วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประชาคมอาเซียนกับวิชาชีพอาเซียน


(14,410 ครั้ง)
หากเราถอยออกมานอกโลก แล้วมองกลับไปยังโลกของเรา ก็แค่ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเท่านั้น แต่มีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกกว่าหกพันล้านคน และจัดแบ่งเป็นประเทศและเขตปกครองพิเศษมากมาย ประเทศต่างๆบนโลกใบนี้มีการรวมกลุ่มกันหลายกลุ่ม เช่น สหภาพยุโรปจำนวน 22 ประเทศ (European Union: EU) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือจำนวน 3 ประเทศ (North America Free Trade Area: NAFTA) สหภาพแอฟริกาจำนวน 48 ประเทศ (African Union: AU)
ข้อมูลที่น่ารู้ของประเทศในอาเซียน
จำนวนประชากรของแต่ละประเทศ ไทยอยู่อันดับที่ 4
รายได้ของประเทศทั้งหมดในหนึ่งปี ไทยอยู่อันดับที่ 2
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในหนึ่งปี ไทยอยู่อันดับที่ 4


ประเทศไทยของเราอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีประเทศสมาชิกรวมกัน 10 ประเทศ และกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ได้เคยเขียนไว้ในบทความ ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558” สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของ
สินค้า (Free flow of goods)
แรงงานฝีมือ (Free flow of skilled labor)
การบริการ (Free flow of services)
การลงทุน (Free flow of investment)
เงินทุน (Free flow of capital)
ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ นั้น หลายท่านอาจจะยังงงๆอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร จะเตรียมตัวอย่างไร เกิดความวิตกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการประกอบวิชาชีพของตัวเอง โดยเฉพาะท่านที่ประกอบวิชาชีพเฉพาะ คือเป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (Department of Trade Negotiations) ของไทย มีความชัดเจนในกลุ่มวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ โดยมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) แล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอาเซียน ซึ่งสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกต่างๆได้

ข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ทะยอยจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) วัตถุประสงค์คือเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะหรือแรงงานฝีมือ จนถึงขณะนี้มี MRAs ทั้งหมด 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่
          วิศวกรรม
(Engineering Services)
          พยาบาล (Nursing Services)
          สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
          การสำรวจ (Surveying Qualifications)
          แพทย์
(Medical Practitioners)
          ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
          บัญชี (Accountancy Services)
ประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี 2554 บรรยากาศในหอประชุมกองทัพเรือ 
ได้พบกับ ดร.วรสันติ์ โสภณ ลูกศิษย์รังสีเทคนิคมหิดลโดยบังเอิญ 
ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ที่ม.สงขลานครินทร์ หาดใหญ่
มองจากหน้าหอประชุมกองทัพเรือ
นายสุนทร  ชัยยินดีภูมิ  รองอธิบดีกรมอาเซียน
จากการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี 2554 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2554 ณ หอประชุมกองทัพเรือ ได้มีการบรรยายเรื่อง ทิศทางการศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน โดยนายสุนทร ชัยยินดีภูมิ รองอธิบดีกรมอาเซียน ท่านได้กล่าวว่า แรงงานมีฝีมือเพิ่มเป็น 8 สาขาแล้ว โดยเพิ่ม การท่องเที่ยวเป็นสาขาที่ 8 ขณะนี้ประเทศสมาชิก 9 ประเทศได้ลงนามไปแล้ว ยกเว้นประเทศไทย

กระบวนการหลักของ MRAs
แต่ละสาขาวิชาชีพ มีข้อตกลงยอมรับร่วมกันหรือ MRAs ที่มีหัวข้อหลักๆคล้ายกัน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ นิยามและขอบเขต การยอมรับ,คุณสมบัติ,และสิทธิของวิชาชีพต่างชาติ หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพ สิทธิในการกำกับดูแล คณะกรรมการประสานงานด้านวิชาชีพอาเซียน ข้อยกเว้นร่วมกัน การระงับข้อพิพาท การปรับปรุงแก้ไข
หากมองร่มใหญ่หรือองค์กรในระดับอาเซียน มีคณะกรรมการประสานงานวิชาชีพสาขาต่างๆทั้ง 7 สาขา (ASEAN Joint Coordinating Committee หรืออาจเรียกอย่างอื่น) ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ มีหน้าที่หลัก คือ อำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามข้อตกลงฯ โดยการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบภายในของประเทศสมาชิกอาเซียน และการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงฯ เป็นต้น
                ร่มเล็กคือหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพหรือองค์กรในระดับประเทศสมาชิกต่างๆ ได้แก่สภาวิชาชีพ (Professional Regulatory Authority) หรือกระทรวง/องค์กรที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทยมีสภาวิชาชีพทั้ง 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์สภา สภาพยาบาล ทันตแพทย์สภา สภาวิศวกร สภาวิชาชีพบัญชี สภาสถาปนิก หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพมีหน้าที่ที่สำคัญคือ ขึ้นทะเบียน และ/หรือออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพต่างชาติในการเข้ามาประกอบวิชาชีพในประเทศผู้รับ (หมายถึง ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมที่ผู้ประกอบวิชาชีพต่างชาติมาขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ)
โดยสรุปคือ การเปิดให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ การดำเนินงานในเรื่องนี้ของอาเซียนจะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการประสานงานของแต่ละวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสมาชิก ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละวิชาชีพอาจแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม

เราจะเตรียมตัวอย่างไร

            คำถามยอดฮิตคือ "เตรียมตัวอย่างไรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน" คือเกือบทุกคนที่กังวลเรื่องนี้  ในมุมมองของผม ถ้าจะมองเรื่องของการเตรียมตัวเฉพาะในส่วนที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะที่อาจเรียกว่าเป็นแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญสูง มีฝีมือดี ก็น่าจะเตรียมตัวดังนี้
            1. ปรับกรอบแนวคิดของตัวเองให้เปิดกว้าง ศึกษาให้เข้าใจถึงผลกระทบทุกด้าน ของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อการวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่คืบคลานเข้ามา ซึ่งต้องทำทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และระดับสมาคมวิชาชีพ สภาวิชาชีพ หรือคณะกรรมการวิชาชีพ
            2. ศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียนให้ดีว่า มันคืออะไร หน้าตาของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 เป็นอย่างไร และต่อไปจะพัฒนาไปเป็นอย่างไร มี milestones อะไรบ้าง
            3. ฝึกฝนเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะ ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน และควรเพิ่มการฝึกฝนภาษาที่ 4 ด้วย ที่พูดเช่นนี้อย่าเพิ่งงง เราสื่อสารด้วย ภาษาที่ 1.) ภาษาไทย ภาษาที่ 2.) ภาษาอังกฤษ ภาษาที่ 3.) ภาษาลาว (ส่วนใหญ่คนลาวฟังและพูดภาษาไทยได้ จึงไม่ค่อยมีปัญหาสำหรับคนไทย) และภาษาที่ 4.) ภาษาอาเซียน (เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา หรือพม่า เป็นต้น)
            4. ศึกษาและทำความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับกฎและระเบียบต่างๆของอาเซียน เอาแบบที่ใกล้ตัวที่สุดคือ MRA ของวิชาชีพนั้นๆเป็นต้น 
            5. พัฒนาทักษะของเราให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ และเป็นที่ต้องการของตลาด
มานัส  มงคลสุข




Related Links:  อ้างอิง

STAT
จำนวนผู้อ่านบทความนี้
 8,021 ครั้ง (19สค2554-20พค2556)

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลสำรวจสภาวการณ์รังสีเทคนิคด้านกำลังคน พ.ศ. 2548

ความเป็นมา
เมื่อประมาณกลางปี 2548 สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย โดยนายสละ อุบลฉาย นายกสมาคมฯ ได้มีมติอนุมัติเงินจำนวน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) เพื่อใช้ในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับภาวะการณ์ด้านรังสีเทคนิคในประเทศไทย โดยได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการว่าด้วยการศึกษาสถานะภาพของนักรังสีการแพทย์/นักรังสีเทคนิคขึ้น เพื่อทำการศึกษาและสำรวจจำนวนตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและการมีใบประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค ของบุคลากรที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำรวจจำนวนคนไข้ที่มารับบริการและจำนวนเครื่องมือรังสีที่ใช้งานในโรงพยาบาลระดับต่างๆทั่วประเทศ คณะกรรมการฯดังกล่าวประกอบด้วย รศ.จิตต์ชัย สุริยะไชยากร เป็นประธานอนุกรรมการฯ และมีกรรมการอีก 4 คน ประกอบด้วย นายกษิดิศ สวนสาร นายวิฑูรย์ นิสสัยดี นายชาญชัย ทิพย์สุวรรณ และนายอรรพล สายทอง
ผลสำรวจจำนวนบุคลากร
คณะอนุกรรมการชุดที่สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยแต่งตั้งขึ้นมาดังกล่าวนี้ ได้ทำการสำรวจข้อมูลทั่วประเทศ ถึงภาวการณ์ของรังสีเทคนิคไทยในปัจจุบัน และมีผลการสำรวจออกมาแล้วอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ซึ่งคณะอนุกรรมการฯได้รายงานผลการสำรวจข้อมูลในประเด็นสำคัญๆ ต่อคณะกรรมการสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยแล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
ผลการสำรวจเกี่ยวกับสถานภาพกำลังคนทางด้านรังสีเทคนิคในปี 2548 พบว่าจำนวนบุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคที่ทำงานอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ. 2548) มีประมาณ 2,641 คน โดยกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนดังนี้
ที่มา: สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (2548)
สำหรับเจ้าหน้าที่จำนวน 1,929 คนขณะนี้ได้ศึกษาหลักสูตรรังสีเทคนิค (ต่อเนื่อง 2 ปี) สำเร็จแล้วได้รับปริญญาตรี และสอบใบประกอบโรคศิลปะฯได้ตามเกณฑ์แล้วจำนวนประมาณ 1,500 คน เมื่อดูในด้านอัตราการผลิตบุคลากร สำหรับประเทศไทยมีสถาบันผู้ผลิตบุคลากรด้านนี้หลายแห่ง แต่ยังมีอัตราการผลิตค่อนข้างต่ำ จำนวนคนต่อปีที่สถาบันผู้ผลิตต่างๆทั่วประเทศสามารถผลิตได้ มีดังนี้

ผลสำรวจจำนวนเครื่องมือรังสี
ในการสำรวจครั้งนี้ยังได้สำรวจ จำนวนเครื่องมือทางรังสีวิทยาที่ใช้งานอยู่ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัด ได้แก่ เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ เครื่องเอกซเรย์ฟัน เครื่องเอกซเรย์แบบส่องตรวจ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอกซเรย์เต้านม เครื่องอัลตราซาวน์ด เครื่องโคบอลต์ เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องนับวัดสารกัมมันตรังสี เครื่องนับวัดสารกัมมันตรังสีขิงต่อมไทรอยด์ เป็นต้น เครื่องมือทางรังสีเหล่านี้ ได้ใช้งานในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปกลุ่ม 1 โรงพยาบาลทั่วไปกลุ่ม 2 และโรงพยาบาลชุมชน โดยกระจายไปตามขนาดของโรงพยาบาล พบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนเครื่องมือทางรังสีที่ใช้งานในโรงพยาบาลต่างๆ แสดงให้ดูในกราฟแท่งข้างล่างนี้ ซึ่งจะเห็นว่า จำนวนเครื่องมือรังสีเฉลี่ยมากสุด 18.4 เครื่องใช้งานในโรงพยาบาลศูนย์
ที่มา: สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (2548)
การนำผลสำรวจไปใช้
รศ.จิตต์ชัย สุริยะไชยากร ประธานอนุกรรมการฯและประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคในขณะนั้น เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดังกล่าวนี้ ทำให้เราทราบภาพรวมของภาวะการณ์ของรังสีเทคนิคในประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่น่าจะใช้ในการวางแผนงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านกำลังคน จะทำให้สามารถรักษาบุคลากรให้ทำงานในระบบต่อไปอย่างมีความสุข ทางด้านนายสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น ได้แสดงความขอบคุณคณะอนุกรรมการฯ ที่สละเวลาทำงานนี้จนสำเร็จอย่างดียิ่ง และสมาคมฯก็จะได้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อให้ก่อประโยชน์ต่อวิชาชีพรังสีเทคนิคต่อไป
ช่วงเวลานั้น เป็นโอกาสที่สอดคล้องกันอย่างดีที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประสานให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนงานต่างๆ สำหรับจัดกิจกรรม World Health Day 2006 โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้ และได้มีการจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเมื่อ 29 ธันวาคม 2548 ซึ่งสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคเข้าร่วมประชุมด้วย โดยตั้งบนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดังกล่าวข้างต้น
ที่การประชุมในครั้งนั้น มีการสรุปแนวทางในการทำงานไว้หลายอย่าง และที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาชีพรังสีเทคนิคคือ ได้มีการขอความร่วมมือให้ผู้แทนทุกวิชาชีพจัดทำสรุปประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะต่างๆ ส่งให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในเดือนมกราคม 2549 เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุขในภาพรวม ดังนั้น ก.ช.และสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย จึงได้ดำเนินการจัดส่งข้อมูลตามที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขต้องการทราบไปแล้ว
นายสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคฯ กล่าวว่า "ที่ผ่านมา สมาคมรังสีเทคนิคฯได้ตระหนักดีถึงความเดือดร้อนของสมาชิกฯและเพื่อนร่วมวิชาชีพรังสีเทคนิค โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยสมาคมฯได้ดำเนินการเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ได้ประสานงานใกล้ชิดกับ รศ.จิตต์ชัย สุริยะไชยากร ประธาน ก.ช. ในตอนนั้น เพราะเห็นว่าเรื่องนี้มีผลกระทบโดยตรงกับวิชาชีพรังสีเทคนิคในระยะยาว และต้องการให้มีแนวทางปฏิบัติหรือการเคลื่อนไหวต่างๆเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สมาคมฯได้สนับสนุนให้มีการหาข้อมูลรังสีเทคนิคในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้ว่าเป็นอย่างไรเพื่อให้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและการตัดสินใจว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งเราก็ได้รับความกรุณาจากท่านประธาน ก.ช. รับทำตรงนี้ให้ ต้องขอขอบคุณประธาน ก.ช.เป็นอย่างสูง " เรื่องเดียวกันนี้ประธานก.ช. ตอนนั้นเปิดเผยว่า "จากข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจสภาวการณ์รังสีเทคนิคไทยล่าสุด โดยความสนับสนุนอย่างดีจากสมาคมรังสีเทคนิคฯ ขณะนี้ผมได้ทำเรื่องเสนอไปให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2549 ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอต่างๆนั้นไปในแนวทางอันเดียวกันตามที่ได้หารือกับนายกสมาคมรังสีเทคนิคฯ คือในระบบงานที่เราเกี่ยวข้องนั้นยังมีปัญหามากและยังขาดตำแหน่งงานอยู่อีกมากเช่นกัน ซึ่งในการเสนอครั้งนี้ เราได้สะท้อนให้กระทรวงสาธารณสุขเห็นปัญหาต่างๆและแนวทางแก้ไข"
ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหา
ประเด็นปัญหาสำคัญที่ สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย และ ก.ช. ได้ทำการเสนอไปยัง สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 คือ เรื่องตำแหน่งของนักรังสีการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้ไม่มีกรอบตำแหน่งให้บรรจุใหม่ และไม่มีการปรับปรุงให้เพียงพอ อีกปัญหาหนึ่งคือ การปรับปรุงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯ เป็นนักรังสีการแพทย์ จะต้องลดระดับลงมา ทำให้ดูเหมือนไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ที่ไปพัฒนาความรู้เพื่อบริการประชาชนในหน่วยงาน ซึ่งขณะลาศึกษานั้นเงินเดือนก็ไม่ได้ขึ้นอยู่แล้ว ปัญหาสำคัญทั้งสองประการนี้ได้มีการย้ำว่า ควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
แนวทางการแก้ปัญหาที่เสนอไปยัง สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คือ
ประการที่หนึ่ง ควรตั้งกรอบบรรจุตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลปะฯ โดยให้เป็นไปตามจำนวนเครื่องมือรังสีที่ใช้ในการบริการผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หมายความว่า โรงพยาบาลใดมีเครื่องมือรังสีจำนวนมาก ก็ควรมีตำแหน่งนักรังสีฯมาก ดังแสดงในตารางข้างล่างนี้ ซึ่งแสดงจำนวนตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ที่ควรมีใน พ.ศ. 2548 รวมทั้งสิ้น 3,540 ตำแหน่ง โดยที่ปัจจุบันมีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ 1,929 ตำแหน่ง และตำแหน่งนักรังสีฯ 712 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการครองเรียบร้อยแล้ว
ที่มา: สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (2548)
ประการที่สอง ควรมีการปรับปรุงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฯ ที่มีวุฒิ วท.บ.(รังสีเทคนิค) และมีใบประกอบโรคศิลปะฯแล้ว บรรจุเป็นนักรังสีการแพทย์โดยไม่ต้องมีการลดระดับลง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ทำงานทางด้านรังสีการแพทย์
นอกจากนี้ ยังมีภาระกิจต่อเนื่องที่สมาคมรังสีเทคนิคฯ และคณะกรรมการวิชาชีพฯได้ร่วมกันกระทำต่อไปอีก เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมและการจัดทำ work plan ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขตลอดปี 2549 โดยเฉพาะ การทำแผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศ ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน ในระยะเวลา 10 ปี ทั้งระยะเร่งด่วนและระยะยาว กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่สามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหากำลังคนได้