ข่าวใหญ่ระดับโลกเวลานี้ เห็นทีจะหนีไม่พ้นกรณีแผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ระเบิดขึ้นที่เมืองเซนได แน่นอนว่าอานุภาพความร้ายแรงของคำว่า “นิวเคลียร์” ไม่เข้าใครออกใคร ส่งผลให้หลายประเทศออกมาเตรียมการเฝ้าระวัง ซึ่งคนไทยเองก็หวั่นวิตกกันไม่น้อย ด้วยความกังวลว่าจะมีกัมมันตภาพรังสีแผ่มาถึง วันนี้เรามาฟังความเห็นบุคลากรในแวดวงการศึกษาว่ารู้สึกอย่างไรบ้างกับเรื่องนี้
น.ส.จิตพิสุทธิ์ เกตุกระทึก หรือน้องวิว นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บอกว่า ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่ไม่เคยหยุดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างความสะดวกสบาย โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่คิดว่าดีที่สุด แต่ผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ จนเกิดกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดได้สร้างความเสียหายในหลาย ๆ ด้านให้แก่ญี่ปุ่น สร้างความบอบช้ำให้แก่ประชาชนทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวจากการตกค้างของกัมมันตภาพรังสี ทำให้เห็นได้ว่าเทคโนโลยีไม่อาจอยู่เหนือภัยธรรมชาติ และหากถามว่าคิดเห็นอย่างไร หากประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คงต้องขอตอบว่า ไม่เห็นด้วย เพราะยังไม่เห็นความจำเป็นที่สมเหตุสมผลพอเมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างกำไรจากผลประโยชน์ที่จะได้รับเพื่อให้ได้มาซึ่งเชื้อเพลิงที่มีราคาถูก และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปริมาณมาก เทียบกับการที่ต้องขาดทุนหากเหตุการณ์แบบที่ฟุกูชิมาย้อนรอยกลับมาเกิดที่ประเทศไทย เพราะการเก็บรักษาเชื้อเพลิงใช้แล้ว จะมีกัมมันตภาพรังสีระดับสูง เมื่อเกิดการรั่วหรือระเบิดคงนับว่าเป็นการขาดทุนอย่างมหาศาล และมันคงไม่คุ้มเลยที่ประชาชนจะต้องตกอยู่ในฝันร้ายไปอีกนาน
นายรุ่งโรจน์ พรขุนทด นิสิตปริญญาโท ปี 2 สาขาการจัดการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ตอนนี้คนตื่นตัวกันมากก็จริง แล้วจากนี้ล่ะ เมื่อเวลาผ่านไปสักพักเรื่องก็คงจะเงียบหายไป แล้วทุกอย่างก็กลับเหมือนเดิม ไม่ต่างจากเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เชอร์โนบิล ซึ่งตอนนั้นทั้งโลกตื่นกลัวกันมาก แต่คนไทยอาจผ่านเหตุการณ์ไปโดยที่ไม่ได้รับความรู้อะไรจริง ๆ เพิ่มขึ้นมาเลย เพราะมีเพียงแค่ความหวาดกลัว แต่ไม่ได้มีความเข้าใจ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าการศึกษาไทยไม่ได้สอนให้คนรู้จักคิดเป็น รัฐบาลควรให้คนคิดเป็นตั้งแต่ในระดับล่างหรือทุก ๆ คน เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เชื่อมโยงกับไทย เกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ยังมีความเห็นสองฝ่ายมานานแล้ว และต่างฝ่ายก็ต่างให้ข้อมูล ดังนั้นถ้าคนส่วนมากคิดไม่เป็นก็ทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งกัน อย่างไรก็ตามในเรื่องการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ส่วนตัวไม่มีปัญหาอะไร เพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่จะต้องให้ความเชื่อมั่นได้ในเรื่องความปลอดภัย แต่ก็เห็นว่าพูดกันมานานไม่เกิดขึ้นสักที ไม่รู้ว่าที่จริงตอนนี้ปัญหาคืออะไร เพราะกรณีศึกษาในเรื่องนี้ก็มีเยอะอยู่แล้ว และเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ไทยก็เก่งเยอะ ปัจจัยทุกอย่างเป็นไปได้หมด เพราะถ้าจะสร้างจริงรัฐบาลก็คงมีเงินสร้าง ดังนั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะคิดหาผลประโยชน์กับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ ในส่วนที่มีความเห็นคัดค้านกันก็แนะนำให้ทำประชามติ แต่ประชาชนจะต้องคิดเป็นให้ได้ก่อน
สอดคล้องกับ รศ.มานัส มงคลสุข หัวหน้าวิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่า สังคมมีการตอบสนองอย่างมาก จนเรียกว่าเป็นความหวาดกลัวจนเกินเหตุ สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์อยู่มาก แม้จะเป็นคนมีการศึกษาในระดับสูงแล้วก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ต้องช่วยกันคือการให้ความเข้าใจ แต่ในส่วนของการให้ความรู้นั้น ส่วนตัวคิดว่าจะต้องมีการปรับระบบการศึกษากันใหม่ให้มีการปูพื้นฐานในทุกด้านที่เกี่ยวกับชีวิต จะช่วยให้ประชากรในประเทศพร้อมเข้าใจอะไรมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการศึกษา ขณะนี้เราผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มาหลายปีแล้ว สิ่งที่ต้องเรียนรู้คือการอยู่อย่างไรให้รอดในยุคนี้มากกว่าการมานั่งท่องตำราวิชาการอย่างเดียว ส่วนความเห็นการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงมาตั้งแต่สมัยที่ตนเองเด็ก ๆ และคิดว่าจะยังคงถกเถียงกันต่อไป เพราะไม่เพียงรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศจะสุ่มเสี่ยงเมื่อพูดถึงเรื่องนี้แล้ว ยังพบว่ามีปัญหาใหญ่ในเรื่องความเข้าใจของประชาชน หากกระแสการตื่นตัวในวันนี้ไม่ได้ช่วยให้เกิดการเตรียมความพร้อม ต่อไปในอนาคตแม้ว่าจะมีเงินแค่ไหนแต่ยังไงก็สร้างโรงไฟฟ้าฯ ไม่ได้อยู่ดี สำหรับข้อมูลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในทางวิชาการต้องยอมรับว่ามีประโยชน์มาก เมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานในสาขาอื่น เช่น การใช้ถ่านหินและลิกไนต์ แต่ก็ต้องพิจารณาความคุ้มค่าและความพร้อมภายใต้สภาพการณ์ของเมืองไทยด้วย เพราะที่ญี่ปุ่น มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ถึง 50 กว่าแห่งได้ เพราะประเทศเขามีความเคร่งครัดเป็นระบบ และประชาชนมีความเป็นระเบียบวินัยสูง
นายรุ่งโรจน์ พรขุนทด นิสิตปริญญาโท ปี 2 สาขาการจัดการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ตอนนี้คนตื่นตัวกันมากก็จริง แล้วจากนี้ล่ะ เมื่อเวลาผ่านไปสักพักเรื่องก็คงจะเงียบหายไป แล้วทุกอย่างก็กลับเหมือนเดิม ไม่ต่างจากเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เชอร์โนบิล ซึ่งตอนนั้นทั้งโลกตื่นกลัวกันมาก แต่คนไทยอาจผ่านเหตุการณ์ไปโดยที่ไม่ได้รับความรู้อะไรจริง ๆ เพิ่มขึ้นมาเลย เพราะมีเพียงแค่ความหวาดกลัว แต่ไม่ได้มีความเข้าใจ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าการศึกษาไทยไม่ได้สอนให้คนรู้จักคิดเป็น รัฐบาลควรให้คนคิดเป็นตั้งแต่ในระดับล่างหรือทุก ๆ คน เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เชื่อมโยงกับไทย เกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ยังมีความเห็นสองฝ่ายมานานแล้ว และต่างฝ่ายก็ต่างให้ข้อมูล ดังนั้นถ้าคนส่วนมากคิดไม่เป็นก็ทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งกัน อย่างไรก็ตามในเรื่องการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ส่วนตัวไม่มีปัญหาอะไร เพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่จะต้องให้ความเชื่อมั่นได้ในเรื่องความปลอดภัย แต่ก็เห็นว่าพูดกันมานานไม่เกิดขึ้นสักที ไม่รู้ว่าที่จริงตอนนี้ปัญหาคืออะไร เพราะกรณีศึกษาในเรื่องนี้ก็มีเยอะอยู่แล้ว และเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ไทยก็เก่งเยอะ ปัจจัยทุกอย่างเป็นไปได้หมด เพราะถ้าจะสร้างจริงรัฐบาลก็คงมีเงินสร้าง ดังนั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะคิดหาผลประโยชน์กับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ ในส่วนที่มีความเห็นคัดค้านกันก็แนะนำให้ทำประชามติ แต่ประชาชนจะต้องคิดเป็นให้ได้ก่อน
สอดคล้องกับ รศ.มานัส มงคลสุข หัวหน้าวิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่า สังคมมีการตอบสนองอย่างมาก จนเรียกว่าเป็นความหวาดกลัวจนเกินเหตุ สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์อยู่มาก แม้จะเป็นคนมีการศึกษาในระดับสูงแล้วก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ต้องช่วยกันคือการให้ความเข้าใจ แต่ในส่วนของการให้ความรู้นั้น ส่วนตัวคิดว่าจะต้องมีการปรับระบบการศึกษากันใหม่ให้มีการปูพื้นฐานในทุกด้านที่เกี่ยวกับชีวิต จะช่วยให้ประชากรในประเทศพร้อมเข้าใจอะไรมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการศึกษา ขณะนี้เราผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มาหลายปีแล้ว สิ่งที่ต้องเรียนรู้คือการอยู่อย่างไรให้รอดในยุคนี้มากกว่าการมานั่งท่องตำราวิชาการอย่างเดียว ส่วนความเห็นการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงมาตั้งแต่สมัยที่ตนเองเด็ก ๆ และคิดว่าจะยังคงถกเถียงกันต่อไป เพราะไม่เพียงรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศจะสุ่มเสี่ยงเมื่อพูดถึงเรื่องนี้แล้ว ยังพบว่ามีปัญหาใหญ่ในเรื่องความเข้าใจของประชาชน หากกระแสการตื่นตัวในวันนี้ไม่ได้ช่วยให้เกิดการเตรียมความพร้อม ต่อไปในอนาคตแม้ว่าจะมีเงินแค่ไหนแต่ยังไงก็สร้างโรงไฟฟ้าฯ ไม่ได้อยู่ดี สำหรับข้อมูลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในทางวิชาการต้องยอมรับว่ามีประโยชน์มาก เมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานในสาขาอื่น เช่น การใช้ถ่านหินและลิกไนต์ แต่ก็ต้องพิจารณาความคุ้มค่าและความพร้อมภายใต้สภาพการณ์ของเมืองไทยด้วย เพราะที่ญี่ปุ่น มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ถึง 50 กว่าแห่งได้ เพราะประเทศเขามีความเคร่งครัดเป็นระบบ และประชาชนมีความเป็นระเบียบวินัยสูง