciplined Thought)
กล้าเผชิญความจริงอันโหดร้าย (Confront the Brutal Facts)
The Hedgehog Concept ความยิ่งใหญ่ขององค์กรเกิดจากการสะสมความสำเร็จเป็นเวลานาน เฉกเช่นจอมปลวก บนพื้นฐานความคิดแบบวงกลม 3 วง คือ วงแรก-เราทำอะไรเก่งที่สุดในโลก วงที่สอง-อะไรที่ทำให้เราหลงไหล วงที่สาม-อะไรดีที่สุดที่ใช้ขับเคลื่อน บริเวณที่วงกลมทั้งสามมาซ้อนทับกันนั้นคือ แกนสำคัญสู่ความยิ่งใหญ่
3.มีวินัยทางปฏิบัติ (Disciplined Action)
วัฒนธรรมองค์กรที่มีวินัย (Culture of Discipline) ทุกคนมีความรับผิดชอบสูงมาก
ลูกล้อบิน (The Flywheel) องค์กรที่มีนวัตกรรมเพียงชิ้นเดียว ไม่อาจทำให้องค์กรยิ่งใหญ่ได้ และไม่มีองค์กรไหนยิ่งใหญ่ได้ชั่วข้ามคืน ทุกคนต้องช่วยกันหมุนวงล้อแห่งความรับผิดชอบที่หนักหน่วง จนเกิดการหมุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะตามมาด้วยแรงเฉื่อย (inertia) ที่ทำให้เบาแรงลงได้เพราะมันแทบจะหมุนไปได้เอง
4.สร้างความยิ่งใหญ่ให้ได้ตลอดไป (Building Greatness To Last)
บุคลากรในองค์กรต้องยึดมั่น และมีความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่จะไม่เปลี่ยนแปลงคือ ที่เรากำลังทำทุกวันนี้ เราทำเพื่ออะไร: What we stand for” ขณะเดียวกัน สิ่งที่จะไม่หยุดการเปลี่ยนแปลงคือ ที่เรากำลังทำอยู่นั้น เราทำอย่างไร: How we do things”

     ผมเชื่อว่า องค์กรของเราๆ ท่านๆ เป็นองค์กรที่ดี แต่ความดีเป็นอันตราย แปลกไหมครับ ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ต้องแปลกใจ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราเชื่อว่าองค์กรของเราดีแล้ว การพัฒนาองค์กรจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าหรือไม่พัฒนาเลย นี่แหละอันตรายของความดี อยากชวนให้เรามองไปสู่องค์กรที่ยิ่งใหญ่ด้วย โดยการศึกษาจากองค์กรอื่นๆที่ยิ่งใหญ่ให้ถ่องแท้ (benchmark) เพื่อให้เห็นแนวทางที่จะก้าวไปสู่องค์กรที่ดีและยิ่งใหญ่ต่อไป ขณะที่ก้าวไปสู่ความดีและยิ่งใหญ่ ก็ไม่ควรละเลยสัมผัสความสวยงามระหว่างทางที่ก้าวไป นั่นคือ มิตรภาพที่สวยงามระหว่างเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า และหวังว่าองค์กรจะไม่เป็นพิษเพราะเรามีส่วนทำให้มันเป็นพิษนะครับ


อ้างอิง:
1.องค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
2.พลเมืองชาติไหนบ้างานที่สุดในโลก
3.องค์กรที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
4.สาเหตุสำคัญของพิษในที่ทำงาน
5.Good To Great
6. From Good to Great: What Defines a Level V Leader?
7. TQA: Thailand Quality Award



วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21


(1,210 ครั้ง)

คุณคิดว่านิยายวิทยาศาสตร์ที่เราเห็นในหนังฮอลลีวู้ดจะเป็นจริงได้ไหมในศตวรรษที่ 21 ?” เป็นคำถามที่หลายคนอาจบอกว่า เป็นไปไม่ได้มันก็แค่หนังเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่หลายคนก็อาจมีจินตนาการบรรเจิดว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จากบทความที่ปรากฏใน CNN เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554 ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ โดยได้จั่วหัวว่ามันจะเกิดขึ้นได้และเร็วกว่าที่เราคิด

ขอเริ่มด้วยการพิจารณาอารยธรรมที่มีอยู่ในจักรวาล
ศาสตราจารย์มิชิโอะ คาคุ นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา เป็นอาจารย์ที่ City University of New York และเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ Paul Lauterbur เจ้าของรางวัลโนเบลจากผลงาน MRI เมื่อปี 2546 ได้บรรยายในการประชุม Global Competitiveness Forum (GCF2011) ที่เมือง Riyadh ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อเดือนมกราคม 2554 โดยได้แสดงความเห็นว่า ในเอกภาพเมื่อกล่าวถึงอารยธรรมของมนุษย์และ ALIENS สามารถแบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ
อารยธรรมแบบที่ 1 คืออารยธรรมที่สามารถควบคุมพลังงานทั้งหมดของโลกได้ เช่น ควบคุมแผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ท้องทะเล ลมฟ้าอากาศ
อารยธรรมแบบที่ 2 คืออารยธรรมที่สามารถควบคุมพลังงานทั้งหมดของดวงดาวได้ เช่น การควบคุมลูกอุกาบาตที่จะพุ่งเข้ามาชนโลกและดวงดาวอื่นๆ การควบคุมดวงดาวและโลกให้มีการเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่ในที่ที่ต้องการ การสร้างดวงดาวขึ้นใหม่หรือการทำลายดวงดาวที่ไม่ต้องการ การทำให้ดวงอาทิตย์ดับลงรวมถึงการทำให้ดวงอาทิตย์กลับสว่างไสวขึ้นอีก
อารยธรรมแบบที่ 3 คืออารยธรรมที่สามารถควบคุมแกแล็กซี่ได้ ควบคุมพลังงานของดวงดาวทั้งหมด อารยธรรมนี้มองหลุมดำเป็นเพียงแค่ของเล่น




แล้วมนุษย์โลกจัดอยู่ในอารยธรรมแบบไหน?
คำตอบคือ อารยธรรมแบบที่ศูนย์ คือเป็นอารยธรรมที่กำลังพยายามจะขยับตัวเองขึ้นมาควบคุมโลก คงต้องใช้เวลาอีกหลายร้อยปีกว่าจะเป็นไปได้ เช่นตัวอย่าง แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเมื่อว้นที่ 11 มีนาคม 2554 และติดตามมาด้วยการเกิดคลื่น Tsunami มนุษย์ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่ามันจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในวันนั้น อย่างไรก็ตาม เราได้ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 ได้ 10 ปีแล้ว ในปีนี้ศาสตราจารย์มิชิโอะ คาคุ ได้เผยแพร่หนังสือเล่มล่าสุดของเขาเรื่อง “Physics of the Future” เป็นหนังสืออยู่ในบัญชีที่ขายดีที่สุด 5 สัปดาห์ติดต่อกันของ “The New York Times” เป็นหนังสือที่เขียนโดยใช้หลักฐานงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ นำมาสู่การพยากรณ์โลกในอนาคต ในศตวรรษที่ 21 จะมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น

      E-paper และ E-wall paper ที่สามารถแสดงข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงตอบสนองจินตนาการของมนุษย์อย่างไร้ขีดจำกัด ปัจจุบันเริ่มมีการนำ E-paper (Electronics Paper) มาใช้กับโทรศัพท์มือถือ (Flexible Phone) แล้ว ซึ่งเป็นผลงานวิจัยร่วมกันระหว่าง Human Media Lab, Queen's University, Canada และ Arizona State University's Motivational Environments Research Group อีกไม่เกิน 5 ปีน่าจะได้ใช้งานจริง

Internet Contact Lens มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน โดย Babak Amir Parviz ได้สร้าง Contact Lens ต้นแบบที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เนตได้ สามารถแสดงข้อมูลทำให้ผู้สวมใส่สามารถเห็นข้อมูลที่ต้องการได้เช่นเดียวกับการมองจากจอคอมพิวเตอร์ ต่อไป เราสามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกับชาวต่างชาติที่พูดคนละภาษากับเราได้อย่างเข้าใจทั้งที่เราพูดและฟังภาษาของเขาไม่ได้ แต่เราสามารถทราบความหมายได้จากการมองคำแปลที่ Contact Lens 
Disposable Scrap Computer ในสำนักงานเราจะได้เห็น Disposable Computer ซึ่งจะเป็นระบบ Hardware ที่ออกแบบให้มีขนาดเล็ก แต่ทำงานได้เหมือนเครื่องใหญ่ ใช้ได้ไม่กี่ครั้งแล้วทิ้งเลย ระบบคอมพิวเตอร์จะเน้นที่ส่วนเก็บข้อมูลและ software
Driverless Cars เราจะได้เห็นรถที่พาเราไปไหนต่อไหนบนท้องถนนโดยไม่ต้องมีคนขับ แต่ควบคุมด้วย GPS Radar
Smart Pills ผลจากพัฒนาการด้านนาโนเทคโนโลยี เกิดการปฏิวัติทางด้านเทคโนชีวภาพ (Biotechnology) ทำให้เกิดแคปซูลเม็ดขนาดเล็กที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมากและกล้องโทรทัศน์ขนาดเล็กเช่นกัน ซึ่งสามารถสำรวจภายในร่างกายของเรา เสมือนเรือดำน้ำสำรวจใต้มหาสมุทร ภาพของอวัยวะในร่างกายของเรา ถูกส่งออกมาให้ได้เห็นอย่างชัดเจน ในแคปซูลเม็ดขนาดเล็กยังติดตั้งอุปกรณ์รักษาโรคเข้าไปด้วยเรียกว่า Smart Bomb เช่นการใช้รังสีที่บรรทุกใส่แคปซูลไปด้วย แล้วทิ้งบอมบ์ตรงเซลล์ที่ผิดปกติ
Toilet Doctor ห้องน้ำฉลาดสามารถตรวจร่างกายของเราได้ เมื่อเราเข้าไปทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ มันจะสามารถบอกเราได้ว่า เรารับประทานอาหารอะไรเข้าไปมากเกินไป อะไรที่พอดี และอะไรที่น้อยเกินไป อะไรที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โดยการใช้ Nanosensor Chip ทำให้ทราบภาวะการณ์ของโรคมะเร็งที่จะเกิดขึ้นแต่เนิ่นๆเพื่อการรักษาที่ได้ผล
Tricorders ขณะนี้เราทราบว่ามีเครื่อง MRI ช่วยวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตอันใกล้จะได้เห็น Microfluidic MRI ที่สามารถวิเคราะห์เลือดได้ เครื่อง MRI จะมีขนาดเล็กที่สุดได้แค่ไหน ในอนาคตจะได้เห็นเครื่อง MRI มีขนาดเท่าโทรศัพท์มือถือ นี่แหละคือ Tricorders หากใครที่เคยดูภาพยนต์เรื่อง Star Trek ในนั้นมีอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเรียกว่า Tricorders มีขนาดเท่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้วินิฉัยโรค เป็นจินตนาการในภาพยนต์ที่เกิดนานแล้ว ในอนาคตมันจะเป็นจริง
Telepathy จากการศึกษาการทำงานของสมองด้วย MRI ได้เริ่มรู้ถึงส่วนของสมองที่สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ (Brain Computer Interface) และหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์กับสมองมนุษย์เชื่อมต่อกันอย่างน่าอัศจรรย์ นำไปสู่งานวิจัยที่ทำให้เกิดพจนานุกรมแห่งความคิด (Dictionary of Thought) การใช้ความคิดควบคุมสิ่งของต่างๆ การอ่านความคิดของคนอย่างแม่นยำ จะไม่เป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไปแล้วในอนาคตอันไม่ไกล
Teleportation การเคลื่อนย้ายวัตถุจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนวัตถุให้เป็น Photon เมื่อส่งออกไปถึงที่หมายแล้วจะทำการเปลี่ยน Photon ให้กลับมาเป็นวัตถุ ปัจจุบันนักฟิสิกส์ทำการเคลื่อนย้ายอะตอมได้แล้ว ต่อไปก็จะทำการเคลื่อนย้าย โมเลกุล สารประกอบ DNA เป็นต้น แนวคิดนี้เราได้เห็นในภาพยนต์ Star Trek มาแล้วที่ทำการเคลื่อนย้ายมนุษย์ด้วยวิธ Teleportation แรงบันดาลใจในการวิจัยเรื่องนี้คือการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายวัตถุ  
Invisibility Cloak อย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยเกี่ยวกับการหายตัว การทำให้วัตถุมองไม่เห็น เหมือนผ้าคลุมวิเศษในภาพยนต์เรื่องแฮรี่พอตเตอร์ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นภายในศตวรรษที่ 21

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเหลือเชื่อสำหรับหลายๆคน ขอทิ้งท้ายไว้ว่า
การมองอนาคต เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ มันช่วยให้เรา องค์กรของเราก้าวเดินหรือวิ่งไปอย่างมั่นใจขึ้น มีคำกล่าวที่น่าสนใจว่าไว้ดังนี้ ทิศทางสำคัญกว่าความเร็ว ไม่ทราบจริงไหมลองช่วยกันคิดครับ
หากมองเป็นปัญหาทางฟิสิกส์ เช่นเราขับรถให้ถูกทิศทาง ถึงจะใช้ความเร็วต่ำหน่อยแต่ปลอดภัยกว่าและก็ถึงที่หมายได้ เมื่อเทียบความเร็วกับคู่แข่งแล้วไม่แตกต่างกันมากก็น่าจะพอใจระดับหนึ่ง
ขับเร็วเกินไป ดูเหมือนนำหน้าคู่แข่ง แต่เร็วมากก็ดูอะไรไม่ค่อยทัน อาจทำให้หลงทิศ และอาจไม่ถึงที่หมาย แถมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงด้วย
หากมองการทำงานเชิงกลยุทธ์ การก้าวเร็วเกินไปแต่ผิดทิศทาง หรือทิศทางไม่ชัดเจน หรือไม่แน่ใจในทิศทาง อาจไปไม่ถึงเป้าหมาย ต้องย้อนกลับมาตั้งหลักใหม่ จะยิ่งทำให้เสียเวลามาก การก้าวไปช้าหน่อยแต่ทิศทางชัดเจนถูกต้อง ถึงเป้าหมายได้และทำให้เสียเวลาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับคู่แข่ง (คู่ร่วมเดินทาง) ถ้าสูสีก็ OK แล้วครับ
จำนวนผู้อ่านบทความนี้ 1,210 ครั้ง (10พค2554-1ตค2556)